ข่าวประชาสัมพันธ์
Facebook เผยโทรศัพท์มือถือเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญสู่อนาคตของตลาดอีคอมเมิร์ซ
จากการสำรวจของ eMarketer แสดงให้เห็นว่าการครอบครองโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ.2561 คาดว่าประเทศไทยจะมีผู้ใชสมาร์ทโฟนเกือบ 27 ล้านคน ด้วยอัตราการครอบครองที่ 71 เปอร์เซนต์ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 19 จากทั่วโลก ซึ่งมากกว่าประเทศออสเตรเลีย และเวียดนาม
แม้ว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่เบื้องหลังเม็ดเงินการทำโฆษณาของโทรศัพทมือถือกลับตรงกันข้าม การวัดผลทางโทรศัพท์มือถือนั้นไม่เป็นเพียงแค่การวัดจากจำนวนคลิ๊กและสั่งซื้อเท่านั้น ผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลและซื้อสินค้าได้จากทุกที่ ซึ่งจนถึงปัจจุบัน เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนมากพอเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในผลการศึกษาล่าสุดโดย TNS ที่ดำเนินการวิจัยให้กับ Facebook นั้น ให้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของโทรศัพท์มือถือและโซเชียล มีเดีย ในการเป็นเส้นทางการสั่งซื้อสินค้าสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ผลการศึกษายังตอกย้ำว่าโซเชียล เน็ตเวิร์คฝังอยู่ในการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพวกเขาใช้เวลาบน Facebook มากกว่าการดูโทรทัศน์ สำหรับในประเทศไทย 92 เปอร์เซนต์ของผู้ใช้งาน อีคอมเมิร์ซจะใช้ผ่าน Facebook ทุกวัน ทำให้ Facebook เป็นช่องทางการซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือที่นิยมมากที่สุด นอกจากนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2015 91 เปอร์เซนต์ของผู้ใช้งานชาวไทยเข้าใช้งาน Facebook ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ทุกวัน และ 94 เปอร์เซนต์ของผู้ใช้งานคนไทยเข้าใช้งาน Facebook ผ่านโทรศัพท์มือถือทุกเดือน
โซเชียลมีเดียถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลติดอันดับสูงสุดหนึ่งในสาม ในการสั่งซื้อสินค้าของนักช้อปออนไลน์ทั้งหลาย โดยเฉพาะขั้นตอนการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า เมื่อโทรศัพท์มือถือมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริโภคจึงค้นหาสินค้าผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของพวกเขา และสั่งซื้อสินค้าที่ใดก็ได้ตาม ที่ต้องการ ในประเทศไทยFacebook เป็นช่องทางเคลื่อนที่สำหรับการค้นหาข้อมูลหรืออ่านข้อมูลคร่าวๆ ในการ ช้อปปิ้ง โดย 65 เปอร์เซนต์ของผู้ใช้เอ็มคอมเมิร์ซมีการซื้อสินค้าจริง
โซเชียลมีเดียคืออนาคตสำหรับตลาดค้าปลีกออนไลน์และออฟไลน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง