Featured
พาชมงาน “ทดสอบ 5G” ครั้งแรกในไทย โดย AIS ไม่ใช่แค่ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว
เทคโนโลยี 5G เครือข่ายไร้สายความเร็วสูงที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อจากยุค 4G ซึ่งทาง AIS ได้จับมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก Nokia, Huawei และ ZTE จัดงาน 5G the First LIVE in Thailand by AIS เพื่อทดสอบเทคโนโลยี 5G เป็นรายแรกในประเทศไทย
ภายในงาน 5G the First LIVE in Thailand by AIS เป็นการสาธิต 5G ที่สามารถนำไปปรับใช้กับนวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างไร โดยเป็นการเริ่มต้นด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายแรกอย่าง Nokia เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นของเทคโนโลยี 5G ที่ไม่ใช่เพียงความเร็วที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งทางทีมงานจะพาไปดูว่า 5G มีอะไรน่าสนใจบ้าง
1. 5G Super Speed
เริ่มจากจุดแรก 5G Super Speed เป็นการนำเสนอในด้านของความเร็วที่เทคโนโลยีเครือข่าย 5G สามารถทำได้ ซึ่งเป็นนำเสาสัญญาณจริงๆ มาปล่อยสัญญาณให้กับเครื่องต้นแบบ 5G ให้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่ามีความเร็วในการรับส่งสัญญาณที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ยกระดับการใช้งานดาต้า และค่าความหน่วง Latency ที่ต่ำมากๆ ทำให้การตอบสนองทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 4G ในปัจจุบัน
ขออธิบายเพิ่มเติมว่า ค่าสปีดที่ได้จากการทดสอบนี้ จะแตกต่างจากการทดสอบสปีด 5G ในต่างประเทศ ตามที่เราเคยเห็นในสื่อต่างๆ เนื่องจากในต่างประเทศนั้น เป็นการทดสอบสปีดบนวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ด้วยรูปแบบวิธีการที่ต่างกัน กล่าวคือ มีการใช้ตัวรับสัญญาณเป็นอุปกรณ์พิเศษ ที่ไม่ใช่มือถือ และเป็นการทดลองในห้องแล็บที่ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมจริง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ ค่าสปีดสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ บางครั้งความเร็วอาจแตะถึงระดับ 15 Gbps ขึ้นไป
ซึ่งได้ยินว่า เร็วๆ นี้ เอไอเอสก็จะนำการทดสอบในลักษณะข้างต้นนี้ มาแสดงให้ชมเช่นกัน
สำหรับเครือข่าย 5G ได้เพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ (Massive machine type communications-mMTC) เพื่อรองรับอุปกรณ์ IoT ที่จะถูกนำมาใช้อย่างมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งภายในงานมีคุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS ได้มาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรจะสามารถรองรับอุปกรณ์ IoT ได้ถึง 1 ล้านชิ้น พร้อมยกตัวอย่างการเชื่อมต่อหลอดไฟหรือเซ็นเซอร์บนท้องถนนที่ทำให้การสั่งงานและควบคุมทำได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
2. 5G Virtual Reality – immersive video
5G Virtual Reality – immersive video เป็นการสาธิตให้ดูว่าเมื่อค่า Latency ต่ำมากๆ จนแทบไม่มีความหน่วงของเครือข่าย 5G การดูวิดีโอเสมือนจริงในรูปแบบ VR จะเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าวิดีโอ VR เป็นไฟล์ขนาดใหญ่และต้องการ bandwidth ที่สูงมาก แต่ด้วยประสิทธิภาพของเครือข่าย 5G ภาพเห็นเมื่อหันศรีษะไปยังทิศทางต่างๆ ก็จะเห็นภาพในมุมนั้นได้ทันที ทำให้ไม่เวียนหัว
ถ้าใครเคยลองเล่น VR มาก่อนก็จะทราบดีว่าแค่ลองเล่นไม่กี่นาทีก็รู้สึกเวียนหัว เพราะภาพที่เห็นจะหน่วงกว่าทิศทางที่ศรีษะของเราหันไปมองนั่นเอง คล้ายกับอาการเมารถของคนที่สายตากับน้ำในหูไม่สัมพันธ์กัน แต่กับบนเครือข่าย 5G ไม่เป็นอย่างนั้น ลองมาเล่นดูกันนะครับ
3. 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot
ถัดมาข้างๆ กันเป็นจุดที่นำเสนอ 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot เป็นการสาธิตให้เห็นถึงประสิทธิภาพการตอบสนองบนเครือข่าย 5G โดยมีกล้องสำหรับระบุตำแหน่งของลูกบอล และใช้หุ่นยนต์ 3 ตัวในการหาจุดสมดุลให้กับลูกบอลที่อยู่กึ่งกลางกระดาน
การรทดสอบความหน่วง Latency บนเครือข่าย 5G เมื่อทำการขยับลูกบอลไปยังตำแหน่งอื่น ตัวกล้องที่อยู่ด้านบนก็จะทำการะบุตำแหน่งของลูกบอลแล้วส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง จากนั้นก็ส่งคำสั่งมายังหุ่นยนต์ทั้ง 3 ตัวให้ขยับทิศทางเพื่อหาจุดสมดุลให้กับลูกบอล ซึ่งเมื่อ Latency มีค่าน้อยมากๆ ความหน่วงก็จะน้อยลง ทำให้การสั่งงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ตัวอย่างประโยชน์ของ 5G Ultra Low Latency เช่น การสั่งงานในรถยนต์ไร้คนขับเมื่อเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่าย 5G ซึ่งมีค่า Latency ที่ต่ำมาก จะช่วยให้การตัดสินใจในระบบของรถยนต์ทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ช่วยลดหรือไม่เกิดเกิดอุบัติเหตุได้ หรือจะเป็นเรื่องของสุขภาพด้านการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ เป็นต้น
4. 5G FIFA Virtual Reality
จุดที่ 4 เป็นการนำเสนอ 5G FIFA Virtual Reality ซึ่งเป็นการทดลองความเร็วของเครือข่าย 5G โดยการเตะลูกบอล Virtual Reality ที่จุดโทษผ่านเครือข่าย 5G เทียบกับเครือข่าย 4G ที่มีค่า Latency ต่างกัน ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
จากการทดสอบทำให้เห็นว่าเมื่อเล่นการเตะลูกบอลบนเครือข่าย 4G ผู้รักษาประตูจะตัดสินใจเลือกทิศทางของลูกบอลที่กำลังลอยเข้ามาได้ค่อนข้างช้ากว่า ทำให้เตะเข้าประตูได้มากกว่า ในขณะที่การเล่นบนเครือข่าย 5G ผู้รักษาประตูจะตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โอกาสยิงประตูก็จะทำได้น้อยลง
สำหรับความหน่วงหรือ Latency เป็นสิ่งหนึ่งที่เหล่าเกมเมอร์ทั้งหลายทราบกันดีว่ายิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้การเล่นเกมทำให้ดีมากขึ้น โอกาสชนะก็สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
5. 5G for Industry 4.0
จุดสุดท้าย 5G for Industry 4.0 ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเครือข่าย 5G ไม่ได้มีบทความเฉพาะกับผู้บริโภคที่ใช้งานมือถือเท่านั้น แต่ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ต้องตามความเปลี่ยนแปลงนี้ให้ทันด้วย
จุดนี้จะเป็นการสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์ YuMi Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าค่า Latency นั้นต่ำมาก การรับส่งคำสั่งระหว่างตัวหุ่นยนต์และเซิร์ฟเวอร์ก็ทำได้รวดเร็วมากขึ้น เรียกได้ว่าสั่งงานมาปุ๊บ หุ่นยนต์ก็ทำตามคำสั่งได้ทันที
นอกจากความเร็วในการผลิตที่ทำได้มากขึ้นแล้ว ในเรื่องของความปลอดภัยเองก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งจุดนี้ก็ได้จำลองเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุหรือบุคคลเมื่อเข้าใกล้บริเวณไลน์ผลิตนี้ ตัวหุ่นยนต์ก็จะหยุดทำงานทันที เพื่อความปลอดภัย ซึ่งหากการสั่งงานเกิดความหน่วงด้วยค่า Latency ที่สูงก็อาจจะสั่งงานให้หยุดได้ไม่ทันการและก่อให้เกิดอันตรายได้
จะเห็นว่า 5G จะไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการตอบสนองที่รวดเร็วมากขึ้น (Low Latency) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วเครือข่าย 5G จะเริ่มใช้งานได้เมื่อไหร่ คำตอบ คือ ก็คงต้องรอความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านอุปกรณ์ ด้านกฏระเบียบต่างๆ ซึ่งทั่วโลกก็กำลังศึกษากันอยู่เช่นกัน
แน่นอนว่า AIS ในฐานะโอเปอร์เรเตอร์เบอร์ 1 ของไทย ก็ไม่หยุดนิ่ง ได้เริ่มศึกษาและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงมาโดยตลอด เพื่อให้พร้อมรับ กับการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ในอนาคต ดังเช่น ล่าสุด AIS ได้เริ่มศึกษา และเป็นรายแรกที่เริ่มต้นปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมาผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลาง ทำให้อัตราการตอบสนองเร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ ส่งผลให้ประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าดีขึ้น เนื่องจากสามารถใช้และเชื่อมต่อ Service/Content ต่างๆ ได้เร็วขึ้น โดยความเคลื่อนไหวนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการเทเลคอมบ้านเรา และมีเพียงเอไอเอสรายเดียวที่เริ่มปรับโครงสร้างเครือข่ายในลักษณะนี้
สำหรับใครสนใจและอยากเห็นความสามารถของเทคโนโลยี 5G ก็สามารถไปชมกันได้ที่งาน 5G the First LIVE in Thailand by AIS ตั้งแต่วันนี้ – 15 ธันวาคม 2561 ณ AIS DC ชั้น 5 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม (ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)