Connect with us

IT News

Brother นำเข้า GTX600 สุดยอดเครื่องพิมพ์ผ้าอุตสาหกรรมระบบดิจิทัลจากญี่ปุ่นหลังกวาดยอดขายในไทยจนครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด

Published

on

บราเดอร์ นำเข้า ‘GTX600’ สุดยอดเครื่องพิมพ์ผ้าอุตสาหกรรมระบบดิจิทัลจากญี่ปุ่นหลังกวาดยอดขายในไทยจนครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด-เดินหน้าเปิดตลาดใหม่เจาะกลุ่มโรงสกรีนและการ์เมนท์ในเมืองไทยรับเทรนด์การผลิตที่เปลี่ยนจาก Mass production สู่ Mass customization –
บราเดอร์ผู้นำธุรกิจเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลของไทย สบช่องเทรนด์ตลาดเปลี่ยน เปิดตัวเครื่องพิมพ์ผ้าระดับอุตสาหกรรมระบบดิจิทัลรุ่นล่าสุด “GTX600” เจาะกลุ่มโรงงานสกรีนและโรงงานการ์เมนท์ทั่วประเทศ หลังพบกระแสนิยมการผลิตเปลี่ยนจาก Mass production สู่ Mass customization การเปิดตัวเครื่องรุ่นใหญ่ในครั้งนี้ของบราเดอร์ ทำให้ปัจจุบันบราเดอร์มีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นธุรกิจจนถึงระดับอุตสาหกรรมนับเป็นแบรนด์แรกในไทย มั่นใจการขยายตลาดจับกลุ่มอุตสาหกรรมในครั้งนี้ จะสร้างอัตราเติบโตให้กลุ่ม GTX ได้สูงถึง 30% ในปีงบประมาณ 2565

นายพงษ์พันธ์ สุระวัฒน์เจริญ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขยายธุรกิจ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมอุตสากรรมการพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลในปัจจุบันว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าในเมืองไทยเริ่มปรับตัวสู่การพิมพ์แบบ Mass customization เพราะปริมาณการพิมพ์ในจำนวนมากเริ่มลดลง ประกอบกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยต้องการความละเอียดของลวดลาย มีการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้กระบวกการการผลิตแบบขึ้นบล็อกสกรีนดังเช่นในอดีตเริ่มไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไปได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าในไทย ต้องแสวงหาเครื่องพิมพ์ที่สามารถเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และด้วยช่องว่างของตลาดนี้เองทำให้บราเดอร์ตัดสินใจนำเข้าเครื่องพิมพ์ผ้าระดับอุตสาหกรรมระบบดิจิทัลรุ่นล่าสุด “GTX600” จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกที่มีผลิตภัณฑ์ที่รองรับตลาดกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวได้

แม้ว่าตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลจะเริ่มจากกลุ่มลูกค้า SME แต่ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าขนาดใหญ่ทั่วโลก ก็เริ่มหันมาขยายธุรกิจและสร้างการเติบโตด้วยผู้ช่วยรุ่นใหม่อย่างเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลเช่นกัน “ด้วยประสิทธิภาพของ GTX600 จะช่วยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าหมดกังวลเรื่องการควบคุมด้านมาตรฐานคุณภาพการผลิตและการบริหารต้นทุนได้อย่างดี โดยเฉพาะการที่ตลาดกำลังเบนเข็มสู่การผลิตในแบบ Mass customization หากผู้ประกอบการปรับตัวช้า ก็จะเสียโอกาสทางธุรกิจไปได้ จากการสำรวจภาพรวมตลาดพบว่า ปัจจุบันในไทยยังมีการใช้ระบบการพิมพ์แบบ Direct to garment (DTG) ไม่มากนัก ดังนั้นตลาดในส่วนนี้ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แม้กระทั่งกลุ่มนักออกแบบชั้นนำในไทย ก็หันมาใช้การพิมพ์แบบ DTG หรือเทคโนโลยีการพิมพ์ลายลงบนผ้าโดยตรงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดขั้นตอนการผลิต เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน ซึ่งบราเดอร์เชื่อว่าในช่วง 1-2 ปีนับจากนี้ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าที่ก้าวเข้าสู่โลก DTG กันมากขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ในอนาคต” นายพงษ์พันธ์ กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยรวม

ปัจจุบัน บราเดอร์ ครองส่วนแบ่งการตลาดของเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลในไทยได้กว่า 50% และการนำเสนอ GTX600 สู่ตลาดเมืองไทยในครั้งนี้ จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการขยายส่วนแบ่งการตลาดได้มากยิ่งขึ้นจากการขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงานสกรีน และโรงงานการ์เมนท์ โดย บราเดอร์ ได้มอบหมายให้  บริษัท เอสเคที. เอ็มบรอยเดอรี่ จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ GTX ในประเทศไทย (www.sktthai.com)

หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบราเดอร์คือ การฟังเสียงความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ และนำมาพัฒนาศักยภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง  โดย GTX600 ถือเป็นเจนเนอเรชันที่ 6 สำหรับเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล GTX600 ของบราเดอร์ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเจาะกลุ่มการผลิตปริมาณมาก (high volume) และกลุ่มโรงงานโดยเฉพาะ โดดเด่นด้านความรวดเร็วในการพิมพ์ ใช้หมึกพิมพ์น้อยกว่า ขนาด 4 หัวพิมพ์ พื้นที่พิมพ์ในครั้งเดียวใหญ่ถึง 24×24 นิ้ว รองรับการพิมพ์แบบ over print ได้แบบเต็มระบบ ถาดสามารถปรับสูงต่ำได้อัตโนมัติ มีระบบทำความสะอาดหัวพิมพ์แบบอัตโนมัติ พร้อมฟังก์ชันพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย นางสาวประกายกุล ถมมา   เจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโสผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลบราเดอร์ GTX กล่าวว่า “จากการทดลองแนะนำสู่ตลาดเมืองไทยตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการให้ความสนใจ GTX600 แบบเกินคาด ทั้งยังปิดการขายไปได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยสามารถจำหน่าย 4 เครื่องแรกได้เป็นประเทศแรกในเอเชียแฟซิฟิก ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์การยอมรับและเชื่อมั่นของลูกค้าในไทยได้เป็นอย่างดี เพราะ GTX600 ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ รองรับความต้องการที่เปลี่ยนไปของตลาดที่มีความซับซ้อนในลวดลายและการออกแบบ การผลิตด้วย GTX600 จึงทำให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่สูงยิ่งขึ้น หากมองในมิติของนักออกแบบ GTX600 ก็ยังสามารถเปิดกว้างให้นักออกแบบมีอิสระในการสร้างสรรค์ลวดลาย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดของการพิมพ์แบบเดิมๆ”
#brotherPRnews

Advertisement
Android News39 นาที ago

คาดหวัง ! Ice Universe เผย One UI 7.0 จะมีแอนิเมชันและการเปลี่ยนฉากต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมมาก

หลังจากที่เคยมีรายงา...

Android News2 ชั่วโมง ago

Redmi Note 14 5G Series ยืนยันเปิดตัวในอินเดียวันที่ 9 ธ.ค. มาพร้อมสโลแกน “Super Camera, Super AI”

Xiaomi ได้ประกาศวันเ...

Apple News2 ชั่วโมง ago

ลือ ! Apple กำลังสร้าง ‘LLM Siri’ ในปี 2026 บน iOS 19

ตามรายงานของ Bloombe...

Android News17 ชั่วโมง ago

เช็คกัน !! OPPO เผยตารางอัปเดต ColorOS 15 บน Android 15 ทั่วโลก

ในวันนี้ OPPO ได้เปิ...

Apple News17 ชั่วโมง ago

อย่างสวย ! YouTuber โชว์ดีไซน์ iPhone 17 Air กล้องหลัง 1 เลนส์ พร้อมจอ Dynamic Island

เราได้ยินมาแค่ข่าวลื...

HUAWEI IdeaHub HUAWEI IdeaHub
IT News18 ชั่วโมง ago

หัวเว่ยเผยโฉม IdeaHub รุ่นเรือธงพร้อมอัดโปรเด็ดหนุนผู้นำจออัจฉริยะเพื่อออฟฟิศยุคใหม่

หัวเว่ยเปิดตัว IdeaH...

Smart Review20 ชั่วโมง ago

รีวิว ASUS Vivobook S 14 OLED (S5406) โน้ตบุ๊คดีไซน์มินิมอล l Intel Core Ultra 7 258V l ใช้นานสุด 27 ชม. และคีย์บอร์ดมีไฟ RGB !

รีวิว ASUS Vivobook ...

Android News22 ชั่วโมง ago

มาอีก ! หลุดสเปค vivo X200S จัดเต็มด้วยชิป Dimensity 9400 Plus และรองรับสแกนลายนิ้วมือแบบ Ultrasonic

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก