80% ของ ฟรีแอพพลิเคชั่น 50 อันดับ ใน Google Play มีเวอร์ชั่นปลอมแอบแฝง

80% ของ ฟรีแอพพลิเคชั่น 50 อันดับ ในGoogle Play มีเวอร์ชั่นปลอมแอบแฝง เสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูล การแพร่กระจายของไวรัสบนอุปกรณ์พกพา และความเสียหายทางธุรกรรมการเงิน

– เทรนด์ไมโครนำเสนอ Dr. Safety ฟรีโมบายแอพฯ ช่วยค้นหาแอพฯ ปลอม พร้อมปกป้องอุปกรณ์อย่างครบวงจร –

ประเทศไทย, กรุงเทพฯ 22 สิงหาคม 2557 – ในขณะที่จำนวนผู้ใช้อุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนแอพฯปลอมก็มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ จากผลสำรวจของเทรนด์ไมโครเกี่ยวกับแอพฯฟรีจาก 50 อันดับสูงสุดในGoogle Play พบว่าเกือบ 80% มีแอพฯเวอร์ชั่นปลอมที่พัฒนาโดยบริษัทอื่น และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ 100% ของแอพฯ ในหมวดหมู่วิดเจ็ต, สื่อและวิดีโอ และการเงิน มีเวอร์ชั่นปลอม เพื่อปกป้องอุปกรณ์พกพาให้รอดพ้นจากภัยคุกคามเหล่านี้ เทรนด์ไมโครจึงแนะนำให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอพฯจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และใช้แอพฯรักษาความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น Trend Micro Dr. Safety เพื่อปกป้องอุปกรณ์พกพา

ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนเมษายนนี้ มีแอพฯปลอมจำนวน 59,185 รายการจากทั้งหมด 890,482 รายการ พบว่าเป็นแอดแวร์ที่รุนแรง ส่วนอีก 394,263 รายการเป็นมัลแวร์ และในบรรดาแอพฯปลอมทั้งหมด 50% เป็นโปรแกรมอันตราย ขณะเดียวกัน มีแอพฯ ปลอมสองประเภทหลักๆ ประเภทแรกคือ “แอพฯลวง” โดยที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ แอพฯป้องกันไวรัส เช่น Virus Shield ที่อ้างว่าจัดหาการสแกนแบบเรียลไทม์ และการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ในราคาเพียง 3.99 ดอลลาร์บนGoogle Play แอพฯนี้ได้รับการจัดอันดับมากถึง 4.7 ดาว หลังจากที่ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 10,000 ครั้งภายในสัปดาห์เดียวหลังจากเปิดตัว แต่ท้ายที่สุดมีการตรวจพบว่าแอพฯนี้เป็นแอพฯปลอมและไม่ได้ช่วยปกป้องอะไรเลยแม้แต่น้อย  นักวิจัยชี้ว่าการดาวน์โหลดส่วนใหญ่ดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์บ็อตเน็ต  อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้หลายพันรายถูกหลอกลวงจนเกิดความเสียหายทางการเงิน ก่อนที่ Google Play จะถอนแอพฯนี้ออกไป

รูปที่ 1: ตัวอย่างหน้าการซื้อ Virus Shield บน Google Play

แอพฯปลอมอีกประเภทหนึ่งคือ “แอพฯรีแพ็คเกจ” ซึ่งเป็นการรีแพ็คเกจแอพฯยอดนิยม และระบุว่าเป็นแอพฯต้นฉบับเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด  นอกจากนี้ แอพฯรีแพ็คเกจบางแอพฯเป็น “แอพฯโทรจัน” ซึ่งประกอบด้วยลักษณะการทำงานที่เป็นอันตราย และกลายเป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์  ทั้งนี้ เกม แอพฯการเงิน และแอพฯรับส่งข้อความ มักจะตกเป็นเป้าหมายของแอพฯรีแพ็คเกจ

 

แอพฯ เกมยอดนิยม

Flappy Bird เป็นหนึ่งในแอพฯเกมที่ฮอตฮิตที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีการดาวน์โหลดกว่า 50 ล้านครั้งก่อนที่ผู้พัฒนาจะเพิกถอนแอพฯนี้ออกไปอย่างฉับพลัน การเพิกถอนดังกล่าวส่งผลให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางในระบบออนไลน์ และกระตุ้นให้อาชญากรไซเบอร์สร้างเวอร์ชั่นโทรจันสำหรับแอพฯนี้ขึ้นมา หนึ่งในเวอร์ชั่นโทรจันขอให้ผู้ใช้อนุญาตให้มีการส่งข้อความ ซึ่งอาจทำให้บิลค่าโทรศัพท์ของผู้ใช้พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ

รูปที่ 2: ตัวอย่างข้อความที่ส่งโดยโทรจันเกม Flappy Bird

 

แอพฯ พลิเคชั่นทางการเงิน

แอพฯ โทรจันสำหรับบริการทางการเงิน มักจะแทนที่แอพฯ ธนาคารที่มีชื่อเสียงติดตั้งจาก Google Play ด้วยเวอร์ชั่นโทรจันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยให้อาชญากรสามารถเริ่มการโจมตีแบบฟิชชิ่งต่อผู้ใช้ ด้วยการขโมยข้อมูลทางการเงินของเหยื่อ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ

รูปที่ 3: ภาพหน้าจอโทรจันจากแอพฯ ธนาคารของเกาหลีใต้

 

แอพฯ รับส่งข้อความ

กรณีที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ Instant-Messaging ของแอพฯโทรจัน ก็คือ เวอร์ชั่นปลอมของBlackBerry® Messenger (BBM) ก่อนที่ BlackBerry จะนำแอพฯ นี้ออกเผยแพร่บน Google Play มีการปล่อยเวอร์ชั่นโทรจันของ BBM ให้แก่ผู้ใช้ทั่วไป โดยอาศัยการที่ผู้ใช้คาดการณ์ว่าจะมีการเปิดตัว BBM for Android แอพฯ รีแพ็คเกจนี้ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 100,000 ครั้ง อย่างไรก็ตาม แอพฯ ดังกล่าวได้แสดงพฤติกรรมของแอดแวร์ที่รุกล้ำอย่างมาก และต่อมา Google Play ได้ถอนแอพฯ นี้ออกไป

รูปที่ 4: หน้าดาวน์โหลดบน Google Play สำหรับ BBM for Android เวอร์ชั่นปลอม

 

“แอพฯ ปลอมจำนวนมากประกอบด้วยมัลแวร์” เทอเรนซ์ ตัง ผู้อำนวยการอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเทรนด์ไมโคร กล่าว “แอพฯ เหล่านี้อาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล และก่อให้เกิดความเสียหายทางการเงิน ด้วยเหตุนี้จึงขอแนะนำให้ดาวน์โหลดแอพฯ จากแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ และติดตั้งแอพฯ รักษาความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงเพื่อปกป้องอุปกรณ์พกพาของคุณ เทรนด์ไมโครนำเสนอแอพฯ รักษาความปลอดภัยฟรีบนอุปกรณ์พกพา Dr. SafetyHYPERLINK “https://play.google.com/store/apps/details?id=com.trendmicro.freetmms.gmobi” ซึ่งรองรับการปกป้องและการสแกนแบบอัตโนมัติ ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอพฯ ที่มีความเสี่ยงอันตราย และยังคุ้มครองอุปกรณ์พกพาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด”

 

สามารถดาวน์โหลด Dr. Safety ได้จาก 3 ช่องทาง ต่อไปนี้:

ค้นหา “Dr. Safety” บน Google Play

สแกน QR code ด้านขวามือนี้เพื่อดาวน์โหลด Dr. Safety ภายใน 3 วินาที

เยี่ยมชมแฟนเพจ Facebook ของเทรนด์ไมโคร และค้นหาแอพฯ  “Dr. Safety”

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

Google เพิ่มประสิทธิภาพ Google Play Protect ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อปกป้องผู้ใช้จากมัลแวร์และซอฟต์แวร์ที่ไม่พึงประสงค์

Google Play Games สำหรับ Android เปลี่ยนโลโก้ใหม่ เรียบง่ายขึ้นสอดคล้องกับแอปอื่น!

รู้ยัง !?…ใช้จ่ายบน Google Play ผ่าน AIS ครั้งแรก รับฟรี! เครดิตเงินคืนสูงสุด 50 บาท

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More