Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

AIS ควงแขน NIA-สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ริเริ่มสร้าง “ย่านนวัตกรรมอารีย์” ก้าวสู่ “เมืองฉลาดรู้” เตรียมเชิญพาร์ทเนอร์ย่านอารีย์ ร่วมยกระดับวิถีความเป็นอยู่ สู่ชุมชนคลาสสิคร่วมสมัย สอดรับโลกวิถีใหม่ ผ่านแพล็ตฟอร์มดิจิทัล และ 5G

Published

on

นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัทเอไอเอสและอินทัช กล่าวว่า “การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศน์ด้านการอยู่อาศัยด้วยนวัตกรรม เพื่อให้มีความพร้อมที่จะส่งเสริมวิถีการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่กลายเป็นเรื่องหลักที่ผู้อยู่อาศัยในชุมชน ต่างต้องให้ความสำคัญและร่วมแรงร่วมใจกันวางรากฐาน เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์รอบตัวที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น โรคระบาด, สังคม, การเมือง, ฯลฯ จึงเป็นที่มาซึ่งทำให้ เอไอเอส ในฐานะสมาชิกของย่านอารีย์ และ ถนนพหลโยธิน มองเห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของสมาชิกในย่านนี้ ที่ผ่านมากว่า 2 ปี จึงได้ชักชวนพันธมิตร องค์กรต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย โดยเริ่มที่การดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ กรีนพหลโยธิน ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบของความร่วมมือที่จะปลูกจิตสำนึกการจัดเก็บขยะ Electronics หรือ E-Waste พร้อมส่งต่อองค์ความรู้เพื่อทำให้ย่านอารีย์และพหลโยธินกลายเป็นพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน”

“วันนี้เราจึงขออาสาทำหน้าที่เป็นแกนกลางพร้อมนำจุดแข็งของเอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider มาร่วมเป็นหนึ่งในดิจิทัล แพล็ตฟอร์มอีกครั้ง ในการร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA   ริเริ่มโครงการ “ย่านนวัตกรรมอารีย์ – Ari Innovation District” พร้อมเชิญพันธมิตรในย่านอารีย์-พหลโยธิน-สะพานควายอีกกว่า 20 รายร่วมในโครงการ เพื่อพัฒนาพื้นที่ย่านอารีย์ให้เป็น ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เอื้อให้เกิดระบบนิเวศน์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ อารีย์ 2025  ก้าวสู่เมืองฉลาดรู้ที่สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคใหม่”

ด้าน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า  “NIA ที่ได้ริเริ่มและพัฒนา “ย่านนวัตกรรม” มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้เป็นแพลตฟอร์มที่เอื้อให้เกิดการรวมตัวของนโยบาย กระบวนการ บุคคล และเทคโนโลยี และกลายมาเป็น “ระบบนิเวศนวัตกรรม” เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมบนฐานการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ซึ่งได้ขยายการดำเนินงานในการพัฒนาย่านนวัตกรรมตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เช่น ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ย่านนวัตกรรมไซเบอร์เทค (ปุณณวิถี) ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) ย่านนวัตกรรมอู่ตะเภา-บ้านฉาง (จังหวัดระยอง) เป็นต้น”

“ทั้งนี้ NIA ยังเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ย่านอารีย์ (พญาไท) ซึ่งนอกจากจะเป็นเสมือนศูนย์รวมของการดำเนินชีวิตที่ครบถ้วน เช่น แหล่งที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร การค้า โรงพยาบาล และ Co working Space แล้วยังมีการกระจุกตัวของบริษัทชั้นนำ ผู้ประกอบการ และทรัพยากรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) การพัฒนาเครื่องจักรกลขั้นสูง (Robotics) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Immersive) และการเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลด้วยระบบอินเทอร์เน็ต (IoTs) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำพาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ รวมถึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง จึงมีแนวคิดในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบนิเวศนวัตกรรม และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่เชิงนวัตกรรม สำหรับความร่วมมือในการพัฒนา “ย่านนวัตกรรมอารีย์” แห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งย่านที่ขับเคลื่อนจากความต้องการของภาคเอกชนที่เห็นความสำคัญของนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีต่อระบบนวัตกรรมไทยในอนาคต” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติม

ย่านนวัตกรรมอารีย์-Ari Innovation District มีเป้าหมายในระยะเวลา 5 ปี โดยมี วัตถุประสงค์หลัก คือ

1.   เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ของนวัตกรรมในย่านอารีย์ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ และชุมชน

2.      เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่าง ๆ ที่พันธมิตรในภาคีเครือข่ายมี เช่น พื้นที่ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยี กระบวนการทำงาน ระบบงาน บุคลากร รวมถึงองค์ความรู้ที่สามารถแบ่งปันได้

3.      เพื่อพัฒนาย่านอารีย์ให้เป็นพื้นที่ทดสอบทดลองโซลูชั่นใหม่ ๆ ( Sandbox ) ด้านการพัฒนาเมือง ด้วยเทคโนโลยี AI, Robotic และ Immersive & IoT สำหรับเตรียมความพร้อมก่อนนำไปให้บริการในเชิงพานิชย์

4.   เพื่อร่วมจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเป้าหมายด้านนวัตกรรมของพันธมิตรในภาคีเครือข่ายพร้อมเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวได้

5.      เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองโดยการเชื่อมโยง 3 ระดับ คือ Local Link การเชื่อมโยงบุคคล-สิ่งของ เข้ากับระบบ, International Link ร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกในการร่วมถ่ายทอดข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพัฒนาโซลูชั่น, Future Link ย่านนวัตกรรมอารีย์ จะส่งเสริมนวัตกรรมเมืองอนาคต เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แสดงความคิดเห็นร่วมกันออกแบบ วิจัย และพัฒนา ต้นแบบเมืองแห่งอนาคต

โดยนอกจากการเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง ARID นี้แล้ว เอไอเอสยังได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรหลัก กับ NIA ในโครงการ Innovation Thailand Alliance ใน concept ”พลิกฟื้นประเทศไทย ด้วยนวัตกรรม” อีกด้วย

            นางสาวกานติมา กล่าวในตอนท้ายว่า “นี่คือเจตนารมย์ของเรากับภารกิจคิดเผื่อเพื่อคนไทย ในการนำเอาศักยภาพ พร้อมพลังจากพาร์ทเนอร์ที่มีเจตนารมณ์เดียวกันมาร่วมพัฒนาสังคมและประเทศให้เดินหน้าต่อได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน”

Advertisement
Apple News16 นาที ago

Mark Gurman เผย Apple กำลังพัฒนา Doorbell ของตัวเองและรองรับ Face ID

เราได้ยินข่าวลือของ ...

Android News1 ชั่วโมง ago

Apple โดนอีก…EU ต้องการให้ Apple เปิดให้ AirDrop และ AirPlay ใช้งานร่วมกับ Android และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้!?

เรามักจะได้เห็นข่าวค...

Wearable2 ชั่วโมง ago

หลุดข้อมูล Galaxy Ring ขนาดใหญ่ 2 ไซส์ใหม่ 14 และ 15 คาดเปิดตัวต้นปีหน้า

Samsung Galaxy Ring ...

Android News2 ชั่วโมง ago

โอ้โหแจ่ม! ลือสเปค Galaxy S25 Slim เพิ่มเติม ได้ชิป Snapdragon 8 Elite | กล้อง Tele 50MP | แบตฯ 5000mAh!?

Galaxy S25 Slim เป็น...

Apple News3 ชั่วโมง ago

ของใหม่ !! HomePod พร้อมหน้าจอ 7″ ชิป A18 และรันบน homeOS ลุ้นเปิดตัวปีหน้า

DigiTimes ได้เผยข้อม...

Smart Review4 ชั่วโมง ago

รีวิว HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนจอพับที่ผสมผสานความสวยงามและเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ด้วยหน้าจอ HUAWEI X-True | กล้อง Ultra Aperture | ชิป Kirin รุ่นล่าสุด!

รีวิว HUAWEI Mate X6...

Android News4 ชั่วโมง ago

เปิดราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนเรือธงจอพับ 66,990 บาท พร้อมโปรโมชั่นมากมาย เปิดจอง 28 ธ.ค.นี้!

หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ ...

Android News4 ชั่วโมง ago

หลุดสเปคแบบครบ ! OnePlus Ace 5 Series (13R) ก่อนเปิดตัวทางการ 26 ธ.ค. นี้ที่จีน

OnePlus Ace 5 Series...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก