Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

dtac เผยธุรกิจเผชิญ 3 ความท้าทายต่อเนื่องหลังโควิด-19 พร้อมหนุนแนวคิด ‘ทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ’

Published

on

ดีแทคเผย 3 ความท้าทายสำคัญของโลกยุคหลังโควิด-19 ได้แก่ ขนาดของธุรกิจ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และผลกระทบของห่วงโซ่อุปทานจากภาวะโลกร้อน พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ชูแนวคิด ‘การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ’ เพื่อฝ่า 3 ความปกติใหม่ทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความไม่แน่นอน

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวในงาน dtac Responsible Business Virtual Forum 2021 ว่า “การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้ทำให้เห็นความสามารถของมนุษย์ในการปรับตัวและยืนหยัด (human resilience) ดังเห็นได้จากอัตราการใช้งานช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่วิกฤตดังกล่าวก็นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจไทยที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย”

ความท้าทายที่เกิดขึ้นได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาคธุรกิจ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวโน้มสำคัญ คือ

1.      โครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนสู่ Economy of Scale

วิกฤตโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของภาคธุรกิจ โดย ‘การประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale)’ มีบทบาทมากขึ้นในโลกธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากการควบรวมกิจการต่างๆ ในระดับภูมิภาค เช่น ความสนใจในธุรกิจโทรคมนาคมของบริษัทพลังงาน การควบรวมธุรกิจระหว่าง Digi และ Celcom ในมาเลเซีย ขณะที่ Grab สตาร์ทอัพยูนิคอร์นสัญชาติมาเลเซียนั้นมีแผนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้ง (IPO) ที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

2.      ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่กว้างขึ้น (Digital Divide)

วิกฤตโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม โดยทั้งภาครัฐและธุรกิจต่างส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์การดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบางที่เข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต หรือขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ

3.      ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Climate change) ต่อห่วงโซ่อุปทานโลก

นอกเหนือจากวิกฤตโควิด-19 ประเทศไทยยังเผชิญกับภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้ส่งผลกระทบตามแนวชายฝั่งและระบบนิเวศทางการเกษตรที่เปราะบาง และในอนาคตอันใกล้นี้ การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศอาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังเช่นในวิกฤตมหาอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดแคลนฮาร์ดไดรฟ์ไปทั่วโลก

กางแผนฝ่าความท้าทาย 3 ความปกติใหม่

นายชารัดอธิบายเพิ่มเติมว่า ดีแทคได้กำหนดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible business) อันจะเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการยืนหยัดท่ามกลางความไม่แน่นอน และสร้างความไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โดยประกอบด้วย 7 เสาหลัก ได้แก่ 1. การสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้วยหลักธรรมาภิบาล 2. การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 3. การสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน 4. การสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกคน 5. การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ 6. สิทธิมนุษยชน และ 7. การสร้างสุขภาวะในที่ทำงาน

ขณะเดียวกัน ดีแทคยังเล็งเห็นถึงแนวโน้มความปกติใหม่ (new normal) 3 ด้าน และได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในภาคธุรกิจ ดังนี้

l การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ข้อมูลของ GSMA ระบุว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็น 4% ของโลก และกลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยประเทศไทยนั้นมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเสาสัญญาณเพื่อเร่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 7% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ 4.2% อันเป็นผลมาจากการหันมาใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในอัตราเร่ง และการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานสูงขึ้นไปอีก

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอก 3 นี้ ลูกค้าดีแทคมีอัตราการใช้ดาต้าเฉลี่ยพุ่งสูงถึง 20 GB ต่อคนต่อเดือน ซึ่งตัวเลขการเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลต่อการใช้พลังงานในการให้บริการโครงข่ายที่ปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 97% ของกระบวนการการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของดีแทค

ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงได้กำหนดเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ 50% ภายในปี 2573 ผ่านการใช้พลังงานทางเลือก เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในส่วนงานบริหารโครงข่ายและ call center และแสวงหาความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมในการนำเทคโนโลยี 4G / 5G ร่วมกับโซลูชัน IoT เพื่อสร้างระบบการจัดการพลังงานน้ำและไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อช่วยอุตสาหกรรมอื่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย นอกจากนี้ ภายใต้แผนงานการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ดีแทคเดินหน้าจะลดปริมาณการทิ้งขยะทั่วไปจากสำนักงานและขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบฝังกลบเป็นศูนย์หรือ zero landfill ภายในปี 2565 โดย 80% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของดีแทคนั้นคือซากอุปกรณ์โครงข่าย

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี ดีแทค กล่าวว่า “เป้าหมายดังกล่าวถือเป็นการสร้างมาตรวัดที่เป็นรูปธรรม ท่ามกลางความท้าทายด้านการเข้าถึงแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีจำกัด เนื่องด้วยความต้องการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีความแตกต่างเฉพาะ”

l ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน

ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม บริการโทรคมนาคมได้กลายเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดีแทคนั้นมีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนอย่างยืดหยุ่น ผ่านการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัยในทุกสถานการณ์

นางสาวทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานขาย ดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ 1. การให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยดีแทคได้ปรับเปลี่ยนวิถีการทำงาน และปัจจุบันพนักงานดีแทคกว่า 95% นั้นสลับระหว่างการทำงานที่บ้านและในสำนักงาน 2. การปรับแผนกระจายสินค้าและจุดบริการตามการโยกย้ายพื้นที่ของผู้ใช้งาน และเพิ่มจุดกระจายสินค้าอย่างรวดเร็ว และ 3. เร่งลูกค้าและคู่ค้าทั้งซัพพลายเชนเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ผ่านการกระตุ้นการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการทำธุรกรรมให้มากที่สุด”

นอกจากนี้ ดีแทคยังให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการกำหนดมาตรฐานเข้มงวดในการทำงานกับคู่ค้า ซึ่งครอบคลุมมิติด้านสิทธิแรงงานและข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงและเสริมแกร่งความสามารถในการปรับตัว โดยประกาศภารกิจพิชิต 0 คือ จะไม่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานในซัพพลายเชนของดีแทค ไม่มีการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ เป็นต้น

l ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

ด้วยการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคโควิด-19 ผู้บริโภคเริ่มหันมาแสดงความกังวลต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นดังกล่าวกลายมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการของผู้บริโภค จากผลสำรวจของ Cisco พบว่าผู้คนกว่า 48% รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีพอ โดยสาเหตุหลักเป็นเพราะไม่รู้ว่าองค์กรต่างๆ นั้นนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะใดบ้าง ซึ่งดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย ได้มีการกำหนดนโยบายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อควบคุมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation – GDPR) และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (Personal Data Protection Act – PDPA) 

นายมาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร ดีแทค กล่าวว่า “ธุรกิจจำนวนมากต่างต้องพึ่งพาข้อมูลมากขึ้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วยในบางกรณี ในยามที่แนวทางการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นยังไม่มีความชัดเจน เราจึงยินดีที่ได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ภาครัฐต้องอาศัยการทำงานแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความชัดเจนทั้งในแง่ของความหมายในบทบัญญัติที่สำคัญ และความสอดคล้องระหว่างกฎหมายอย่าง PDPA กับกฎเกณฑ์เฉพาะในแต่ละหมวดธุรกิจ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานและความคาดหวังอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยสร้างความเข้าใจอันดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค ว่าข้อมูลของพวกเขาถูกใช้งานอย่างไรบ้าง” 

Android News44 นาที ago

Xiaomi อินเดียเผยทีเซอร์ทางการ Redmi Note 14 Series เตรียมเปิดตัวเดือนธ.ค. นี้

Redmi Note 14 Series...

ข่าวประชาสัมพันธ์1 ชั่วโมง ago

ฟูจิฟิล์ม เดินหน้าเต็มสูบ ผนึก วีเอสทีฯ ดิสซิบิวเตอร์ไอทีรายใหญ่ของไทย

ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อ...

Android News1 ชั่วโมง ago

เปรียบเทียบแบตเตอรี่ Xiaomi 15 Pro vs iPhone 16 Pro Max vs S24 Ultra vs Pixel 9 Pro XL vs OnePlus 12 vs Xiaomi 14 Pro (มีคลิป)

ช่อง Techdroider ทำค...

Android News2 ชั่วโมง ago

สวยเลย…vivo S20 Series อวดดีไซน์กล้องหลังวงกลมสุดหรู ก่อนเปิดตัวจริงเร็ว ๆ นี้!

vivo S20 Series (viv...

Android News2 ชั่วโมง ago

Galaxy S25 Series จะได้ RAM 12GB ในราคาเท่าเดิมทุกรุ่น

นอกจากที่ในปีหน้าเรา...

true LIVE – Cell Broadcast Service true LIVE – Cell Broadcast Service
ข่าวประชาสัมพันธ์2 ชั่วโมง ago

ทรู ร่วมกับ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต ทดสอบระบบเตือนภัยเสมือนจริง LIVE – Cell Broadcast Service ที่ภูเก็ต

ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่ว...

NBTC and AIS showcases Cell Broadcast mobile warning system in Phuket NBTC and AIS showcases Cell Broadcast mobile warning system in Phuket
IT News2 ชั่วโมง ago

กสทช. – AIS โชว์ระบบเตือนภัยผ่านมือถือ Cell Broadcast กลางภูเก็ต

กสทช. – AIS โช...

AIS and Cyber police launched Operation Bridge Blast to suppress Chinese scammer gangs AIS and Cyber police launched Operation Bridge Blast to suppress Chinese scammer gangs
IT News2 ชั่วโมง ago

AIS ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจไซเบอร์เปิด “มาตรการระเบิดสะพานโจร” บุกรวบจีนเทา

AIS ผนึก สำนักงานตำร...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก