เผยผลงานผู้ชนะรางวัล James Dyson Award 2022 คนแรกของประเทศไทย พร้อมไปต่อในเวทีระดับโลก กับนวัตกรรมที่ออกแบบเพื่อเกษตรกรโคนมในประเทศ

KomilO ระบบตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมแบบอัตโนมัติ ช่วยลดอัตราการผสมเทียมผิดพลาด
ผลงานจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

·       อุตสาหกรรมผลผลิตจากโคนมในตลาดโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึงหนึ่งพันสองร้อยล้าน ดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569

·       หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่สามารถผลิตได้คืออัตราสำเร็จในการผสมเทียมโคนม

·       ในประเทศไทย หนึ่งในปัญหาของเกษตรกรโคนมคือการไม่สามารถตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำส่งผลให้เกิดการผสมเทียมผิดพลาด

·       ในประเทศไทย คาดการณ์ว่าการผสมเทียมโคนมผิดพลาดทำให้เกษตรกรเสียรายได้ประมาณ 266 ล้านบาทต่ออาการติดสัด 1 รอบในช่วงระยะเวลา 21 วัน

นวัตกรรมของผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ทีมแรกในประเทศไทย มุ่งเป้าไปที่การลดข้อผลพลาดในการตรวจจับอาการติดสัดในโคนมโดยใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จของการผสมเทียมในโคนมที่จะส่งผลให้การผลิตน้ำนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

KomilO (โคมิโล) คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประกอบเป็นเซนเซอร์ 2 จุด ที่ติดตั้งบนตัวโคนม จุดแรกที่บริเวณหู และจุดที่สองบริเวณโคนหางเพื่อตรวจจับพฤติกรรมของโคนม ทำให้สามารถคาดการณ์รอบของการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำโดยอาศัยเทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง และเพื่อให้เกษตรกรสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายระบบนี้ยังเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลเฉพาะของโคนมแต่ละตัว จัดการเซนเซอร์ รวมถึงแจ้งเตือนเกษตรกรเมื่อโคนมมีอาการติดสัดและพร้อมสำหรับการผสมเทียม

ทีมนักออกแบบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

ทีมผู้ออกแบบ KomilO ประกอบด้วยสมาชิกนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล จำนวน 6 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จุดมุ่งหมายของของนักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้คือการสร้างโซลูชันที่ใช้ง่ายและสามารถเข้าถึงได้เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมของเกษตรกรไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจำนวนมากขึ้น

โดยทีมผู้ออกแบบ KomilO กล่าวว่า “โปรเจกต์นี้เริ่มจากความสนใจของพวกเรา แต่กลายเป็นว่ากลายเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเลยว่าจะทำให้เราเป็นทีมผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้เรามั่นใจและมีกำลังใจในการจะพัฒนา KomilO ให้กลายเป็นโซลูชันที่จะสามารถช่วยพัฒนาด้านการเกษตรโคนมของประเทศไทยได้”

โดยรางวัลชนะเลิศระดับชาติจะทำให้โปรเจกต์ KomilO ได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อไป “เราตื่นเต้นมากตอนที่รู้ว่า James Dyson Award จัดการแข่งขันในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และตื่นเต้นกว่าเดิมอีกตอนที่รู้ว่าพวกเราได้รับรางวัลชนะเลิศ เรารู้สึกว่ารางวัลนี้ให้กำลังใจกับพวกเรา รวมไปถึงเงินทุนในการพัฒนาโซลูชันนี้จนไปถึงขั้นใช้จริง นอกจากนั้นระหว่างทางที่พวกเราได้แก้ไขปัญหา ระดมความคิด และค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เราได้พัฒนาศักยภาพในการเป็นนักออกแบบด้วยเช่นกัน”

KomilO จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้ารอบในการประกวดระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 12 ตุลาคมนี้

ทีมผู้ออกแบบกำลังพัฒนาโปรเจกต์ KomilO เพื่อต่อยอดให้สามารถนำไปใช้จริงได้

ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ The Amazing Hearing Devices or AHDs

ปัญหา: ในปี 2564 มีจำนวนผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินจำนวนประมาณหนึ่งพันห้าร้อยล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองพันห้าร้อยล้านคนภายในปี 2573 ตามรายงานของ WHO (2021) ซึ่งอัตราส่วนของคนที่สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยเกิดจากการออกแบบเครื่องช่วยฟังที่ไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น คนที่ใส่แว่นจะไม่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ รวมไปถึงการขาดแคลนเครื่องช่วยฟังที่มีน้ำหนักเบาหรือเครื่องช่วงฟังแบบไม่รุกล้ำ

โซลูชัน: AHDs คือเครื่องช่วยฟังที่มุ่งเป้าไปที่การออกแบบให้สามารถเข้าถึงง่าย นำเสนอเครื่องช่วยฟังที่ใส่สบายและนำเสนอประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับผู้ใส่โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นอกจากนั้นยังมาพร้อมกับที่คาดหัวเพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเยอะ

Aeolus

ปัญหา: จากงานวิจัยระบุว่าประชากรโลกจำนวน 17% ประสบปัญหาเรื่องการนอนหลับโดยมีสาเหตุมาจากหมอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากสิ่งนี้จะทำให้การนอนแบบมีคุณภาพน้อยลงแล้ว ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต และภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ ในขณะที่ร่างกายของมนุษย์เราแตกต่างกันอย่าชัดเจน แต่หมอนในท้องตลาดที่สามารถปรับให้เข้ากับร่างกายได้ยังมีอยู่น้อยมาก

โซลูชัน: Aeolus คือหมอนแบบปรับตามความต้องการโดยอาศัยแอปพลิเคชันในการปรับขนาดเพื่อทำให้การนอนแบบมีคุณภาพสามารถเข้าถึงได้ ออกแบบมาให้ใช้การตรวจจับจุดกดทับเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับท่าของการวางศีรษะและการวิเคราะห์คุณภาพการนอนหลับโดย แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเสริม ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอแก่ผู้ใช้ว่าการปรับหมอนแบบไหนจะส่งผลดีกับคุณภาพการนอนมากที่สุด หมอน Aeolus มีระบบควบคุมอากาศที่ประกอบด้วยปั๊มลมและหน่วยประมวลผลทำให้สามารถปรับความสูงของหมอนจนถึงระดับที่ทำให้หลับสบายที่สุดได้ ทำให้ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะยาว

James Dyson Award

รางวัล James Dyson Award เป็นหนึ่งในความุ่งมั่นของเซอร์เจมส์ ไดสัน ในการแสดงให้เห็นถึงพลังของวิศวกรรมที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ โครงการต่าง ๆ ของเซอร์เจมส์ ไดสัน ได้แก่ สถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยีของ Dyson, มูลนิธิ James Dyson Foundation, และการประกวด James Dyson Award ที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี ปัจจุบันเจมส์ ไดสันได้มอบเงินทุนกว่า 140 ล้านปอนด์แก่การศึกษาในคอนเซปต์ที่แปลกใหม่รวมไปถึงโครงการด้านการกุศลอื่น ๆ

James Dyson Award ที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิ James Dyson Foundation ได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ โดยมูลนิธิมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมดำเนินงานด้วยเงินสนับสนุนจาก Dyson

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

Dyson เปิดตัวเครื่องเป่าผมรุ่นใหม่ Dyson Supersonic Nural มาพร้อมเซนเซอร์อัจฉริยะที่ช่วยรักษาสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ

Dyson V12s Detect Slim Submarine ครั้งแรกกับเครื่องดูดฝุ่นแบบถูพื้นได้

Dyson เปิดตัว “หัวเป่าลดผมชี้ฟูพร้อมแปรง” ใหม่ล่าสุด สำหรับจัดแต่งทรงสวยได้ด้วยตัวเอง เหมือนมีแฮร์สไตลิสต์ที่บ้าน

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More