dtac ห่วงการประมูลคลื่น 1800MHz ไม่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและประโยชน์ต่อผู้ใช้งานดิจิทัล

 

ดีแทคชี้เงื่อนไขประมูลคลื่น 1800 MHz อาจส่งผลให้รัฐได้รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย คลื่นไม่มีผู้ประมูล และตลาดด้อยประสิทธิภาพลง สืบเนื่องจากที่ประชุมบอร์ด กสทช ได้มีมติให้จัดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้  โดยพิจารณาให้ยึดกฎเกณฑ์การจัดประมูลตามเดิมที่จะแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็นใบอนุญาตละ 15 MHz  และยังคงข้อกำหนด N-1 (การกำหนดจำนวนใบอนุญาตที่นำมาประมูลต้องน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าร่วมประมูล)

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนคลื่นความถี่ที่จะนำไปรองรับการเติบโตของการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการที่เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเข้ามาเปลี่ยนผ่านประสบการณ์ใหม่ต่างๆ ทั้งนี้ ในการที่จะผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการจัดการบริหารคลื่นความถี่เข้าสู่วาระแห่งชาติ”

“ดีแทคมีความกังวลต่อมติบอร์ด กสทช. ที่กลับไปใช้แนวทางประมูลเดิมสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งไม่ส่งผลดีอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินนโยบายสร้างประเทศไทย 4.0 ในส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz นั้น ดีแทคกำลังรอประกาศเชิญชวนและเผยแพร่สรุปข้อสนเทศ (Information Memorandum) ฉบับสมบูรณ์ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ” นายลาร์ส กล่าว

สำหรับความคิดเห็นของดีแทคมีประเด็นที่สำคัญเพื่อนำเสนอ โดย 1. ขอให้พิจารณาราคาเริ่มต้นการประมูลของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ให้เหมาะสมเพิ่มขึ้นกับผู้บริโภคในประเทศไทย 2. ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต โดยการกำหนดใบอนุญาตคลื่นความถี่ ชุดละ 2×5 MHz (แทนขนาด 2×15 MHz) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถเลือกประมูลจำนวนคลื่นความถี่ที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานแต่ละราย สอดคล้องกับแผนธุรกิจและการลงทุนและยังเป็นการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด และ 3.การพิจารณาทบทวนข้อกำหนด N-1 (การกำหนดจำนวนใบอนุญาตที่นำมาประมูลต้องน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าร่วมประมูล) ในการประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งควรยกเลิกกฎนี้เนื่องจากส่งผลเสียต่อการแข่งขันและผู้ใช้งานในภายหลังประมูล เนื่องจากกฎนี้จะทำให้เกิดสภาวะเสมือนการขาดแคลนคลื่นความถี่จากที่มีอยู่เดิม และผู้เข้าประมูลบางรายอาจถูกจำกัดสิทธิ์การเข้าประมูล โดยทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดการลดการแข่งขันในตลาด และลดโอกาสและทางเลือกของผู้บริโภค

ทั้งนี้ ดีแทคจะเร่งยื่นหนังสือนำเสนอแผนธุรกิจและแผนความคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558)  เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้สัญญาให้บริการเดิม ในขณะเดียวกัน ดีแทคกำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการโอนย้ายลูกค้าที่ยังคงค้างในระบบด้วยข้อเสนอทางการตลาด เพื่อให้ลูกค้าที่มีอยู่จำนวนหนึ่งได้มีประสบการณ์ในการใช้งานดิจิทัล และเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้าที่ใช้งาน 2G จะได้เข้าสู่ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบน4G และ 3G

“ดีแทคอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและจัดทำแผนความคุ้มครองผู้ใช้บริการภายใต้ประกาศดังกล่าวและจะนำเสนอต่อ กสทช. ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกระบวนการเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับผู้ให้บริการมือถือรายอื่นๆ ที่หมดสัมปทานลง และเข้าสู่มาตรการเยียวยาคุ้มครองลูกค้า” นายลาร์ส กล่าว

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

เช็คเบอร์โทร เช็คเบอร์ตัวเอง AIS dtac True ทุกเครือข่าย ฉบับปี 2025

ทรู คอร์ปอเรชั่นเผยเคานต์ดาวน์ไทยสู่ปีมะเส็งสุดคึก ยอดดาต้ามือถือไอคอนสยามพุ่งกว่า 200% รับกระแส “ลิซ่า” สร้างปรากฏการณ์ดึงไทย-ต่างชาติแห่เยือนทะลัก

ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 7 จำนวน 4,072,848,000 บาท

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More