อาการหน้าจอเบิร์นบนสมาร์ทโฟนคืออะไร ? พร้อมวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาให้ !!

ไม่นานมานี้มีรายงานออกมาเรื่อยๆ กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน้าจอแสดงผลของ iPhone 14 Pro Max ที่รองรับการใช้งาน Always-on Display (AOD) และเกิดอาการจอเบิร์นในผู้ใช้งานรายแล้วเพราะต้องแสดงภาพ AOD ค้างไว้ตลอดเวลาหากเปิดใช้งานครับ ซึ่งทั้งหมดนี้อาการที่เกิดขึ้นคืออะไร และจะมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง วันนี้ทีมงาน iphone-droid.net มีคำตอบมาให้ครับ

อะไรคือหน้าจอเบิร์น ?

สำหรับอาการของหน้าจอเบิร์นไม่ใช่อาการที่เกิดหน้าจอไหม้หรือเกิดความร้อนสูงตามคำเรียกครับ แต่เป็นอาการของเม็ดสีของหน้าจอที่เกิดเปลี่ยนสีไปอย่างถาวร ซึ่งจะแสดงผลค้างและซ้อนเป็นรูปภาพ ตัวอักษร หรืออื่นๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเป็นผลมาจากฮาร์ดแวร์โดยตรง ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตาม หน้าจอแสดงผลก็ยังคงใช้งานและสัมผัสได้ตามปกติโดยไม่มีปัญหาอะไรครับ

ทั้งนี้ สิ่งที่ควรทราบคือส่วนใหญ่อาการหน้าจอเบิร์นจะเกิดขึ้นกับพาเนล OLED แทบทั้งหมด (LCD ก็มีโอกาส แต่น้อยมากๆ) ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดจอเบิร์นจะเป็นการแสดงผลสื่งใดสิ่งหนึ่งค้างไว้นานจนเกินไป เช่น ระบบการนำทางแบบ 3 ปุ่มด้านล่าง (Navigation) อาจจะเจอปัญหานี้ได้ หรืออย่างล่าสุดก็เป็นฟีเจอร์ AOD บน iPhone 14 Pro ที่จะค้างไว้ตลอดเวลานั่นเองครับ

แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

สาเหตุของอาการจอเบิร์นนั้นเกิดจากแผงวงจรในแต่ละส่วนของหน้าจอแสดงผลครับ โดยชิ้นส่วนก็มีอายุการใช้งานเช่นกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสว่างที่ใช้หรือระยะเวลาของการใช้งาน ดังนั้นสีของแผงวงจรก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แม้ว่าผู้พัฒนาจะสร้างซอฟต์แวร์ที่ช่วยป้องกันเอาไว้แล้วก็ยังคงมีโอกาสเจอปัญหานี้ได้ครับ

ซึ่งในเรื่องของจอเบิร์นจะมีพาเนลบางส่วนที่หมดอายุเร็กว่าส่วนอื่นที่จะมีการเปลี่ยนสีบนหน้าจอและเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรเหมือนมีภาพซ้อนและค้างไว้ตลอดเวลา แม้ว่าจะเปิดอย่างอื่นแล้วก็ตามครับ

ทั้งนี้ ในสมาร์ทโฟนยุคปัจจุบัน อาการจอเบิร์นจะเกิดขึ้นได้จากอายุการใช้งานของพิกเซลสีต่างๆ ได้แก่ แดง เขียว และน้ำเงินบนแผงหน้าจอ OLED โดยจากที่เราบอกไปตอนต้น พื้นที่ของหน้าจอแสดงผลที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นแสงสีขาว สีดำ หรือปิดอยู่ เช่น แถบการนำทางหรือการแจ้งเตือนก็อาจเจอปัญหานี้ได้ครับ

ภาพจาก Samsung

แล้วจะป้องกันจอเบิร์นได้ยังไง ?

การป้องกันอาการหน้าจอเบิร์นจริงๆ ก็ค่อนข้างไม่มีอะไรซับซ้อน คือ ไม่เปิดภาพหรืออื่นๆ ค้างไว้เป็นเวลานานๆ สลับหน้าจอไปมาบ้างเมื่อใช้งานไปสักระยะครับ ซึ่งในสมาร์ทโฟนที่รองรับฟีเจอร์ AOD อย่าง Samsung เองก็มีระบุไว้ทางการว่าหากผู้ใช้งานเปิดใช้งาน ตัวของพิกเซลจะมีการขยับตลอดเวลาทีละนิดๆ แบบที่ผู้ใช้งานไม่สังเกตเห็น หรือบางครั้งก็เปลี่ยนตำแหน่งไปเลยก็มีเช่นกัน

นอกจากนี้ สิ่งที่เราทำได้ก้มีหลากข้อ ดังนี้

  • เปิดความสว่างหน้าจอที่ไม่มากเกินไปหรือเหมาะกับสภาพแสงนั้นๆ และไม่ควรเปิดแสงสุดตลอดเวลานานๆ ครับ
  • ปรับเวลาการปิดหน้าจออัตโนมัติให้น้อยลง เช่น 2 นาที, 3 นาที หรือ 5 นาที
  • ใช้ Dark Mode เพื่อช่วยให้หน้าจอไม่ต้องส่องสว่างมากเกินไป
  • ไม่ควรเปิดแสดงผลสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ควรสลับไปดูอย่างอื่นเป็นครั้งคราว

ใครที่ยังไม่เจอปัญหานี้ก็สามารถทำตามข้อข้างต้นได้เลยครับ ซึ่งจะเป็นการป้องกันได้เป็นอย่างดีแน่นอน

ที่มา : Android Authority

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

Apple ออกอัปเดต iOS 18.3.1 บน iPhone แก้บัคและปิดช่องโหว่

Gurman เผย iPhone SE รุ่นใหม่ มาแน่สัปดาห์นี้ !

ระวังแอป SparkCat ! พบมัลแวร์ที่มีโค้ดการอ่านหน้าจอในแอป iOS เป็นครั้งแรก (Android ก็มี)

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Read More