Connect with us

IT News

ถอดวิธีคิดทรู ชูสูตรสมการ “Tech for Good” ดึงพลังนวัตกรรม สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อสังคมไทย

Published

on

ในโลกปัจจุบัน เราใช้ชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัญหาที่พบก็เปลี่ยนแปลง และนับวันมีความท้าทายมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

1. คนหาย

  • ปัจจุบัน เด็กหายลดลง กลับกลายเป็นการหายตัวไปจากบ้านของผู้สูงอายุที่มีเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มมากขึ้น ถึง 63% ด้วยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • จากสถิติพบว่าผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีจำนวนสูงขึ้นในทุกๆ ปี เฉลี่ยปีละหนึ่งแสนคน โดยในปี 2565 มีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 770,000 คน หรือประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศ

2. กลุ่มเปราะบาง อาทิ เด็กออทิสติก หรือเด็กพิเศษ ทั้งในไทยและทั่วโลก มีจำนวนบุคคลที่มีภาวะออทิซึมเพิ่มสูงขึ้น

  • ทั่วโลก : จำนวนบุคคลที่มีภาวะออทิซึมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการสำรวจในนานาประเทศพบว่า สัดส่วนเด็กที่มีภาวะออทิซึม เพิ่มขึ้นสูงในอัตรา 1: 59 นั่นหมายถึงว่าเด็ก 59 คน จะพบเด็กที่เป็นออทิสติก 1 คน
  • ประเทศไทย : เด็กทุกๆ 1,000 คน จะพบเด็กที่มีภาวะออทิสติก 6 คน ปัจจุบัน มีเด็กออทิสติกกว่า 300,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี
  • ปัญหาสำคัญ คือ “เด็กออทิสติก” อยู่ในระบบสวัสดิการรัฐเพียง 8% เท่านั้น (24,100 คน) ได้รับการจ้างงาน เลี้ยงดูตัวเองได้เพียง 200 คน หากเรานำพวกเขาเหล่านี้เข้าสู่ระบบ ได้พัฒนาศักยภาพ ดึงความเป็นอัจฉริยะในบางด้านของพวกเขาออกมา ก็จะช่วยสร้างคุณประโยชน์และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้

3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ความขัดแย้งและการปะทะกันระหว่างคนและช้างป่า (Human-Elephant Conflict: HEC) สถิติ 3 ปีล่าสุด (2564 – 2566) พบช้างป่าออกนอกพื้นที่มากกว่า 37,000 ครั้ง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพืชผลเกษตรกร รวมกว่า 3,800 ครั้ง และที่น่าวิตกคือในช่วง 12 ปี (2555 – 2567) มีผู้เสียชีวิตถึง 227 ราย บาดเจ็บ 198 ราย นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการที่ช้างป่าเข้าสร้างความเสียหายในพื้นที่เพาะปลูกมากถึง 156,066 ครัวเรือน

ถอดสมการ “Tech For Good” – ทรู ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติ

ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยทีม True Innovation มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนให้มีหัวใจนวัตกร ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ชูแนวคิด “Tech For Good”  ซึ่งเป็นสูตรสมการอันประกอบด้วย 3 หัวใจสู่ความสำเร็จ ได้แก่ Empathy + Insight + Technology เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้จริง พร้อมส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมและผู้บริโภคชาวไทยอย่างยั่งยืน

1. EMPATHY: เข้าใจชีวิต ใส่ใจทุกมิติ

พัฒนาเทคโนโลยีบนพื้นฐานความเข้าใจความต้องการของทุกชีวิต ทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ผ่านมุมมองที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และการรับฟังความต้องการจากทุกชุมชน

2. INSIGHTS: พลังข้อมูล นำสู่การเปลี่ยนแปลง

ตัดสินใจบนพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวม โดยบูรณาการข้อมูลจากเครือข่ายพันธมิตรและชุมชนเพื่อพัฒนาโซลูชันที่ตรงจุด

3. TECHNOLOGY: นวัตกรรมเพื่อทุกชีวิต

นำความเชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม ผสาน AI และ Big Data พัฒนาเป็นโซลูชันที่เข้าถึงได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงครอบคลุม 3 มิติสำคัญ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

1. มิติด้านสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน พื้นที่ป่าลดน้อยลงจากการนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่อาศัยและทำการเกษตรของคนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น  เมื่อพื้นที่ป่าลดลงแหล่งหากินของช้างก็ลดลงตาม ทำให้ช้างป่าบุกรุกออกนอกแนวป่าสู่พื้นที่ของชุมชนทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลให้มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง หรือ Human-Elephant Conflict (HEC) ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก

จากสถิติของ BBC Science Focus Magazine พบว่า ช้างป่าเป็นสัตว์ที่อันตรายที่สุดต่อชีวิต ติดอันดับ 8 ของโลก ซึ่งทั่วโลก มีจำนวนช้างป่ามากกว่า 52,000 ตัว คร่าชีวิตคนไปแล้วกว่า 600 ราย ในประเทศไทย มีช้างป่ามากกว่า 4,000 ตัว และจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 8% ในปี 2567 นอกจากนี้ ยังบุกรุกพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 21 ราย เสียชีวิต 23 ราย พื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัยเสียหายกว่า 156,066 ครัวเรือน

ความท้าทายในการป้องกันช้างป่าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

  • ช้างป่าออกหากินในเวลากลางคืน และเดินเร็วกว่าคนถึง 2 เท่า
  • พื้นที่เป้าหมายที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีมีพื้นที่กว้าง 969 ตร.กม. เทียบเท่าพื้นที่เกาะภูเก็ต 2 เท่า
  • จำนวนช้างมีมากกว่า 400+ ตัว
  • ระยะเวลาในการผลักดันช้างกลับเข้าป่า ต้องมีความรวดเร็วและทันท่วงที เทคโนโลยีการสื่อสารที่ระบุพิกัดและแจ้งเหตุแบบเรียลไทม์จึงสำคัญมาก
  • จำนวนด่านที่ประสบปัญหา เพิ่มขึ้นจาก 25 ด่าน ในปี 2560 เป็น 40 ด่าน ในปัจจุบัน

นวัตกรรม True Smart Early Warning System (TSEWS)’ เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า

ทรู คอร์ปอเรชั่น นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G, 4G และ AI ร่วมกับกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (Camera Trap) ทำงานร่วมกันในการวิเคราะห์ภาพช้างป่า หรือผู้พบเห็นแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน Smart Adventure แจ้งเตือนภัยแบบเรียลไทม์ ช่วยจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง ผ่านโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า หรือ True Smart Early Warning System (TSEWS) โดยร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ WWF ประเทศไทย ดำเนินการนำร่องในพื้นที่รอบเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561

  • ระบบ True Smart Early Warning System (TSEWS) แจ้งเตือนภัยจากช้างป่าที่บุกรุกเข้ามาในพื้นที่ไปแล้วกว่า 5,754 ครั้ง
  • ก่อนที่จะติดตั้งระบบ ช้างป่าสร้างความเสียหายมากถึง 74.5 %
  • หลังจากติดตั้งระบบในปี 2562 ลดความเสียหายลงเหลือ 0.36%

ทรู ร่วมกับพันธมิตรและเจ้าหน้าที่แห่งชาติกุยบุรี ร่วมกันวิเคราะห์โจทย์อย่างเข้าใจ ใช้เทคโนโลยีสู่การแก้ปัญหาผ่านนวัตกรรม 5C ได้แก่ 1.Camera Trap กล้องดำถ่ายภาพสัตว์ป่า 2.Cloud เก็บข้อมูลและระบบ 3.Core Tech ระบบเทคโนโลยี AI ตรวจสอบภาพช้างป่า 4.Cell-Site เชื่อมต่อการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G, 4G ของทรู และ 5.Call ที่เป็น walkie-talkie สะดวกและพกพาง่ายเพื่อการสื่อสารที่ทันท่วงที

2. มิติด้านสังคม

1) นวัตกรรม “Autistic Application”

ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย ร่วมกับนักพัฒนาระบบ โดยใช้เวลาเกือบหนึ่งปีในการศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกเกี่ยวกับเด็กออทิสติก โดยใช้เวลาพูดคุย คลุกคลี เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ และพบว่า

พฤติกรรมและข้อจำกัดของเด็กออทิสติก

  1. ปัญหาพัฒนาการด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดแปลก ไม่ส่งเสียง
  2. ปัญหาพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก นิ้วมือ แขน ขา
  3. ปัญหาพัฒนาการด้านการเข้าสังคม ไม่สบตา ดูเฉยเมย
  4. การเรียนรู้ช้า ต้องฝึกฝน ซ้ำๆ บ่อยๆ

จากสถิติของ มูลนิธิออทิสติกไทย พบว่า ประเทศไทยมีผู้เป็นออทิสติกมากกว่า 300,000 คน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี โดยในกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 5 ปีนี้ จะพบเด็กที่เป็นออทิสติก 1 : 161 คน ซึ่งคาดว่าทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน โดย 10% ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะในบางด้าน เช่น การวาดภาพหรือเล่นดนตรี ขณะที่ 20% มีไอคิวในระดับน้อยถึงปานกลาง สามารถเรียนร่วมและฝึกอาชีพได้ และที่เหลืออีก 70% ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ทรู คอร์ปอเรชั่น เชื่อว่า เด็กออทิสติกมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ หากได้รับการฝึกฝน ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยทรูปลูกปัญญา จึงร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารแอปพลิเคชันออทิสติก (Autistic Application) ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันทางการศึกษาที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กออทิสติก เปิดให้ดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รองรับ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งชุดแอปพลิเคชันออทิสติก ประกอบด้วย

  1. แอปพลิเคชัน Daily Tasks – ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก และเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้กิจวัตรประจำวัน เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ สระผม เป็นต้น
  2. แอปพลิเคชัน Trace & Share – ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก และเสริมสร้างทักษะวิชาการด้านการขีดเขียนลากเส้นต่างๆ และทักษะการเลียนเแบบ
  3. แอปพลิเคชัน Communication – ฝึกทักษะภาษาและการสื่อสาร และเสริมสร้างการเรียนรู้คำศัพท์ การผสมคำเพื่อสร้างประโยค รวมถึงการฝึกพูดออกเสียง

ตั้งแต่ปี 2557 – ปัจจุบัน 2567 (10 ปี) มียอดดาวน์โหลดกว่า 1.9 ล้านครั้งทั่วโลก โดยประเทศที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ ประเทศไทย สเปน และสหรัฐอเมริกา

จากผลสัมฤทธิ์ดังกล่าว ทรู ได้ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย ดำเนินการอบรมการใช้แอปพลิเคชัน Autistic ให้กับบุคคลออทิสติกและผู้ปกครองในเครือข่าย ตั้งแต่ปี 2559 โดยมีจำนวนผู้เข้าอบรมมากกว่า 22,256 คน ขณะที่ในปี 2566 มีผู้ใช้งานแอปนี้กว่า 52,148 รายในประเทศไทย

นอกจากนี้ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานแอปพลิเคชันออทิสติก 285 คน ทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบพัฒนาการที่สำคัญ โดยเด็กออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้ง 3 ด้าน โดยเฉลี่ย 20 เท่าตัว

  1. แอปพลิเคชัน Daily Tasks – เด็กออทิสติกก่อนมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถทำเองได้ทุกขั้นตอน เมื่อเทียบจากก่อนที่ได้รับการฝึกฝน (จากเดิม 1.8% เพิ่มขึ้นเป็น 24.5%)
  2. แอปพลิเคชัน Trace & Share – เด็กออทิสติกก่อนมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถทำเองได้ทุกขั้นตอน เมื่อเทียบจากก่อนที่ได้รับการฝึกฝน (จากเดิม 0.9% เพิ่มขึ้นเป็น 21.1%)
  3. แอปพลิเคชัน Communication – เด็กออทิสติกก่อนมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถสื่อสาร และทำเองได้ทุกขั้นตอน เมื่อเทียบจากก่อนที่ได้รับการฝึกฝน (จากเดิม 0.7% เพิ่มขึ้นเป็น 14.5%)

นอกจากที่ทรู ส่งเสริมให้เด็กออทิสติกได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพแล้ว  ยังสนับสนุนให้คนกลุ่มนี้ ได้ค้นพบความถนัด สามารถฝึกฝนตนเอง สร้างงาน สร้างอาชีพ ได้แก่

  1. แพลตฟอร์ม Screening Tools for Person with Special Needs (STS) – แพลตฟอร์มที่ช่วยคัดกรองบุคคลออทิสติกให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการ ผ่านเครือข่ายชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกทั่วประเทศ
  2. Autism Digital Learning Center ศูนย์การเรียนรู้ยุคดิจิทัล – พัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะพื้นฐาน ด้วย Virtual Reality (VR) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างทรู คอรปอเรชั่น มูลนิธิออทิสติกไทย และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. CP-True Autistic Vocational Center – ศูนย์ฝึกอาชีพเพื่อการทำงาน และร้านทรูคอฟฟี่ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
  4. Artstory Creative Hub – พื้นที่ต้นแบบของการสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียม และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด “Co-Creating Inclusive Society” โดยมีศิลปินออทิสติกเป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิคและทักษะทางศิลปะ
  5. ธนาคารชุมชนออทิสติก – แหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการส่งเสริมอาชีพ สร้างวินัยการออมเงิน เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับครอบครัวบุคคลออทิสติก

2) นวัตกรรมริสแบนด์ x คิวอาร์โค้ด โครงการหาย (ไม่) ห่วง

จากสถิติของมูลนิธิกระจกเงา พบว่า ทุกๆ 4 ชั่วโมง จะมีคนหาย 1 คน และในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา มีผู้แจ้งคนหายทั้งหมด 18,887 ราย พบตัวแล้ว 16,315 ราย หรือคิดเป็น 86% ของการแจ้งเหตุ และมี 2,232 รายที่ยังอยู่ระหว่างการติดตาม

ข้อจำกัดของอุปกรณ์ติดตามตัวแบบต่างๆ

  • อุปกรณ์ติด GPS แบบชาร์จ​ ต้องชาร์จให้แบตเตอรี่เต็มเพื่อการใช้งานอย่างต่อเนื่อง มีข้อจำกัดในเรื่องการขออนุญาตใช้ และต้นทุนที่สูง
  • นาฬิกาติดตามตัว หรือ อุปกรณ์สื่อสารใส่ซิม แต่ก็ขนาดใหญ่ และเป็นจุดสังเกต ซึ่งจะเป็นจุดล่อตาล่อใจ มิจฉาชีพ
  • Smart tag ห้อยคอ หรือติดตามเสื้อผ้า มีความยุ่งยากในการสแกน หากประชิดตัวเกินไป จะทำให้คนกลุ่มนี้หวาดระแวง
  • RFID แบบฝังผิวหนัง แต่จะต้องมีการฝังบ่อยๆ และต้นทุนที่สูงมาก

ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงร่วมกับมูลนิธิกระจก พัฒนาริสแบนด์พร้อมด้วยคิวอาร์โค้ด สวมใส่ข้อมือ​เพื่อผู้ป่วยหลงลืม ผู้สูงอายุ​ที่มีความเสี่ยงพลัดหลงและหายออกจากบ้าน ​มีจำนวนผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 3,000 คน ใน 4 ปีที่ผ่านมา มีคนสูญหายได้กลับคืนสู่บ้านแล้วกว่า 40 คน กลับคืนสู่บ้าน 15 คน (H1/ 2567)

3. มิติด้านเศรษฐกิจ

ทรู-ดีแทค มีฐานลูกค้า 49.3 ล้านราย (ข้อมูล ณ ไตรมาส 3/2567) มีลูกค้าติดต่อเข้ามาเพื่อขอใช้บริการมากกว่า 2 ล้านครั้งต่อเดือน ทรู​ คอร์ปอเรชั่น ยกระดับการให้บริการลูกค้า ด้วย นวัตกรรม มะลิ Gen AI ที่กำลังเข้ามาปฏิวัติบริการลูกค้าให้ได้รับบริการด้วยความรวดเร็ว ผ่านบทสนทนาที่มีความเป็นธรรมชาติ บนพื้นฐาน Future Vision ที่ได้รับการพัฒนาจาก Voice จนมาเป็น มะลิแบบครบวงจร ผ่านการออกแบบที่เหมาะสมกับช่องทางที่แตกต่างกันทั้ง Voice / Chat / App / AI ที่ผ่านมา มะลิ chatbot ทำหน้าที่รับมือ แก้ไขปัญหาให้ลูกค้าแล้วกว่า 2 ล้านครั้งต่อเดือน ซึ่ง 90% ของจำนวนดังกล่าว มะลิสามารถจัดการปัญหาให้ลูกค้าได้ทั้งหมด มีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ที่เป็นมนุษย์รับเรื่อง

ทรู องค์กรแห่งนวัตกรรมที่มีความเชื่อว่า ทุกคนเป็นนวัตกรได้

ทรู คอร์ปอเรชั่น เชื่อว่า “คน คือกลไกสำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในองค์กร ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พนักงานทรู สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมไปแล้วกว่า 600 ผลงาน มีพนักงานที่เป็นนวัตกรกว่า 4,000 คน สามารถยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานได้กว่า 100 ผลงาน ประเมินเป็นรายได้และลดต้นทุนได้กว่า 4,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรทรูให้ได้ 50% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด พร้อมจดสิทธิบัตรนวัตกรรมให้ได้ 200 ผลงาน ภายในปี 2030

True Innovation สร้างนวัตกรรมจาก 3 มิติ

  1. Closed Innovation เน้นสร้างวัฒนธรรมพนักงานทรู คิดสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม จนไปสู่ สินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นได้
  2. Open Innovation เน้นสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา พันธมิตรธุรกิจ เพื่อต่อยอดนวัตกรรม
  3. สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สร้างเยาวชน คนรุ่นใหม่ เพื่อเติบโตเป็น สตาร์ทอัพ พัฒนาธุรกิจที่มีศักยภาพ

นอกจากนี้ ในช่วง 2 ปีนี้ เรามีกิจกรรมร่วมส่งเสริมพัฒนาเยาวชนไทย เพิ่มเติบโตเป็น นวัตกร เป็นสตาร์ทอัพในอนาคต กับกิจกรรม Hackathon และการ Pitching ต่างๆ มีเยาวชนให้ความสนใจร่วมบ่มเพาะกว่า 3,000 คน รวมตัวกันเป็นสตาร์ทอัพได้กว่า 400 ทีม น้องๆ เหล่านี้ มีความมุ่งมั่น และความคิดที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

กว่า 14 ปี ที่หน่วยงาน True Innovation ได้มุ่งมุ่น ทุ่มเทพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค และสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทย ซึ่งได้รับการยอมรับ พิสูจน์ด้วยรางวัลทั้งในระดับโลกและระดับประเทศที่มอบให้แก่ระดับองค์กร และผลงานที่ทรูได้สร้างสรรค์ขึ้น อาทิ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รางวัลจากเวที World Invention Innovation Contest ประเทศเกาหลีใต้ Moscow International Inventions and Innovative Technologies Salon (ARCHIMEDES) สหพันธรัฐรัสเซีย The International Exhibition of Inventions Geneva ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ The International Invention & Design Competition (IIDC) ฮ่องกง และ The International Invention & Innovation in Canada (iCAN) ประเทศแคนาดา เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ True Innovation เดินหน้าพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ไม่สิ้นสุด ทั้งนี้ “ทรู คอร์ปอเรชั่น” เทคคอมปานีของไทย พร้อมที่จะนำศักยภาพ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม มาสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทย ส่งมอบ “Tech For Good” เพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อเนื่องต่อไป

Advertisement
ASUS ROG COMMART TechXPro 2024 ASUS ROG COMMART TechXPro 2024
News11 นาที ago

ASUS และ ROG ชวนช้อปงาน COMMART TechXPro โปรพิเศษส่งท้ายปี 2024 รับส่วนลดสูงสุด 10,000 บาท พร้อมของแถมจัดเต็ม!

เอซุส (ประเทศไทย) แล...

IT News14 นาที ago

ทรู คอร์ปอเรชั่น ชู Tech For Good นำพลังเทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิต สานความร่วมมืออุทยานแห่งชาติกุยบุรีแก้ปัญหาระดับโลกความขัดแย้งคน-ช้างป่า

ทรู คอร์ปอเรชั่น จับ...

IT News28 นาที ago

ถอดวิธีคิดทรู ชูสูตรสมการ “Tech for Good” ดึงพลังนวัตกรรม สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อสังคมไทย

ในโลกปัจจุบัน เราใช้...

Android News8 ชั่วโมง ago

เผยผลทดสอบ Galaxy S25+ บน Geekbench ใหม่ ใช้ชิป SD 8 Elite For Galaxy เร็วสุด 4.47GHz !!

การทดสอบของ Samsung ...

Android News10 ชั่วโมง ago

เผยราคา realme Neo7 ยืนยันไม่เกิน 12,000 บาท พร้อมเผยสเปคหลักเพิ่มเติม

realme ประเทศจีนเตรี...

Android Tips12 ชั่วโมง ago

[How To] วิธีการลบแคชทุกแอปทั้งหมดบนสมาร์ทโฟน Samsung Galaxy แบบรวดเดียว คืนพื้นที่ว่างให้เครื่องอีกเพียบ

เชื่อว่าหลายคนอาจจะไ...

Android News13 ชั่วโมง ago

ปฏิเสธข่าวลือ…Samsung ยืนยัน Exynos 2600 ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ไม่ได้ยกเลิกตามที่ลือ!?

ข่าวลือของชิป Exynos...

Android News13 ชั่วโมง ago

แกะกล่องพรีวิว realme C75 สมาร์ทโฟนกันน้ำ กันกระแทกไร้กังวล พร้อมมาตรฐาน IP69 l หน้าจอ 90Hz

สมาร์ตโฟนตัวกลางของ ...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก