โนเกียประกาศผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียเหนือ หลังการควบรวมกิจการกับอัลคาเทล-ลูเซ่น

โนเกียประกาศว่านายฮาราลด์ ไพรซ์ จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียเหนือของโนเกีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการควบรวมกิจการของโนเกียและอัลคาเทล-ลูเซ่น และจะมีผลหลังจากข้อเสนอการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ของอัลคาเทล-ลูเซ่นต่อสาธารณะที่ประกาศไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2558 ปิดลงอย่างประสบความสำเร็จ

นายฮาราลด์ ไพรซ์ ประจำการอยู่ที่สำนักงานในกรุงเทพฯ มีหน้าที่บริหารและกำกับดูแลการปฏิบัติงานกับลูกค้าของบริษัททั่วทั้งภูมิภาคเอเชียเหนือ ซึ่งประกอบด้วยประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม รวมถึงรับผิดชอบในการผลักดันการดำเนินกลยุทธ์และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างลูกค้ากับบริษัท โดยใช้กลยุทธ์ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและคุณภาพเป็นตัวขับเคลื่อน

ปัจจุบันนายฮาราลด์ ไพรซ์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของโนเกีย เน็ตเวิร์ค และเมื่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียเหนือของโนเกียแล้วเขาจะรายงานตรงต่อนายพอล ไทเลอร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นของโนเกีย

นายพอล ไทเลอร์กล่าวว่า “เรามีความยินดีประกาศการแต่งตั้งนายฮาราลด์ ไพรซ์ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียเหนือ เขามีประวัติที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้ ทั้งยังมีประสบการณ์มาอย่างยาวนานในการขับเคลื่อนโซลูชั่นชั้นนำให้กับลูกค้าในทุกภาคส่วน ผมตั้งใจไว้ว่าจะได้ร่วมงานกับเขาเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนความต่อเนื่องทางธุรกิจในทุกๆ ส่วนของตลาดอย่างต่อเนื่อง”

การเสนอชื่อนายฮาราลด์ ไพรซ์ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียเหนือของโนเกียในครั้งนี้จะมีผลหลังจากข้อเสนอแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ต่อสาธารณะปิดลงอย่างประสบความสำเร็จ* รวมทั้งเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนกระบวนการของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการควบรวมกิจการได้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว (โนเกียถือหุ้นมากกว่า 50.00% ของทุนจดทะเบียนของอัลคาเทล- ลูเซ่น ที่พิจารณาตามเกณฑ์การปรับลดทั้งหมดแล้ว)

การแต่งตั้งนายฮาราลด์ ไพรซ์ ในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนการวางตัวทีมผู้นำระดับสูงและโครงสร้างองค์กรที่ได้เตรียมการไว้สำหรับการควบรวมกิจการของโนเกียกับอัลคาเทล-ลูเซ่น ซึ่งได้ประกาศไปแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 ทั้งนี้หลังจากปิดข้อเสนอแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ต่อสาธารณะแล้ว ได้มีการวางแผนไว้ว่าธุรกิจเน็ตเวิร์คของโนเกียจะดำเนินงานผ่าน 4 กลุ่มธุรกิจคือ โมบายเน็ตเวิร์ค (Mobile Networks) ฟิกซ์เน็ตเวิร์ค (Fixed Networks) แอพพลิเคชั่นส์ แอนด์ อนาลิติกส์ (Applications & Analytics) และ ไอพี/ออปติคัล เน็ตเวิร์ค (IP/Optical Networks) ส่วนโนเกีย เทคโนโลยีส์ (Nokia Technologies) ยังคงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากอยู่ภายใต้บริษัทที่ควบรวมกิจการแล้ว นอกจากนี้ทันทีที่ปิดข้อเสนอแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ต่อสาธารณะ โนเกียจะมีผู้บริหารธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกหกตำแหน่ง คือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (Chief Financial Officer)ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้านลูกค้า (Chief Customer Operations Officer) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายนวัตกรรมและการดำเนินงาน (Chief Innovation & Operating Officer) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Chief Human Resources Officer) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ (Chief Strategy Officer) และ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (Chief Marketing Officer)

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

คิดถึงจริง ! HMD เตรียมพัฒนาสมาร์ทโฟนเน้นกล้องหลัง ให้ความคล้าย Lumia 1020

รวมให้ทุกแบรนด์ ! รายชื่อสมาร์ทโฟนที่ลุ้นได้ไปต่อใน Android 15

HMD ประเทศไทย ปลุกตลาดฟีเจอร์โฟน ส่ง Nokia 3210 และ Nokia 215 (2024) อัพเกรดฟีเจอร์ใหม่ เล่นยูทูป ท่องโซเชียล พร้อมจอขนาดใหญ่ ประกาศวางจำหน่าย พร้อมกันทั่วประเทศ 27 พ.ค.นี้ ราคาเริ่มต้น 1,490 บาท

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More