IT News
กรมสรรพากรปิ๊งไอเดีย เก็บภาษีซือ-ขายแอพฯบนมือถือ !!!
สรรพากรไล่บีเก็บภาษีซือ-ขายแอพฯ ชี้มูลค่าตลาด 2 หมื่นล้าน-หวังปั๊มรายได้ 1.4 พันล้านบาท
กรมสรรพากร กำลังศึกษาการจัดเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายแอพพลิเคชั่น จากโทรศัพท์ประเภทสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงทุกปี แต่การซื้อขายดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการเก็บภาษีตามข้อกำหนดของสรรพากรที่ กำหนดว่าหากมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ภาษีเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องศึกษาว่าจะจัดเก็บอย่างไร เพราะผู้ขายบางรายไม่ได้ตั้งบริษัทในไทย คงต้องนำเรื่องนี้ไปหารือในการประชุมด้านภาษีระหว่างประเทศ อาทิ การประชุมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างอธิบดีสรรพากรของประเทศใน กลุ่มเอเชียแปซิฟิก (SGATAR) ที่มีสมาชิกกว่า 16 ประเทศ
“ประเทศที่มีการเก็บแวตจากการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น อาทิ ในสหรัฐ ซึ่งคงต้องศึกษาว่าในสหรัฐจัดเก็บอย่างไร รวมถึงต้องหารือกับประเทศต่างๆ ด้วยว่าแนวทางการจัดเก็บภาษีควรเป็นอย่างไร โดยจะผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ” นายสุทธิชัย กล่าว
นายสุทธิชัยกล่าวว่า กรมได้ปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยล่าสุดได้พัฒนาการเสียภาษีผ่านแอพพลิเคชั่นของสมาร์ตโฟน ซึ่งสามารถยื่นแบบรวมถึงการเสียภาษีผ่านมือถือ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีพร้อมกันนี้เตรียมปรับโฉมสำนักงาน สรรพากรทั่วประเทศ ให้ทันสมัย ทำให้ผู้เสียภาษีอยากเข้ามาใช้บริการ
นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วน บริษัท PWC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์คูเปอร์ส) กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีแอพพลิเคชั่นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้พัฒนาอยู่อีกประเทศหนึ่ง เซิร์ฟเวอร์อยู่อีกประเทศหนึ่ง ผู้ขายอยู่อีกประเทศหนึ่ง ซึ่งกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน
รายงานข่าวจากวงการไอที เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดรวมของแอพพลิเคชั่นกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าปีนี้น่าจะสูงถึงปีละ 2 หมื่นล้านบาท หากมีการเก็บแวต ทำให้รัฐมีรายได้ไม่น้อยกว่าปีละ 1,400 ล้านบาท ตรงนี้ยังไม่รวมกับภาษีเงินได้ ซึ่งธุรกิจแอพพลิเคชั่นเติบโตทุกปีตามความนิยมใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนและแอนดร อยด์
ทั้งนี้ ในไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนและแอนดรอยด์รวมกันถึง 16 ล้านเครื่อง โดยมียอดดาวน์โหลดแอพ พลิเคชั่นเฉลี่ย 1-2 ครั้ง/เดือน และในจำนวนนี้เป็น แอพพลิเคชั่นที่ต้องเสียเงินซื้อเฉลี่ยกว่า 1 ล้านครั้ง/เดือน ซึ่งเคยมีผลสำรวจธุรกิจแอพพลิเคชั่นทั่วโลกพบว่ามีมากถึง 1.5 ล้านแอพพลิเคชั่น มีมูลค่าสูงถึง 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.5 แสนล้านบาท
ที่มา : ข่าวสด