AIS โชว์ทดสอบ 5G ควบคุมเครนยกขนตู้สินค้า ในกิจการท่าเรือพาณิชย์ แหลมฉบัง ปักธงผู้นำ 5G ที่ 1 ตัวจริง รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

AIS โชว์ทดสอบ 5G ควบคุมเครนยกขนตู้สินค้า ในกิจการท่าเรือพาณิชย์ แหลมฉบัง ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เขตพื้นที่ EECปักธงผู้นำ 5G ที่ 1 ตัวจริง รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

27 กุมภาพันธ์ 2563: เอไอเอส ผู้นำอันดับ 1 ด้านนวัตกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยีของประเทศ ทดสอบการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในกิจการท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมเครนยกตู้สินค้าได้จากระยะไกล ผ่านโครงข่าย 5G ณ ท่าเทียบเรือฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้เป็นรายแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. โดยจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารจัดการขนส่งสินค้าในท่าเรือพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และเทคโนโลยี 5G นี้
มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ในการผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นเกตเวย์ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางด้าน โลจิสติกส์ สำหรับการค้าการลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต
นายฮุย เวง ชอง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะผู้นำอันดับ 1 ด้านนวัตกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับขีดความสามารถของทุกอุตสาหกรรมไปอีกขั้น จากการทดลองทดสอบ Use Case ทั่วทุกภูมิภาคและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้เราได้มีองค์ความรู้สำหรับการวางรากฐานโครงสร้างเครือข่ายหลักเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมรถยนต์จากระยะทางไกล (5G Remote Driving) มาประยุกต์ใช้งานในงานภาคการผลิตร่วมกับเอสซีจี โดยการควบคุมรถยกของภายในโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ จากศูนย์ควบคุมระยะไกล
ในครั้งนี้ เอไอเอส ได้นำ 5G มาใช้ทดสอบการควบคุมเครนยกขนตู้สินค้าที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ภายในท่าเทียบเรือ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ได้จากห้องบังคับระยะไกล ผ่านการส่งสัญญาณควบคุมเครนจากห้องควบคุมด้วยระบบโครงข่าย 5G ของเอไอเอส โดยนำคุณสมบัติเด่นของ 5G ในเรื่องความเร็วสูง (Speed) และการตอบสนองที่รวดเร็ว มีความหน่วงต่ำ (Latency) เพื่อใช้รับสัญญาณจากกล้องวงจรปิดที่เครนและส่งสัญญาณควบคุมจากห้องบังคับการกลับไปที่เครนได้ทันที ทำให้โดยภาพรวมแล้วเจ้าหน้าที่ควบคุมเครนจะสามารถสลับเปลี่ยนการควบคุมเครนแต่ละตัวในท่าเทียบเรือได้อย่างอิสระและรวดเร็วมากขึ้น นำไปสู่การบริหารจัดการเครนยกขนตู้สินค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อนึ่ง ท่าเรือแห่งนี้ตั้งอยู่บนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โครงการนี้ จึงสามารถเป็นต้นแบบให้ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้เห็นถึงประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอนาคต โดยความร่วมมือนี้ ถือเป็นการนำเทคโนโลยีล้ำหน้าเช่น 5G มาทดสอบใช้งานในกิจการท่าเรือพาณิชย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สำคัญให้แก่ประเทศไทย ทั้งนี้ เอไอเอส ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้งานจริงในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป”

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

AIS ผนึก ภาครัฐ ยกระดับความเข้มข้น สกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามพรมแดน รื้อถอนสัญญาณแนวชายแดนสระแก้ว พร้อมเดินหน้าแก้ไขเสาส่งสัญญาณ ตามมาตรการภาครัฐเพิ่มอีก 9 จังหวัด

เช็คเบอร์โทร เช็คเบอร์ตัวเอง AIS dtac True ทุกเครือข่าย ฉบับปี 2025

AIS รายงานผลการดำเนินงาน ปี 2567

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More