ดีแทคผนึก 4 กระทรวงฯ โชว์โมเดล “ชุมชนต้นแบบเน็ตอาสาประชารัฐ”

 

“ดีแทค” ผนึก 4 กระทรวงหลัก ประกาศความสำเร็จสร้างครูดิจิทัล 1 ล้านคน ดันร้านค้าชุมชนสู่ออนไลน์กว่า 340,000 ราย พร้อมขยายโมเดล “ชุมชนต้นแบบเน็ตอาสาประชารัฐ” ปูพรมสู่ประเทศไทย 4.0 เต็มรูปแบบ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปฏิบัติภารกิจแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ปัจจุบันได้เข้าสู่ระยะที่ 2 หรือ Digital Thailand Inclusion ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของประเทศเพื่อสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลตามแนวทางประชารัฐ โดยหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูล (Digital literacy) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนในการเป็นกำลังสำคัญ เพื่อให้ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง

ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ร่วมมือกับดีแทคในการส่งเสริมให้เกิด “ชุมชนต้นแบบเน็ตอาสาประชารัฐ” ซึ่งเป็นโมเดลสังคมดิจิทัลในระดับชุมชน ที่กระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวบ้านเป็นวิสาหกิจชุมชน และใช้ช่องทางออนไลน์ในการเพิ่มรายได้ ใช้หลักการตลาดนำการผลิต ซึ่งจากความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 2 ฉบับที่เกิดขึ้นระหว่างดีแทคและ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ผลิตครูดิจิทัลแล้วจำนวนกว่า 1 ล้านราย และผลักดันร้านค้าชุมชนสู่ออนไลน์แล้วกว่า 340,000 ราย

ปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลได้สร้างมูลทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 2.7% ของจีดีพี และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ การขยายโมเดล “ชุมชนต้นแบบเน็ตอาสาประชารัฐ” จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างแนบแน่น

นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital divide) หรือความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงและการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสร้างโอกาสและทำกิจกรรมต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

สำหรับประเทศไทยนั้น ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลทางด้านการเข้าถึง (Accessibility) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมจีเอสเอ็มระบุว่า ปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงถึง 62% ของจำนวนประชากร และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยส่งเสริมจากนโยบายเน็ตประชารัฐของรัฐบาล ซึ่งตั้งเป้าหมายในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าสู่หมู่บ้านมากกว่า 29,000 แห่งทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในด้านทักษะและความรู้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy gap) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยยังมีอยู่สูง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์เพื่อการค้าออนไลน์ (Digital commerce)

ทั้งนี้ ความร่วมมือที่เกิดระหว่างดีแทคและ 4 กระทรวงหลักในการขยายโมเดล “ชุมชนต้นแบบเน็ตอาสาประชารัฐ” จะช่วยทำให้การเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ.2562 ดีแทคมีแผนในการขยายความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายออนไลน์ และต่อยอดการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงามและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

“ทักษะและความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือ Digital literacy ถือเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมดิจิทัล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกกลุ่มชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนความรู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพสังคมตามวิสัยทัศน์ Empowering societies โดยผนึกภาคีภาครัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เพื่อให้สอดรับกับโครงการนโยบายประชารัฐของรัฐบาลและกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติหรือ UN SDG ข้อที่ 10 ที่ว่าด้วยเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ” นางอเล็กซานดรากล่าว

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแก่ชุมชนทั่วไทย ซึ่งเป็นรากฐานในการเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)  ดีแทค จึงได้ร่วมมือกับ 4 กระทรวงฯ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดงาน “ดีมา Get ดี Market” ซึ่งรวบรวมร้านค้าออนไลน์ต้นแบบจากทั่วประเทศจำนวนกว่า 40 ราย มาจัดแสดงออกบูธ เพื่อเป็นโอกาสให้บุคคลที่สนใจเรียนรู้ พัฒนาและต่อยอด ขยายโมเดลชุมชนดิจิทัลไปยังทั่วประเทศ

ทั้งนี้ งาน “ดีมา Get ดี Market” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม พ.ศ.2561 ณ ลานกิจกรรมสยามสแควร์วัน ตั้งแต่ เวลา 10.00-20.00 น. โดยมีกิจกรรมให้ความรู้และการแสดงตลอดงาน พร้อมส่งเสริมใช้จ่ายด้วยเงินดิจิทัล

ในการนี้ ยังได้มีการมอบรางวัลสินค้าออนไลน์ โดยการคัดเลือกจากตัวแทนของ 4 กระทรวงฯ โดยมีผลดังนี้

  1. รางวัลสุดยอดสินค้าชุมชนออนไลน์ระดับประเทศ
  • ปูไข่ดอง คลองขลุง – ปูไข่พรีเมี่ยม ตัวใหญ่ไข่แน่น ดองด้วยน้ำปลาสูตรพิเศษ
  1. รางวัลสุดยอดสินค้าชุมชนออนไลน์ระดับภาค
  • ภาคเหนือ Sapawalaiphan งานผ้าปักมือ ชิ้นเดียวในโลก
  • ภาคกลาง น้ำพริกบ้านทนาย
  • ภาคอีสาน พิชญา ขนมนวัตกรรม 4.0 ขนมเปี๊ยะสด บำรุงหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด
  • ภาคใต้ สวนลุงสุนทร
  1. รางวัลต้นแบบสินค้าตามศาสตร์พระราชาออนไลน์
  • กล้วยพรจากแม่ วังกะพี้ ข้าวเหนียวสังขยาหน้าตาโดดเด่น จากภูมิปัญญาของชาวไทยทรงดำ
  1. รางวัลต้นแบบสินค้าเน็ตประชารัฐออนไลน์
  • ข้าวเหนียวหน้าควายลุย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านอินเตอร์
  1. รางวัลต้นแบบสินค้าชุมชนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ออนไลน์
  • หมาขายหมึก ปลาหมึกย่าง สด อร่อย พร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ดรสเด็ด
  1. รางวัลต้นแบบสินค้าหัตถกรรมในชุมชนท้องถิ่นออนไลน์
  • ผ้าไหมป้ามะลิ ผ้าซิ่นตีนแดง และผ้าพันคอริมแดง เอกลักษณ์และความโดดเด่นของบุรีรัมย์
  1. รางวัลต้นแบบสินค้าศูนย์ดิจิทัลชุมชนออนไลน์
  • ข้าวหอมมะลิ Donwai ข้าวดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ ปลูกแบบไร้สารเคมีทุกขั้นตอน
  1. รางวัลต้นแบบสินค้าหัตถกรรมในชุมชนท้องถิ่นออนไลน์
  • บ้านพี่หลวงจักสาน สินค้าจักสานลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ยกระดับสู่ร้านค้าออนไลน์

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

เช็คเบอร์โทร เช็คเบอร์ตัวเอง AIS dtac True ทุกเครือข่าย ฉบับปี 2025

ทรู คอร์ปอเรชั่นเผยเคานต์ดาวน์ไทยสู่ปีมะเส็งสุดคึก ยอดดาต้ามือถือไอคอนสยามพุ่งกว่า 200% รับกระแส “ลิซ่า” สร้างปรากฏการณ์ดึงไทย-ต่างชาติแห่เยือนทะลัก

ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 7 จำนวน 4,072,848,000 บาท

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More