Featured
ทำความรู้จัก “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index” ครั้งแรกของไทย โดย AIS อุ่นใจ Cyber!
AIS ยกระดับภารกิจ อุ่นใจ CYBER ผนึก มจธ. และผู้เชี่ยวชาญ เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” ยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นเป็นการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลขึ้นฉบับแรกของไทย วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักนโยบายของ AIS ในฐานะผู้นำด้าน Digital Life Service Provider ที่มุ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER กับการเปิดตัวโครงการในครั้งนี้กันครับ
Thailand Cyber Wellness Index คืออะไร ?
ดัชนี Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) คือเครื่องมือชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย ว่าถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งนี่ก็ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีดัชนีชี้วัดสุขภาวะของคนไทยเลยด้วยครับ!
เหตุผลที่ AIS ลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้คืออะไร ?
อย่างที่ทราบว่า AIS นั้นเริ่มโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER มาตั้งแต่ 4 ปีก่อน เพราะตระหนักถึงปัญหาภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัย และจากการทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้และทักษะดิจิทัลในด้านต่าง ๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม อันจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือ และองค์ความรู้ส่งมอบให้กับคนไทยได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาเกิดขึ้น ในชื่อของ “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” นั่นเอง
ร่วมมือกับหลายภาคส่วน
“ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” นี้ AIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล ที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า…?
ดัชนี Thailand Cyber Wellness Index และถูกออกแบบมาเพื่อให้การศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามหลักมาตรฐานของการวิจัย มีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนอย่างที่บอกไป จนสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยออกมาได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ Advanced ระดับ Basic และระดับ Improvement ที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของประชาชนไทยแต่ละกลุ่ม ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ”
ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล จะครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย
- ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use)
- ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)
- ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration)
- ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights)
- ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety)
- ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
- ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)
และจากกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน จากผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา (Improvement) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
นำไปใช้งานได้ทั้งถาครัฐและเอกชน
ดัชนี Thailand Cyber Wellness Index นอกจากจะชี้ให้เราได้เห็นถึงวัดสุขภาวะดิจิทัลแล้ว ก็ยังเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ AIS ยังเดินหน้าผสานกำลังส่งมอบดัชนีนี้ไปยังเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันนำองค์ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกกลุ่มต่อไป
“จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในอีกหลายประเด็น โดย AIS พร้อมด้วยพันธมิตรจะยังคงเดินหน้าทำงานเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนสำคัญทำให้ดัชนีฉบับนี้เป็นสมบัติของประเทศไทย อันจะเป็นเสมือนหนึ่งเข็มทิศที่ช่วยให้พวกเรามองเห็นเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง” นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index เพื่อใช้วัดผลและขับเคลื่อนองค์กร สามารถติดต่อมาได้ที่ aissustainability@ais.co.th