67 

หลายคนคงได้ใช้งานเทคโนโลยี ECG บน Apple Watch จากการอัปเดท WatchOS เวอร์ชันล่าสุดไปแล้ว ซึ่งการบันทึกการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถแบ่งได้หลายแบบตามจังหวะการเต้นของหัวใจครับ ในวันนี้เราจะมาบอกว่ามีอะไรบ้าง

หลังจากที่เราได้ใช้งาน ECG แล้ว ระบบจะมีการแยกประเภทแบบใดแบบหนึ่งบนแอพ ECG ดังนี้
- จังหวะไซนัส (Sinus) : หัวใจเต้นด้วยรูปแบบการเต้นที่เป็นจังหวะเดียวกัน ซึ่งอยู่ระหว่าง 50-100 BPM
- ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (AFib) : หัวใจเต้นด้วยรูปแบบการเต้นไม่ม่ำเสมอ ซึ่งอยู่ระหว่าง 50-120 BPM
- ไม่สามารถสรุปผลได้ : ข้อมูลที่ไม่สามารถจัดประเภทได้ ซึ่งอาจเกิดจากเหตุหลายประการ เช่น คุณไม่ได้วางแขนของคุณบนโต๊ะในระหว่างการบันทึก หรือ Apple Watch ของคุณหลวมเกินไป เป็นต้น สภาพทางด้านสรีรวิทยาบางประการอาจทำให้ผู้ใช้งานบางคนไม่สามารถสร้างสัญญาณได้เพียงพอสำหรับการบันทึกที่มีประสิทธิภาพได้
- อัตราการเต้นของหัวใจสูงหรือต่ำ : อัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำกว่า 50 BPM หรือสูงเกิน 120 BPM จะส่งผลต่อความสามารถในการตรวจสอบสภาวะ AFib ของแอป ECG และส่งผลให้ไม่สามารถสรุปผลการบันทึกได้

สำหรับการใช้งาน ECG บน Apple Watch สามารถรับชมได้ที่บทความ : https://www.iphone-droid.net/how-to-use-an-ecg-on-apple-watch/
ที่มา : Apple