IT News
AIS 5G พร้อมให้บริการทั้งด้าน Platforms และ Solutions ร่วมกับทีมพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ติดปีกภาคการผลิต-อุตสาหกรรม เสริมขีดความสามารถในทุกมิติ
ศักยภาพของโครงข่าย 5G ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเสริมขีดความสามารถการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในหลายมิติ ทั้งในส่วนของภาคการผลิต โรงงานเครื่องจักร โซลูชัน หรือแม้แต่กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ โดยที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่พร้อมเชื่อมต่อการทำงานของภาคอุตสาหกรรม เสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งในระดับนโยบายการขับเคลื่อนกับภาครัฐ และในระดับของการพัฒนาโซลูชันในด้านต่างๆกับภาคเอกชน ทำให้วันนี้ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทาย AIS จึงพร้อมที่จะติดปีกภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะจาก AIS 5G ทั้งด้าน Platforms และ Solutions
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า “ด้วยเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนของ AIS ต่อการนำศักยภาพของ 5G มาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ จากการเดินหน้าลงทุนพัฒนาขีดความสามารถของเทคโนโลยีโครงข่ายอย่างต่อเนื่องทำให้วันนี้โครงสร้างพื้นฐานหรือ Digital Infrastructure มีความสมบูรณ์ พร้อมให้บริการกับภาคอุตสาหกรรม โดยยึดแนวทางการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของ Digital Ecosystem เพราะเราเชื่อว่าความสามารถและพลังของพาร์ทเนอร์จะช่วยส่งเสริมธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นได้แบบทวีคูณ”
“เริ่มจากความพร้อมในระดับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศ ที่ AIS ได้ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa พัฒนา 5G Innovation Center บนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายในพื้นที่ตั้งของ Thailand Digital Valley อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค โดยเราได้นำเอาศักยภาพ 5G ที่ครอบคลุมแล้ว 100% ในพื้นที่ EEC ที่มีการใช้งานมาเปิดโอกาสให้กลุ่ม Digital Tech ซึ่งมีความต้องการจะทดสอบบริการบนเครือข่าย AIS 5G อันจะทำให้เกิดการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ โดยพร้อมที่จะเปิดตัวในปี 2022”
นายธนพงษ์ อธิบายต่อไปอีกว่า AIS ยังทำงานร่วมกับภาครัฐอย่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีแผนงานสนับสนุน 5G infrastructure สำหรับเป็นสนามทดสอบ 5G (5G testbeds) เพื่อเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิต รับการมาถึงของเทคโนโลยี 5G ณ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางนัวัติกรรมของภาคอุตสาหกรรมการผลิต Smart Manufacturing แห่งใหม่ในพื้นที่ EEC อีกทั้ง AIS ยังได้ทำงานร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม และสมาคมต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการร่วมพัฒนาธุรกิจดิจิทัลของประเทศ อาทิ สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และ สมาคมไทยไอโอที (TIoT) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมองเห็นประโยชน์จากการลงทุนด้านเทคโนโลยี สร้างธุรกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้”
นอกเหนือจากการเดินหน้าตามแผนงานการขับเคลื่อนของประเทศแล้ว ในบริบทของการทำงานจริง AIS ยังได้จับมือร่วมกับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งในด้านของ Platforms และ Solutions ชั้นนำระดับโลกมากมาย และยังเข้าร่วมมือกับหน่วยงานระดับภูมิภาคอย่างเช่น GSMA ในการร่วมก่อตั้ง APAC 5G Industry Community และร่วมมือกับอีกหลายองค์กร อาทิเช่น 5GEC (5G Enterprise solution Consortium) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการทำงานและนำเสนอบริการที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง และยังประกาศความพร้อมในการให้บริการต่างๆ ดังนี้
• MEC (Multi-access Edge Computing) เป็นบริการที่นำเอาศักยภาพในการประมวลผล และการจัดการกับข้อมูลมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์มากขึ้น เพื่อช่วยลดปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ และ Cloud อีกทั้งยังช่วยลดความหน่วง (latency) เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยทาง AIS พร้อมให้บริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกที่มาร่วมกันมากมายทั้ง Huawei, HPE, Microsoft และ ZTE ซึ่งให้บริการได้แล้วใน 2 โมเดล คือ Shared MEC และ Dedicated MEC ที่จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหรือ Data Privacy
• 5G Private Network เป็นบริการเครือข่าย 5G ส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะของแต่ละธุรกิจ และสามารถทำ Network Slicing ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะของ 5G ทำให้สามารถสร้างโครงข่ายส่วนบุคคลเสมือนถึงระดับคลื่นความถี่ จึงเชื่อมต่อภายในองค์กรได้อย่างเป็นส่วนตัวแม้จะใช้เครือข่ายแบบไร้สาย นอกจากนี้ยังรองรับ use cases ที่หลากหลายในสถานที่เดียวกัน โดย 5G Private Network จะบริการใน 3 รูปแบบ ได้แก่
1. Virtual private network จะเป็นใช้อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ แชร์กัน สามารถให้บริการที่ทุกพื้นที่ที่มีเครือข่าย 5G ทั่วประเทศ โดยสามารถทำ Network Slicing เพื่อรองรับ use cases ที่หลากหลายในสถานที่เดียวกันได้
2. Zoning virtual private network จะเป็นการให้บริการในพื้นที่ zone ซึ่งเฉพาะเจาะจง เช่น ในพื้นที่ EEC เพื่อให้การรับส่งข้อมูลมีความคล่องตัวและมีความหน่วงในการทำงานต่ำ (Low latency) เนื่องจากอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกัน
3. Dedicated private network จะเป็นการให้บริการโดยการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงาน ซึ่งโดดเด่นทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวสูง หรือ High Privacy, สามารถบริหารจัดการได้คล่องตัว, และทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลที่เก็บอยู่ได้อย่างรวดเร็ว
• Smart Manufacturing Solutions ที่พร้อมส่งมอบบริการที่หลากหลายมากที่สุดในไทย อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการผลิต การทำงานระยะไกลสำหรับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ผ่านการทำงานร่วมกับ Mitsubishi, Omron, TKK และล่าสุดร่วมกับ Schneider ผู้นำด้านโซลูชันการผลิตอัจฉริยะที่จะมาเสริมการทำงานภายใต้แพลตฟอร์ม EcoStruxture ซึ่งประกอบไปด้วย 3 แอปพลิเคชั่นได้แก่ Machine Advisor ซึ่งสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆได้ว่าทำงานอย่างไร สำหรับ Augmented Operator Advisor ใช้ AR เทคโนโลยีในการดูข้อมูลต่างๆ และ Secure Connect Advisor ให้คำแนะนำผู้ที่ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย