Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

‘ช้อปปี้’ และ ‘วีซ่า’ ประกาศแผนความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะเวลา 5 ปี พร้อมเดินหน้าปลดล็อคศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Published

on

ช้อปปี้ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน และ ‘วีซ่า’ ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศแผนความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะเวลา 5 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้ใช้งานช้อปปี้ในการจับจ่ายและชำระเงินผ่านระบบของวีซ่า อีกทั้งยังมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์และโปรโมชั่นอีกมากมาย ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของช้อปปี้ ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของภาคประชาชนและภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ภายใต้ข้อตกลงในระดับภูมิภาคระหว่างสองพันธมิตร ‘ช้อปปี้’ และ ‘วีซ่า’ มีพันธกิจร่วมกันดังนี้

  • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ปรับตัวเข้าสู่การทำธุรกิจบนโลกดิจิทัลได้อย่างยั่งยืนบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ พร้อมใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลของวีซ่าควบคู่กัน
  • จัดโปรแกรมส่งเสริมการขายและแคมเปญการตลาด ที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้ (Awareness) ยอดขาย (Sales) และยอดผู้เข้าชมร้านค้า (Traffic) ให้แก่ร้านค้าในช่องทางออนไลน์
  • เปิดตัวบัตรเครดิตร่วมภายใต้การผนึกกำลังกับธนาคารชั้นนำในประเทศ
  • มอบทางเลือกในการชำระเงินวีซ่า ที่รวดเร็ว ง่าย และปลอดภัย ให้แก่ผู้ใช้งานช้อปปี้ทุกคน
  • สร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งสุดเอ็กซ์คลูซีฟให้กับผู้ใช้งานช้อปปี้ ด้วยสิทธิประโยชน์จากวีซ่า

ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ช้อปปี้มอบประสบการณ์การใช้งานที่คุ้มค่า สะดวกสบาย และปลอดภัยให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านระบบการชำระเงินของวีซ่า ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกสบายนำไปสู่การเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกัน วีซ่าจะใช้โอกาสจากความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อขยายจำนวนผู้ใช้งานไปยังกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และกลุ่มนักช้อปออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านฐานผู้ใช้งานที่มีอย่างมหาศาลบนแพลตฟอร์มช้อปปี้

เทอเรนซ์ แพง ประธานฝ่ายปฎิบัติการ ช้อปปี้ กล่าวว่า “ที่ช้อปปี้ เรามุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างระบบนิเวศน์อีคอมเมิร์ซของเราให้มีความพร้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน โดยเราได้ทำงานร่วมกับวีซ่า อย่างใกล้ชิด เพื่อนำระบบเครือข่ายที่กว้างขวางและปลอดภัยมาช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวเข้าสู่การทำธุรกิจบนโลกดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการที่อยู่นอกเมืองและพื้นที่ห่างไกล ในขณะที่กลุ่มผู้ซื้อเองยังจะได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดียิ่งขึ้น สะดวกสบายยิ่งขึ้น ผ่านสิทธิพิเศษต่างๆ ที่จะช่วยจูงใจในการจับจ่ายและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในองค์รวม ซึ่งช้อปปี้จะยังคงเดินหน้าสานต่อพันธกิจในฐานะแพลตฟอร์มที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคนี้เพื่อผู้คนในภูมิภาคนี้ และปลดล็อคศักยภาพของโลกดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีต่อไป”

นีล มัม หัวหน้าฝ่าย Merchant Sales & Acquiring ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก วีซ่า กล่าวว่า      “การที่ธุรกิจขนาดเล็กเดินหน้าปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลนั้นเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสการค้าและการขยายตัวทางธุรกิจ ในปัจจุบันวีซ่ามุ่งเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการทุกขนาดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ และที่ใดในโลก ให้เข้าถึงลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการระบบชำระเงินแบบดิจิทัลที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการหันมาพึ่งระบบการชำระเงินแบบไร้การสัมผัส รวมไปถึงจับจ่ายใช้สอยบนช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือกับช้อปปี้ในครั้งนี้นับเป็นย่างก้าวที่สำคัญของวีซ่าที่ตอกย้ำให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแรงกล้าที่มีต่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อให้ธุรกิจสามารถฟื้นฟูและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

ในอีกหลายเดือนต่อจากนี้ ช้อปปี้และวีซ่าจะเปิดตัวบัตรเครดิตร่วมกับธนาคารชั้นนำในแต่ละประเทศ โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ช้อปปี้ (ประเทศไทย) และ วีซ่า ได้จับมือกับธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวบัตรเครดิต ‘กสิกรไทย-ช้อปปี้ วีซ่า แพลทินัม การ์ด เชื่อมมิติทุกการช้อป’ โดยบัตรเครดิตนี้ชูจุดเด่นในเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมและการใช้งานที่สะดวกสบาย เพื่อเตรียมความพร้อมเหล่านักช้อปเข้าสู่มหกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ในช่วงปลายปี โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยให้วีซ่าสามารถเข้าถึงและขยายฐานผู้ใช้ในประเทศไทยได้มากขึ้น

ความร่วมมือในครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ ช้อปปี้สามารถเข้าถึง CyberSource บริการชำระเงินแบบครบวงจรในเครือของวีซ่า ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนการประมวลผลธุรกรรมและตรวจจับการฉ้อโกง เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับนักช้อปว่าจะได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่ไร้รอยต่อและสะดวกสบายสูงสุด

ภายในพ.ศ. 2573 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะก้าวสู่การเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจดิจิทัล และมีการคาดการณ์ว่าภายในพ.ศ. 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแตะ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอีคอมเมิร์ซจะเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก นอกจากนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ามากถึง 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน พ.ศ. 2568 ซึ่งเติบโตขึ้นจาก พ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่า 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]

ด้วยจำนวนของประชาชนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกันการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง และการเปลี่ยนสู่การบริการรูปแบบออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในพ.ศ. 2558 มีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าออนไลน์อยู่เพียง 49 ล้านคน ซึ่งจำนวนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเป็น 150 ล้านคนในพ.ศ. 2562 โดยที่มากกว่า 70% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในภูมิภาค เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางธนาคารได้[2] ดังนั้นการนำระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลมาใช้งานจึงช่วยผลักดันให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ช้อปปี้ จะยังคงใช้ความชำนาญและความเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมให้นักช้อป ผู้ประกอบการ และแบรนด์พันธมิตร สามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ช้อปปี้ได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นอย่างมาก อ้างอิงสถิติจาก App Annie ที่ชี้ว่าช้อปปี้ครองความแอปพลิเคชันอันดับหนึ่งในหมวดหมู่ช้อปปิ้ง ด้วยยอดผู้ดาวน์โหลดและยอดผู้ใช้งานรายเดือน (Monthly Active Users) รวมไปถึงระยะเวลาที่ผู้ใช้งานใช้แอปลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ที่มากที่สุด

Smart Review39 นาที ago

รีวิว OPPO Find X8 Series “มาตรฐานระดับแฟล็กชิปที่เหนือกว่า” ด้วยชิป MediaTek Dimensity 9400 | กล้อง Hasselblad ซูมเด่นที่สุดด้วย AI Telescope Zoom | AI ทรงพลัง

รีวิว OPPO Find X8 แ...

IT News2 ชั่วโมง ago

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 – 22 พ.ย. 67

ข่าวเด่นช่วงระหว่างว...

The first Nintendo Authorized Store by SYNNEX in Southeast Asia is now open The first Nintendo Authorized Store by SYNNEX in Southeast Asia is now open
ข่าวประชาสัมพันธ์3 ชั่วโมง ago

เปิดแล้ว Nintendo Authorized Store by SYNNEX แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซินเน็ค จับมือคอปเปอ...

NT GSB NT GSB
ข่าวประชาสัมพันธ์3 ชั่วโมง ago

NT อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าธนาคารออมสินใช้งานแอป MyMo ไม่เสียค่าเน็ตผ่าน 2 เครือข่ายมือถือ

NT อำนวยความสะดวกลูก...

AIS 5G strengthens its leadership with SEA COVERAGE, spanning both sides of the Thai sea AIS 5G strengthens its leadership with SEA COVERAGE, spanning both sides of the Thai sea
ข่าวประชาสัมพันธ์3 ชั่วโมง ago

AIS 5G โชว์แกร่งโครงข่ายที่ 1 ตัวจริง SEA COVERAGE ครอบคลุม 2 ฝั่งทะเลไทย

AIS 5G โชว์แกร่งโครง...

Bangkok Illustration Fair 2024 Bangkok Illustration Fair 2024
Apple News3 ชั่วโมง ago

Apple ร่วมกับ Bangkok Illustration Fair 2024 จัด Today at Apple เซสชั่นพิเศษ ที่ Central World เรียนรู้เทคนิควาดภาพบน iPad กับ 2 ศิลปินมากความสามารถ

Today at Apple ร่วมเ...

IT News3 ชั่วโมง ago

เปิดจอง Sony Alpha 1 II พร้อมเลนส์ฟูลเฟรม G Master รุ่น SEL2870GM

โซนี่ไทยเปิดจองกล้อง...

JBL TOUR PRO 3 JBL TOUR PRO 3
Wearable3 ชั่วโมง ago

ใหม่ JBL TOUR PRO 3 เปิดประสบการณ์เสียง ในแบบที่คุณไม่เคยได้ยินมาก่อนพร้อมยกระดับความบันเทิงของคุณไปอีกขั้น

JBL Tour Pro 3 หูฟัง...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก