ข่าวประชาสัมพันธ์
dtac ‘ทิ้งให้ดี’ จับมือ ‘โจนส์สลัด’ จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ลดความเสี่ยงขยะอันตรายปนเปื้อนในดินและน้ำ
ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ จับมือ ‘โจนส์สลัด’ จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ลดความเสี่ยงขยะอันตรายปนเปื้อนในดินและน้ำ สร้างแหล่งอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน ลูกค้าสลัดปลอดสารพิษของโจนส์สลัดสามารถนำซากมือถือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดกลางและเล็ก รวมไปถึงอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้ที่ถังขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ได้ที่ร้านโจนส์สลัด สาขาเดอะ มาร์เก็ต แบงคอก ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์, ร้านโจนส์สลัด สาขาศาลาแดง, และร้านโจนส์สลัด สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกจัดประเภทเป็นขยะอันตรายที่มีสัดส่วนสูงถึง 65% จากขยะอันตรายทั้งหมดที่จัดเก็บได้ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 13% เท่านั้น ทั้งนี้จากการคาดการณ์ปริมาณซากโทรศัพท์มือถือจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า โทรศัพท์มือถือเป็นซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่พบมากที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 คาดว่าจะพบซากขยะโทรศัพท์มือถือจำนวน 13.42 ล้านเครื่อง และอุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพาอีก 3.65 ล้านเครื่อง สำหรับซากมือถือ อุปกรณ์เชื่อมต่อ รวมไปถึง อุปกรณ์ติดตัวประเภทนาฬิกาอัจฉริยะ (smart watch) นับเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นขยะอันตราย สามารถปล่อยสารเคมีอันตราย เช่น สารหนู สารตะกั่ว สารปรอท สารแคทเมียม ฯลฯ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำและแหล่งดิน ซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งเพาะปลูก จากกรณีศึกษาแหล่งชุมชนคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมมลพิษ และสำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 จ.นครราชศรีมา เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินและตัวอย่างดิน 4 จุด พบสารหนูและตะกั่วเกินค่ามาตรฐานของดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมจำนวน 1 จุด ที่สาธารณะ (โคกขอนแก่น) ต.บ้านเป้า อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งการปนเปื้อนเหล่านี้ เกิดจากขั้นตอนการคัดแยก รื้อ และถอดชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการเททิ้งเศษหรือสารอันตรายลงดิน
นายอาริยะ คำภิโล กรรมการบริหารและเจ้าของร้านโจนส์สลัด กล่าวว่า “ความร่วมมือกับดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ถือเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญและเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโจนส์สลัดและดีแทคที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน ในแต่ละปี โจนส์สลัดสั่งซื้อผักสลัดปลอดสารพิษมากถึง 700 ตันต่อปี จากเกษตรกรในเครือข่าย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญที่ช่วยเพาะปลูก ดูแล และส่งมอบพืชผักมาให้เราปรุงสลัดที่สดใหม่ด้วยความใส่ใจและห่วงใยผู้บริโภค นี่จึงถึงเวลาแล้วที่โจนส์สลัดจะได้ตอบแทนด้วยการช่วยดูแลแหล่งดินและน้ำที่ใช้เพาะปลูกให้ปลอดจากสารเคมีร้ายแรงปนเปื้อนอันเป็นผลมาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี ลูกค้าของโจนส์สลัดสามารถนำซากมือถือและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ มาทิ้งที่เราได้ เราจะร่วมกับดีแทคนำไปจัดการและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้สารเคมีปนเปื้อนกลับมาทำร้ายสุขภาพผ่านจานอาหารของเรา”
นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน กล่าวว่า “ดีแทคมีความยินดีและขอขอบคุณที่โจนส์สลัดร่วมกำหนดเป้าหมายไปกับเราในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและเพื่อนร่วมโลก ขยะที่เราจะจัดเก็บร่วมกับโจนส์สลัดจะเป็นสัดส่วนสำคัญจากเป้าหมายที่เราตั้งใจจะจัดเก็บซากมือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่อให้ได้รวม 50,000 ชิ้นภายในสิ้นปีนี้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดในระบบ ทั้งนี้ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบถือเป็นเป้าหมายสำคัญตามแผนงานการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ (Environment Management System and Climate) ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ดีแทค นอกจากขยะประเภทซากมือถือและอุปกรณ์เสริมที่ดีแทคจัดเก็บจากลูกค้าและผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว”
ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ คัดเลือกบริษัทรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานสากล จัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านนำมาทิ้งไว้ที่ศูนย์บริการดีแทคสาขาทั่วประเทศ และที่ร้านโจนส์สลัดตามสาขาที่กำหนด เมื่อบริษัทรีไซเคิลได้รับซากขยะอิเล็กทรอนิกส์จะทำการลบข้อมูล และทำลายหน่วยความจำโดยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อลบข้อมูล 3 รอบ และเขียนข้อมูลทับอีก 1 รอบ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมมั่นใจว่าจะไม่มีข้อมูลของเจ้าของขยะอิเล็กทรอนิกส์รั่วไหลออกไปได้ หลังจากนั้นจะทำการคัดแยกชิ้นส่วนตามประเภทวัสดุ เช่น โลหะ พลาสติก เหล็ก แผงวงจร จากนั้นจะเข้ากระบวนการย่อยสลายเพื่อนำกลับไปเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมใหม่
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.dtac.co.th/sustainability/ewaste/