
“วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะ SME ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ ดังนั้น เอไอเอสต้องให้ความสำคัญและจัดสรรรบริการและเทคโนโลยีที่จะนำให้พวกเขาอยู่รอด” หนึ่งในคำกล่าวสั้นๆ จาก นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของ AIS SME ต้อนรับศักราชใหม่ในปี 2564 เป็นอาวุธให้ผู้ประกอบการ SME ได้เลือกใช้อย่างครบเครื่อง กรุยทางสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

การก้าวสู่ครอบครัวเอไอเอส นายธนพงษ์ ผู้ที่มีผลงานในธุรกิจและองค์กรชั้นนำ ทั้งในบริษัทที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลก หรือบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการด้านพลังงานและความยั่งยืนขององค์กรที่หลากหลาย มาเป็นระยะเวลา 29 ปี กับทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการจัดการทั่วไป การบริหารธุรกิจ การขายและการตลาด ในบริษัทชั้นนำ อาทิ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้ บทบาทของนายธนพงษ์ ในเอไอเอส สำหรับการดูแลรับผิดชอบในการผลักดันกลยุทธ์ และบริหารธุรกิจเชิงพาณิชย์ในกลุ่มลูกค้าองค์กร และการสร้างความร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ภายในอุตสาหกรรมองค์กรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและเร่งให้เกิดแนวทางในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อนำพาเอไอเอสและพันธมิตร ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และเป็นกระบวนการ Digital Transformation ได้อย่างแข็งแกร่ง

นายธนพงษ์ กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ในการทำงาน จะแบ่งบริการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Telecom Services
ซึ่งเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการติดต่อสื่อสาร และเครือข่ายขององค์กรต่างๆ จะซึ่งเน้นเรื่องคุณภาพที่ดีสำหรับองค์กร และการครอบคลุมพื้นที่ของทั้งเครือข่ายไร้สายและสายใยแก้วนำแสง และด้านการบริการ Digital Enabler สำหรับธุรกิจต่างๆ จะนำ Digital Technologies ไปประยุกต์ใช้กับยุค Digital Transformation และให้สอดคล้องกับการทำงานแบบ New normal เช่น ระบบIT, Cloud, IoT, Cyber Security, Digital Marketing รวมถึง เทคโนโลยี 5G ในอนาคต โดยจะนำเสนอการให้บริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่เป็น Large enterprises & SMEs เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกธุรกิจ”

นอกจากนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึง โครงการแรกที่ทำในปีนี้ คือ การนำพา AIS SME สู่ดิจิทัล ว่า“วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจมาก โดยเฉพาะ SME ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศกำลังได้รับผลอย่างหนักหน่วงรุนแรง ดังนั้น เอไอเอสและตนเองจึงมองเห็นช่องทางและเป้าหมายในการพัฒนาเอสเอ็มอีให้สอดรับกับวิถี New Normal โดยนำเครื่องมือดิจิทัลด้านต่างๆ มาช่วยผลักดันให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การมี Online Asset สำหรับติดต่อสื่อสาร, การทำ Digital Marketing เข้าถึงกลุ่มลูกค้าซึ่งความท้าทายในครั้งนี้คือ การสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบใหม่ (New Business Model)
ให้เอสเอ็มอี และคาดการณ์ว่า หากเอสเอ็มอีมีการปรับตัวตลาดในส่วนของ Online SME & Technology Startup จะมีการเติบโตต่อเนื่องแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน” ขั้นตอนต่อไปในการนำพาเอไอเอส สู่ Digital Transformation อย่างแข็งแกร่ง คือการให้ความสำคัญในการดูแลลูกค้าทั้ง SMEและLarge Enterprise โดยการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ประยุกต์
ใช้ระบบ 5G ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การทำ Smart Manufacturing / Factory, Smart City รวมถึง Public Infrastructures ในกิจการท่าเรือหรือสนามบิน ซึ่งในปัจจุบันเอไอเอสได้มีการทดสอบและ
ทดลองใช้ AIS 5G ในหลากหลายตัวอย่าง ซึ่งปัจจุบัน AIS มีความพร้อมทั้งในแง่สัญญาณ 5G ที่ครอบคลุมเต็มพื้นที่ 100% ในนิคมอุตสาหกรรม EEC รวมทั้ง มีความพร้อมทั้งในแง่ Solutions ที่ร่วมกับ Partners จากหลากหลายธุรกิจ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน 5G ในอนาคต