Windows
พันล้านโอกาส เพื่อนักพัฒนาชาวไทย พร้อมก้าวสู่ความสำเร็จอย่างไร้ขีดจำกัด
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ ได้เปิดตัวดีไวซ์ใหม่ๆ บนวินโดวส์ 10 ไม่ว่าจะเป็นSurface Pro 4, Surface Book, Lumia และ Microsoft Band สร้างความตื่นเต้นให้กับทุกคนเป็นอย่างมาก และภายในงาน ไมโครซอฟท์ยังได้ประกาศว่ามีดีไวซ์มากกว่า 110 ล้านแล้วที่ใช้วินโดวส์ 10 นอกจากนี้ ยอดการเข้าวินโดวส์ สโตร์ มีมากถึง 1.25 พันล้านครั้ง
สถิติที่น่าทึ่งเหล่านี้ถือเป็นก้าวแรกของไมโครซอฟท์ในการก้าวเดินสู่เป้าหมายที่จะมีดีไวซ์ที่อยู่บนวินโดวส์ 10 รวมกว่าพันล้านเครื่องทั่วโลกภายในเวลา 2-3 ปีข้างหน้า และยังเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโอกาสมากมายที่รอวันให้นักพัฒนาแอพชาวไทยได้ไขว่คว้า
จากการสำรวจความเห็นของนักพัฒนาแอพใน 8 ประเทศเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย พบว่ามีนักพัฒนากว่า 78% ที่มีความสนใจที่จะพัฒนาแอพสำหรับวินโดวส์ 10 ซึ่งใช้งานได้ทั้งบนพีซี สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์ประเภทสวมใส่ ทั้งยังรองรับการออกแบบแอพให้ใช้งานร่วมกันได้กับระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์ ทั้งหมดนี้ทำให้วินโดวส์ 10 เป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาแอพชาวไทยที่ต้องการก้าวสู่ความสำเร็จในระดับโลก ซึ่งวินโดวส์ได้ทะลายแนวคิดข้อจำกัดในเรื่องรูปแบบดีไวซ์และระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน และทำให้การพัฒนาแอพง่ายขึ้นกว่าที่เคย
เราเชื่อว่านักพัฒนาไม่ควรต้องมาสนใจว่าจะเลือกพัฒนาเว็บแอพ แอพมือถือ แอพบนพีซี หรือแม้แต่เลือกระบบปฎิบัติการว่าจะเป็นวินโดวส์ แอนดรอยด์ หรือไอโอเอส เพราะในอนาคต การพัฒนาแอพควรจะต้องเปิดกว้าง รองรับทุกแพลตฟอร์มได้อย่างเท่าเทียมกัน
การจะเชื่อมโยงให้ดีไวซ์และแพลตฟอร์มเหล่านี้ผสานกันเป็นหนึ่งเดียวได้ จะต้องมีกลไกหรือเครื่องมือที่เปรียบได้กับสะพานที่เชื่อมโยงให้เราเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย โดยไมโครซอฟท์ได้พัฒนาชุดเครื่องมือ วินโดวส์ บริดจ์ (Windows Bridge toolkits) ขึ้น เพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำโค้ดจากแอพแอนดรอยด์หรือไอโอเอสข้ามมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มวินโดวส์ได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถปรับแต่งหรือเสริมคุณสมบัติให้แอพทำงานได้ร่วมกับวินโดวส์ได้เต็มศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็น Live Tile ระบบการแจ้งเตือนผู้ใช้ หรือการซื้อของเพิ่มเติมภายในแอพ ผ่านทางวินโดวส์ สโตร์
เมื่อปรับแต่งแอพจนสมบูรณ์แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการนำแอพออกสู่ตลาด ผ่านทางวินโดวส์ สโตร์ ซึ่งรองรับดีไวซ์วินโดวส์ทุกรูปแบบ ทั้งพีซี แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน อุปกรณ์สวมใส่ เครื่องเกมคอนโซล หรือแม้แต่ชุดแว่น
โฮโลกราฟฟิก ซึ่งเมื่อนับรวมทั้งหมดแล้ว อาจมีจำนวนสูงถึงพันล้านเครื่องในอนาคต จึงเป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมในการสร้างรายได้ และยังช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาแอพได้อีกด้วย
ปัจจุบัน การพัฒนาซอฟต์แวร์นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิตัลในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพเกิดใหม่ที่เน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นธุรกิจหลัก หรือบริษัทที่มุ่งพัฒนาแอพเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจเอสเอ็มอี ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิตัลให้เติบโตไปได้ด้วยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหากเราสามารถช่วยกันสร้างเศรษฐกิจดิจิตัลได้สำเร็จ จะสามารถสร้างรายได้เป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของ GNP (หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) ในปี 2563
ด้วยความนิยมที่เพิ่มมากขื้นของสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพา พร้อมด้วยเทคโนโลยีโมบาย บรอดแบนด์ และการพัฒนาระบบเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นที่คาดการณ์กันว่าตลาดซอฟต์แวร์ในเมืองไทยจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และเราเชื่อว่าโลกเทคโนโลยีแห่งอนาคตจะเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งนักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอพใหม่ที่ใช้งานได้กับทุกแพลตฟอร์มโดยปราศจากข้อจำกัด
สำหรับไมโครซอฟท์แล้ว การมีดีไวซ์วินโดวส์พันล้านเครื่องบนโลกนี้ มีความสำคัญมากกว่าการบรรลุเป้าหมายของเรา แต่เป็นการบุกเบิกสร้างโอกาสและช่วยปลดล็อกศักยภาพการสร้างสรรค์ของนักพัฒนาทั่วโลก รวมถึงนักพัฒนาชาวไทยได้ออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อนำพาประเทศไทยเข้าสู่โลกยุคดิจิตัลได้อย่างเต็มภาคภูมิ