Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

เวทีประกวด “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ปีที่ 9 เผย 3 เทรนด์แรงเกษตรไทย “เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี”

Published

on

 

ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด  เผย 3 แนวโน้มสำคัญเกษตรไทย ชูกลยุทธ์ “เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี” ขับเคลื่อนเกษตรครบวงจร ปูทางสู่ เกษตรกร 4.0  พร้อมประกาศผลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยนางสาวจิราวรรณ คำซาว เกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่ ชูจุดเด่น “นวัตกรรม” พิชิตใจกรรมการ

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า จาก 9 ปีของการประกวด พบพัฒนาการของผู้เข้าประกวดอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการเกษตรครบวงจร โดยใช้งานวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐานในการขับเคลื่อนธุรกิจ ครอบคลุมการผลิต การตลาด และการขาย โดยผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตัวเองมี ซึ่งต่างจากอดีตที่เป็นเกษตรเชิงวัฒนธรรม ทำตามๆ กันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ตลาดในปัจจุบัน

“ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ภาคการเกษตรไทยจะเปลี่ยนโฉมหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง 5G และอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things)ทำให้เกษตรกรต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร สภาวะโลกร้อน ปัญหาความยากจน  ซึ่งทำให้เกิดทั้งความท้าทายและโอกาสเชิงเศรษฐกิจและสังคม” นายลาร์ส กล่าว

ทั้งนี้ จากผู้สมัครเข้าประกวดกว่า 80 คน ในปีนี้ พบแนวโน้มสำคัญของเกษตรไทยยุคใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 เทรนด์ ได้แก่

1.เกษตรเชิงข้อมูล (Data-driven farming)  เกษตรกรนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับใช้ในการวางแผนการทำงาน เพื่อประเมินปัจจัยทางการเกษตรต่างๆ ตลอดจนทำนายความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงการผลิต ผ่านระเบียบวิธีวิจัยและสถิติอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเปิดจากแหล่งอื่นๆ ทำให้เกิดความแม่นยำในการทำการเกษตร ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และสอดคล้องต่อความต้องการของตลาด

  1. พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)เกษตรกรมีการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่การเกษตรนั้นๆ โดยคิดค้นนวัตกรรมเครื่องมือที่ทำให้เกิดการนำพลังงานมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต และลดต้นทุนจากการใช้พลังงานในขั้นตอนอื่นๆ
  2. ควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี (Bio-pesticides)ถือเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมขึ้นในปัจจุบัน โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับงานวิจัยที่เกษตรกรคิดขึ้น ทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัยและลดต้นทุนจากสารเคมีได้ เช่น การคิดค้นปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อราไมคอร์ไรซาและเชื้อไรโซเบียม ช่วยในการเจริญเติบโตและป้องกันโรคพืชที่เกิดขึ้น

จากเทรนด์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว พบว่ามีจุดร่วมสำคัญคือการใช้ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงข้อมูล” เป็นฐานของการทำการเกษตร ตั้งแต่การวางแผน การวิเคราะห์ตลาด การเพาะปลูก การแก้ปัญหาโรคพืช ตลอดจนการส่งต่อถึงมือผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเกษตรไทย โดยเฉพาะวิธีคิดและทักษะ พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย ตอกย้ำอุดมการณ์สำนึกรักบ้านเกิด

นางสาวภาณี บุณยเกื้อกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) กำหนดว่า“เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” โดยเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming)

สำหรับปี 2561 เป็นปีแห่งการยกระดับคน การบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าเกษตร สู่เกษตร 4.0 กล่าวคือ เกษตรกรมีส่วนในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-based economy) โดยเกษตรกรต้องมีรายได้มากขึ้นและเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการด้านการเกษตร (Entrepreneur) มากขึ้น เพื่อไปสู่การเป็น Smart Enterprisesและ Startups ที่มีศักยภาพสูงต่อไป

“การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มุ่งเน้นให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร มีการจัดทำแผนการผลิตรายบุคคล (Individual Farm Production Plan – IFPP) ในการวิเคราะห์ กำหนดแผนการผลิตของตนเอง เพื่อไปสู่การผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทำให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสม เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นตามไปด้วย ทำให้การผลิตทางการเกษตรในลักษณะ smart agriculture เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและสร้างความอยู่ดีมีความสุขได้อย่างแท้จริง” นางสาวภาณีกล่าว

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เกษตรแบบครบวงจร” โดยเน้นการใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ Thailand 4.0 ซึ่งเกษตรกรต้นแบบทั้ง 10 ท่านปีนี้ มีคุณลักษณะโดดเด่นในเรื่องทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน แรงงาน ทุน ตลอดจนการเพาะปลูกและแปรรูปสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อยู่บนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์การเกษตรให้มีคุณภาพมากขึ้น

“นอกจากนี้ ยังมีทักษะความเป็นเกษตรกรมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และนำมาใช้ในการบริหารจัดการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนการเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรสมัยใหม่ รู้จักการวางแผนธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างการตลาดนำการผลิต พร้อมแบ่งปันบทเรียนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่เกษตรกรทั่วไป มูลนิธิฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะปีนี้ นอกจากเราจะได้เกษตรกรต้นแบบ 10 ท่านที่เป็นคนเก่ง เรายังได้เกษตรกรที่มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกรอย่างยิ่ง พร้อมคำนึงถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” นายบุญชัย กล่าว

รายชื่อผู้ชนะเลิศ โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2560

จากการพิจารณาของคณะกรรมการ ได้ตัดสินให้เกษตรกรหัวคิดแบบนักวิจัย นางสาวจิราวรรณ คำซาว เกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ชนะเลิศโครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยชูจุดเด่นด้าน “นวัตกรรม” พัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยนำความรู้ที่เรียนในระดับปริญญาเอก มาต่อยอดพัฒนาปุ๋ยชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี สร้างแบรนด์ของตัวเอง ทั้งยังใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด ทำให้ผู้บริโภคตรวจสอบที่มาของสินค้าได้ นอกจากนี้ ยังรวมกลุ่มกับวิสาหกิจชุมชนกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นที่อยู่

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายพิเชษฐ์ กันทะวงศ์ เกษตรกรผู้เพาะปลูกเมล่อน ภายใต้แบรนด์โอโซนฟาร์ม จากจังหวัดเชียงราย โดยยึดหลักเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชโดยไม่พึ่งสารเคมี เป็นทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของผู้บริโภค ภายใต้การบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพผลผลิตที่ยึดมั่นตามมาตรฐานหลักการทำเกษตรที่ดีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (GAP) นอกจากนี้ ยังสร้างแบรนด์ด้วยการตลาดออนไลน์ผ่านเฟสบุกแฟนเพจ โดยมีผู้ติดตามกว่า 42,000 คน และพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากเมล่อนอีกหลายรายการ

รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวสิริพร เที่ยงสันเที้ยะ เกษตรกรยุคดิจิทัล ผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่จากไร่พวงทรัพย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนาในอดีตที่ใช้สารเคมีอย่างหนักในการกำจัดศัตรูพืช มาเป็นการทำนาแบบปลอดสารพิษ เพราะเล็งเห็นว่าการรับประทานข้าวที่ปลูกโดยสารเคมีนั้น ไม่ต่างจาการรับประทานข้าวอาบยา ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ผสานกับภูมิปัญญาไทย โดยประยุกต์การตากข้าวแบบธรรมชาติร่วมกับเทคโนโลยีการสีและบรรจุหีบห่อด้วยเครื่องสุญญากาศ ทำให้การเก็บรักษามีอายุที่ยาวนานขึ้น

Android News11 นาที ago

Nothing Phone (3) ทดสอบผ่าน Geekbench แล้ว ยืนยันใช้ขุมพลัง SD 7s Gen 3 และรันบน Android 15

Nothing เตรียมเผยโฉม...

Android News32 นาที ago

แกร่งเกินต้าน! realme C75 มอบฟีเจอร์ทนน้ำทนฝุ่นระดับ IP69 หนึ่งเดียวในเซกเมนต์ พร้อมเปิดตัว 3 ธันวาคมนี้

realme แบรนด์สมาร์ตโ...

App&Game2 ชั่วโมง ago

Apple เผยรายชื่อแอปและเกม 45 รายการที่เข้ารอบสุดท้ายใน 2024 App Store Awards

ทุกๆ ปี Apple จะมอบร...

IT News2 ชั่วโมง ago

ขอแจ่มๆ !! Bloomberg เผย Sony พัฒนา PS5 แบบพกพา เล่นเกมเจนใหม่แบบโดยตรงได้เหมือนเครื่องใหญ่

ปีที่แล้ว Sony ได้เป...

LINE Idle Rangers LINE Idle Rangers
Android App2 ชั่วโมง ago

เปิดตัวเกมใหม่ LINE Idle Rangers เล่นฟรีทั้ง iOS และ Android

LINE GAME ปล่อยเกมให...

OPPO Find X8 Series OPPO Find X8 Series
News2 ชั่วโมง ago

มัดรวมไฮไลต์เด็ด OPPO Find X8 Series ซูมใกล้จากคอนเสิร์ต Rolling Loud Thailand 2024

มัดรวมไฮไลต์เด็ด OPP...

Android News4 ชั่วโมง ago

Xiaomi เริ่มพัฒนาสมาร์ทโฟนแบต 7000mAh พร้อมขุมพลัง Snapdragon 8s Elite

เรียกว่าแบตเตอรี่ในส...

Android News4 ชั่วโมง ago

มาแล้ว! ภาพเรนเดอร์ Galaxy A56 ปรับดีไซน์ใหม่ | ขอบจอบางลง | โมดูลกล้องใหม่ | Key Island

เริ่มมีข้อมูลอย่างต่...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก