Android Tips
รู้จัก Android ก่อนลุยงานปลายเดือนนี้
รู้จัก Android ก่อนลุยงานปลายเดือนนี้
สวัสดีครับ ผมปีเตอร์กวงควงมือถือ จากรายการ “แบไต๋ไฮเทค เดลี่ไฟว์ไลฟ์” ที่ถ่ายทอดสดออกอากาศ ตรงจาก Beartai Digital Gateway Studio ชั้น 4 Digital Gateway สยามสแควร์ ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร และออกอากาศไปยังสถานีทีวีดาวเทียมต่างๆ อีก 5 ช่อง ไม่ว่าจะเป็น Dude TV ในวันศุกร์ Voice TV ในวันเสาร์ Nation Channel ในวันอาทิตย์ Mango TV ในวันจันทร์ และ Gang Cartoon Channel ในวันอังคาร (วันธรรมดา 19:00, วันหยุด 16:00) โดยผมมาประจำการใน What’s Phone Magazine ทุกเดือน เพื่อไขข้อข้องใจและเก็บตกข่าวความเคลื่อนไหวในวงการเทเลคอม ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ สำหรับฉบับนี้จะมาพูดถึงเรื่องการเลือกซื้อ Android Smartphone, Android Tablet กันว่าสเปคอย่างไรจะเหมาะสมกับเรา มากน้อยแค่ไหนถึงจะดี ต้องซีพียูแรงๆ หรือแรมเยอะๆ หรือราคาที่เหมาะกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน มาดูกันครับ
Android Smartphone ทำไมต้องมีสเปคที่แตกต่างกันมากมาย
ในแง่ของโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนวันนี้ต้องบอกว่า OS ที่มีคุณภาพแปรผันตามกับสเปคตัวเครื่อง (Hardware) นั่นนก็คือ Android OS เพราะว่าเป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือที่ค่อนข้าง ยืดหยุ่นให้กับผู้ผลิตมากๆ เนื่องจาก Google วาง Android OS ไว้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Platform) หมายความว่าใครที่นำเอา Android OS ไปผลิตเป็นสมาร์ทโฟนนั้น สามารถนำเอา Android OS เวอร์ชั่นมาตรฐานไปปรับเปลี่ยนอย่างที่ต้องการได้ เพื่อให้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของตนเองนั้นมีจุดขาย ดูแตกต่างกันไป มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยกตัวอย่างเช่น Samsung ก็นำเอา Android OS มาแล้วปรับปรุง ระบบเมนูให้เป็นแบบเฉพาะของตนเองที่เรียกว่า Touch Wiz UI หรือ HTC ก็มีระบบเมนูแบบของตัวเอง ที่เรียกว่า Sense UI เป็นต้น ขณะที่ iOS หรือ BB OS นั้นผู้ผลิตสินค้าและผู้เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ นั้นเป็นเจ้าของเดียวกัน ทำให้ Android Smartphone จึงมีความแตกต่างกันในระหว่างผู้ผลิตในเรื่องของ สเปคตัวเครื่อง หรือ Hardware นั่นเอง ประกอบกับในเชิงของการวางตำแหน่งสินค้าให้เข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยออกมาเป็นระดับราคาสินค้าเป็นตัวแบ่งแยกตามระดับของ สเปคตัวเครื่องที่ใช้ สเปคที่สูงก็จะมีต้นทุนสูงราคาที่ออกมาก็จะสูงตาม เช่น Samsung Galaxy S II หรือ HTC Sensation ส่วนเครื่องที่สเปคพื้นๆ ก็จะมีต้นทุนที่ถูก ราคาที่ออกมาก็จะไม่แพงมาก เช่น Samsung Galaxy Y เป็นต้น
Android Smartphone สเปคอย่างไรถึงดูว่าใช้ได้ อย่างไรเหมาะกับใคร
ด้วยความแตกต่างของการวางตำแหน่งสินค้าในตลาดซึ่งมีทั้งระดับสูง ระดับกลางหรือระดับเริ่มต้น ทำให้การทำสินค้า Android Smartphone จึงต้องมีความแตกต่างกันในเรื่องของ Hardware หรือสเปคของตัวเครื่อง เราแยกง่ายๆ เป็น 3 ระดับด้วยกัน
สเปคระดับสูง – เหมาะกับคนที่ต้องการเครื่องแรงๆ งบไม่จำกัด เน้นเล่นเกมส์ที่มีระดับการแสดงผล แบบสามมิติ ค่อนข้างเยอะ หรือจำพวกที่เล่นภาพสามมิติ หรือเน้นถ่ายวิดีโอความละเอียดระดับ Full HD กันเลยทีเดียว จอต้องเน้นๆ ใหญ่ไว้ก่อน ใช้โทรศัพท์ทำทุกอย่างที่ทำได้ และเป็นสเปคระดับที่อยู่ได้ยาวๆ ในอนาคต
CPU: เริ่มที่เป็นแบบ Dual Core CPU (สองแกนสมอง พูดง่ายๆก็คือมี CPU สองตัวในเครื่องเดียว กัน และมีความเร็ว CPU ตั้งแต่ 1 GHz ขึ้นไป หรือจะเป็น 1.2 GHz, 1.4 GHz, หรือสูงสุดก็เป็น 1.5 GHz ในขณะนี้ และเร็วๆ นี้ในไตรมาสสอง เราก็จะได้เห็น CPU ที่เป็น Quad Core CPU (สี่แกนสมอง คือมี CPU สี่ตัวในเครื่องเดียวกัน) เพื่อออกมาเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
RAM (หน่วยความจำที่ใช้ในการทำงานและประมวลผล) อย่างน้อยก็ต้องมี 756 MB หรือเป็น 1 GB ไปเลย เพราะแค่เปิดเครื่องมาก็ต้องถูกใช้ไปอย่างน้อย 20% ของหน่วยความจำที่มีอยู่ทันที เครื่องสเปคนี้ก็ต้องใช้หน่วยความจำสูงตามแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้และทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
Internal Memory หรือจะเรียกว่าเป็นหน่วยความจำในการเก็บข้อมูล และแอพพลิเคชั่นที่เรา ดาวน์โหลดมาใช้งาน ก็เริ่มกันที่16 GB, 32 GB เป็นอย่างน้อย แต่ก็สามารถเพิ่มด้วยการใส่เมมโมรี่เพิ่ม เข้าไปโดยใช้ microSD เป็นฟอร์แมตมาตรฐาน ซึ่งสามารถเพิ่มได้อีกสูงสุดที่ 32 GB
อื่นๆ เช่น กล้องที่มีทั้งหน้าและหลัง โดยมีระดับ 8 ล้านพิกเซลขึ้นไป, หน้าจอแสดงผลที่มีจุด เด่นกันไปแต่ละค่าย เช่นจอ Super AMOLED Plus, Super Nova, Super LCD ส่วนขนาดหน้าจอ ก็มีกันตั้งแต่ 4” ขึ้นไปจนถึง 5.3” อย่าง Samsung Galaxy Note ที่รองรับการใช้ปากกาในการป้อนข้อมูลผ่านหน้าจอสัมผัส
ตัวอย่างโทรศัพท์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Samsung Galaxy Nexus, Samsung Galaxy S II, Samsung Galaxy Note, HTC Sensation XE, HTC Sensation, HTC EVO 3D, LG Optimus 3D, LG Optimus 2X, Sony Xperia S เป็นต้น
สเปคระดับกลาง – เหมาะกับคนที่ต้องการเครื่องระดับกลางๆ หน้าจอไม่ใหญ่มากเกินไป งบประมาณอยู่ ในระดับสมเหตุสมผล หมื่นต้นๆ ถึงหมื่นกลางๆ เน้นใช้งานในการท่องอินเตอร์เนต อีเมล์ ใช้ถ่ายภาพทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์บ้าง แต่ไม่มาก โทรศัพท์ดีๆ ก็ถือติดมือแล้ว สำหรับคนกลุ่มนี้ ไม่ต้องแพงหรือหรูเกินไป
CPU: เริ่มที่เป็นแบบ Single Core CPU (หนึ่งแกนสมองเป็นอย่างน้อย และมีความเร็ว CPU ตั้งแต่ 1GHz ขึ้นไป หรือจะเป็น 1.2 GHz, 1.4 GHz, หรือสูงสุดก็เป็น 1.5 GHz ในขณะนี้
RAM (หน่วยความจำที่ใช้ในการทำงาน และประมวลผล) อย่างน้อยก็ต้องมี 512 MB มากกว่านี้อีกหน่อยก็ยิ่งดี
Internal Memory หน่วยความจำในการเก็บข้อมูล และแอพพลิเคชั่นที่เราดาวน์โหลดมาใช้งาน ก็เริ่มกันที่ 4-8 GB เป็นอย่างน้อย แต่ก็สามารถเพิ่มด้วยการใส่เมมโมรี่เพิ่มเข้าไปโดยใช้ microSD เป็นฟอร์แมตมาตรฐาน ซึ่งสามารถเพิ่มได้อีกสูงสุดที่ 32 GB
อื่นๆ เช่น กล้องที่มีทั้งหน้าและหลัง โดยมีระดับ 5 ล้านพิกเซลขึ้นไป, หน้าจอแสดงผลที่มี จุดเด่นกันไปแต่ละค่าย แต่ก็จะมีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 3.5”-3.7” ขึ้นไป
ตัวอย่างโทรศัพท์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Samsung Galaxy S Plus, Samsung Galaxy R, HTC Sensation XL, HTC Rhyme, HTC Desire S, HTC Incredible S, HTC Salsa, Sony Ericsson Xperia Arc S, Sony Ericsson Xperia Ray, Sony Ericsson Xperia Play, LG Optimus Black, LG Optimus Sol เป็นต้น
สเปคระดับเริ่มต้น – เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มหันมาใช้ Android และมีงบประมาณจำกัดระดับต่ำหมื่นลง มาจนถึงสี่พันกว่าๆ เน้นการใช้งานทั่วไป ไม่เน้นความเร็วความแรงใดๆ เพราะไม่คาดหวัง อะไรมาก แต่ขอให้ใช้ได้รอบตัว ไม่ว่าจะฟังเพลง ถ่ายรูป ดูคลิปวิดีโอ YouTube บ้าง เล่นเกมส์ Angry Bird บ้าง ก็สนุกพอแล้ว
CPU: เป็นแบบ Single Core CPU และมีความเร็ว CPU ตั้งแต่ 600 MHz ขึ้นไป หรือจะเป็น 800 MHz, 1 GHz สูงสุด
RAM (หน่วยความจำที่ใช้ในการทำงานและประมวลผล) อย่างน้อยก็ต้องมี 512 MB ขึ้นไป 256 MB คงไม่ไหวแล้วสำหรับปีนี้
Internal Memory หน่วยความจำในการเก็บข้อมูล และแอพพลิเคชั่นที่เราดาวน์โหลดมาใช้งาน ก็เริ่มกันที่เล็กๆ เช่น 150 MB เป็นอย่างน้อย แต่ก็สามารถเพิ่มด้วยการใส่เมมโมรี่เพิ่มเข้าไปโดยใช้ microSD เป็นฟอร์แมตมาตรฐานซึ่งสามารถเพิ่มได้อีกสูงสุดที่ 32 GB
อื่นๆ เช่น กล้องที่มีทั้งหน้าและหลัง โดยมีระดับ 2-3 ล้านพิกเซลขึ้นไป, หน้าจอแสดงผลก็จะมี ขนาดหน้าจอตั้งแต่ 3”-3.2” ขึ้นไป
ตัวอย่างโทรศัพท์ในกลุ่มนี้ค่อนข้างมีตัวเลือกมาก เช่น Samsung Galaxy Y, Samsung Galaxy mini, Samsung Galaxy Cooper, Samsung Galaxy Gio, HTC Explorer, HTC Wildfire S, HTC ChaCha, Sony Ericsson Xperia Neo V, Sony Ericsson Xperia Mini, Sony Ericsson Xperia X8, LG Optimus Hub, LG Optimus Net เป็นต้น
Android Tablet สเปคแตกต่างกับ Android Smartphone ไหม
ในส่วนของ Android Tablet นั้นสเปคจะค่อนข้างคล้ายๆ กับ Android Smartphone ในสเปคระดับสูง เพราะว่า Tablet นั้นมีหน้าจอที่ใหญ่กว่ามาก การทำงานของ Tablet นั้นก็เหมือน Netbook ย่อมๆ ก็ว่าได้ สเปคก็เลยต้องสูงตาม คือมี CPU ที่เป็นระดับ Dual Core ขึ้นไป อย่างน้อยก็ 1 GHz จนไปถึง 1.5 GHz ส่วนของ RAM ก็น่าจะมีอย่างน้อย 512 MB หรือถ้าเป็น 1 GHz ยิ่งจะดีมาก เพราะต้องทำงานในแบบ Multi-Tasking เป็นสำคัญ ส่วนในด้านของ Internal Memory นั้นส่วนใหญ่ก็จะมา 16 GB เป็นมาตรฐาน ส่วนเรื่องที่จะเพิ่มได้โดยใช้ microSD หรือป่าวอันนี้แล้วแต่ยี่ห้อ แต่ถ้ามีก็จะดีมาก นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของกล้องซึ่งส่วนมาก Tablet จะมาพร้อมกล้อง 2-3 ล้านพิกเซลเป็นอย่างน้อย พร้อมกับกล้องด้านหน้าเพื่อใช้ในการทำ Video Call ส่วนเรื่องของหน้าจอ อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ และความต้องการ ไล่กันไปตั้งแต่ 7”, 7.7”, 8.9”, 10.1” อนาคตก็คงมีหน้าจอขนาดต่างๆ ให้เลือกกันอีก แต่ตอนนี้หลักๆ ก็มี 4 ขนาดเป็นแกนหลักให้เลือก ส่วนหน้าจอก็มีทั้งแบบ LCD มาตรฐาน และ Super AMOLED อันนี้จะเป็นตัวแปรในเรื่องของราคา เพราะหน้าจอแบบ Super AMOLED นั้นค่อนข้างแพงกว่า LCD อยู่แล้ว ปัจจุบัน Android Tablet กลุ่มนี้ก็ได้แก่ Samsung Galaxy TAB 7 Plus, Samsung Galaxy TAB 7.7, Samsung Galaxy TAB 8.9, Samsung Galaxy TAB 10.1, Motorola Xoom, Acer Iconia TAB 101, Acer Iconia TAB 501, Acer Iconia TAB A700, Sony Tablet S 3G, Huawei Media Pad, ZTE V9+ ปัจจุบันราคา Tablet ในไทยราคาไม่หนีกันมากนัก โดยเฉพาะในรุ่นหน้าจอใหญ่ แต่ในรุ่น 7” นั้นมีราคาให้เลือกค่อนข้างหลากหลายเพราะเป็นขนาดที่มีผู้ผลิตเยอะที่สุด ก็คงต้องเลือกให้ดี ถูกกว่าก็ไม่แน่ว่าอาจจะดีกว่าหรือแย่กว่าก็ได้ เราคงต้องดูเรื่องบริการหลังการขายด้วย เช่นการซ่อมเครื่อง การอัพเกรดซอฟแวร์เวอร์ชั่นใหม่ๆ เมื่อ Android ปล่อยเวอร์ชั่นใหม่ออกมา เรื่องเหล่านี้จะเป็นตัวตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้ได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่เลือกของที่ถูกที่สุดอย่างเดียว
แล้วสเปคไหนที่รองรับการมาของ Android OS 4.0 Ice Cream Sandwich
อย่างหนึ่งที่เราๆ ท่านๆ เห็นล่าสุดก็คือ การเปิดตัวใหม่ของ Android OS Version 4.0 ที่ชื่อว่า Ice Cream Sandwich ซึ่งทาง Google บอกว่ามันเป็น OS สำหรับทั้ง Smartphone และ Tablet (ขณะที่ปัจจุบัน Android Smartphone Version 2.X และ Android Tablet Version 3.X) นั่นหมายความว่าในอนาคตผู้ผลิตจะหันมาผลิตโทรศัพท์ Android Smartphone และ Android Tablet เป็นเวอร์ชั่น 4.0 มาจากโรงงานเลย แต่ก็ไม่ซะทั้งหมดของ Android Smartphone ที่จะเป็นเวอร์ชั่น 4.0 เพราะว่า Android OS 4.0 นั้นต้องการความสามารถของฮาร์ดแวร์ หรือสเปคเครื่องที่สูงพอสมควรคืออย่างน้อยก็ต้องเป็น CPU แบบ Dual Core 1 GHz ขึ้นไปซึ่งค่อนข้างแน่ใจว่าจะรองรับได้ เพราะว่าตอนนี้มีแค่ Samsung Galaxy Nexus เท่านั้นที่มี Android OS 4.0 มาจากโรงงานเลย ส่วนรุ่นอื่นๆ ในตลาดที่ขายอยู่ยังไม่เป็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Android OS 2.3 ก็อาจจะมีคำถามว่าแล้วถ้าซื้อวันนี้จะแน่ใจได้อย่างไรว่า Android Smartphone ที่ซื้อไปจะรองรับการอัปเกรดไปเป็น Android 4.0 ได้ ก็ต้องบอกว่ามีปัจจัยอยู่สามสี่อย่าง
ข้อ 1) สเปคคงต้องเป็น CPU Dual Core 1 GHz ขึ้นไป จริงๆ แล้ว CPU Single Core 1GHz ก็พอไหวอยู่นะ แต่ Dual Core ชัวร์กว่า
ข้อ 2) มี RAM สัก 768 MB ขึ้นไป (1 GB ยิ่งชัวร์กว่า)
ข้อ 3) เป็นยี่ห้อระดับอินเตอร์ อย่าง Samsung, HTC, Sony, LG, Acer เพราะแบรนด์เหล่านี้มี R&D และโรงงานเป็นของตัวเอง มั่นใจได้ว่าเขาทำเพื่อลูกค้าแน่นอน เพื่อความเชื่อมั่นต่อแบรนด์
ข้อ 4) ยี่ห้อผู้ผลิตเหล่านี้คงต้องยืนยันเองว่าจะรองรับการอัพเกรดไปสู่ Android OS 4.0 ซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่บ้างแล้ว หาดูได้จากอินเตอร์เนต ถ้ายืนยันไม่ได้ปีเตอร์กวงก็คงยืนยันไม่ได้เช่นกัน
แต่สำหรับคนที่ซื้อสเปคระดับเริ่มต้นที่ใช้ CPU ต่ำกว่าระดับ 1 GHz ลงมา บอกได้เลยว่าไม่สามารถอัปเกรดได้อย่างแน่นอน เพราะฮาร์ดแวร์สเปคเอาไม่อยู่ครับ อย่างไรก็แล้วแต่ สเปคระดับนี้ก็ยังมีผลิตขายออกมาเรื่อยๆ และใช้ได้กับ Android OS 2.X เท่านั้น เพราะยังสามารถทำให้สมาร์ทโฟนราคาถูกได้สำหรับคนที่เริ่มต้นใช้ Android แต่ถ้าเมื่อไร Android ที่มี CPU ระดับ 1 GHz ราคาลงต่ำมาถึงราคา 4-5 พันก็คงจะได้ใช้ Android 4.0 กันถ้วนหน้าในราคานั้นแน่ๆ ครับ
ที่มา : whatphone.net