Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

Facebook แนะเคล็ดลับสังเกตข่าวปลอมด้วยตัวเองเกี่ยวกับโควิด-19 ฉบับ We Think Digital Thailand

Published

on

Facebook มุ่งมั่นทำงานเพื่อช่วยให้ผู้คนได้ติดต่อและเชื่อมต่อกันอย่างมีความหมายบนสังคมออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้กระจายไปยังทั่วโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องรู้เท่าทันและรับข่าวสารที่ถูกต้อง รู้จักพิจารณาข้อมูลต่างๆ ที่แชร์กันบนโลกออนไลน์ ข้อมูลที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและไม่เป็นความจริงสามารถก่อให้เกิดความสับสนได้ และที่ร้ายแรงที่สุดคืออาจก่อให้เกิดความหวาดกลัวและความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น

 

Facebook พร้อมรับมือเพื่อป้องกันการเผยแพร่ข่าวปลอม เพื่อช่วยให้ทุกคนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยร่วมมือกับพันธมิตรด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ตลอดถึงการประสานงานกับองค์การอนามัยโลกและองค์กรต่างๆ มากมาย ที่ได้รับความเชื่อถือ ในการเชื่อมผู้ใช้งานเข้ากับเนื้อหาที่เป็นการให้ความรู้ โดยจะปรากฏอยู่ด้านบนสุดของ News Feed นอกจากนี้ Facebook ได้วางแผนเปิดตัวศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ในประเทศไทยเร็วๆ นี้

หากมีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 บน Facebook แพลทฟอร์มจะมีการนำเสนอข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ อาทิ เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก หรือหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย Facebook จะแนะนำเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Facebook ตระหนักดีว่าสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลให้ผู้คนแบ่งปันข่าวสารต่างๆ บนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจากศึกษาของ YouGov ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Facebook ระบุว่าในประเทศไทย[1] มีเพียงจำนวนร้อยละ 42 และร้อยละ 41 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขามั่นใจว่าตัวเองสามารถระบุข่าวปลอมและโปรไฟล์ปลอมได้ ตามลำดับ

เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานหลีกเลี่ยงการได้รับข้อมูลที่ไม่เป็นจริงและข่าวปลอมทั้งหลาย Facebook ประเทศไทยจึงได้เปิดตัวโครงการ We Think Digital Thailand ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีให้กับชาวไทย โดยครอบคลุมหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตคืออะไร ลายมือดิจิทัลของคุณ การเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ รวมถึงเคล็ดลับการสังเกตข่าวปลอม หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม We Think Digital Thailand และโมดูลเรียนรู้ต่างๆ สามารถเยี่ยมชมไมโครไซต์ได้ที่ wethinkdigital.fb.com/th

ภายใต้หัวข้อเคล็ดลับการสังเกตข่าวปลอมนี้ Facebook ได้รวบรวมเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้ชาวไทยสังเกตข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ได้รอบคอบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างชุมชนดิจิทัลให้ได้รับข้อมูลและข่าวสารที่ครบถ้วนถูกต้องอีกด้วย

พวกเราทุกคนต่างต้องมีความรับผิดชอบในการช่วยลดการแพร่กระจายของข้อมูลที่ไม่เป็นจริง เพียงแค่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่เราแชร์นั้นเชื่อถือได้จริง

Facebook แนะนำเคล็ดลับง่ายๆ 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบข้อมูลต่างๆ บนหน้าฟีดได้ก่อนกดปุ่มแชร์

 ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบลักษะของโพสต์

สังเกตวิธีพาดหัวข่าว ข่าวปลอมส่วนใหญ่มักใช้คำพาดหัวข่าวที่เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกหรือใช้เทคนิคเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น ใช้ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด หรือการใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) จำนวนมาก หัวข้อข่าวที่ใช้ถ้อยคำแบบสุดโต่งหรือกล่าวอ้างเกินความเป็นจริง มักมีแนวโน้มเป็นข่าวปลอม

พิจารณาชื่อของเว็บไซต์หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL) เว็บไซต์ที่น่าสงสัยส่วนมากมักพยายามลอกเลียนแบบจากเว็บไซต์จริงโดยแทรกจุดแตกต่างเล็กน้อยเข้าไปแทน เช่น การใช้ตัวไอพิมพ์ใหญ่ (I) เพื่อแทนตัวแอลพิมพ์เล็ก (l) หรือการใช้เลขศูนย์ (0) แทนตัวโอ (o) หากคุณไม่มั่นใจ ให้เปิดหน้าต่างเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่ จากนั้นให้ไปที่เว็บไซต์จริงและลองเปรียบเทียบ URL ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

  • ในประเทศไทย ร้อยละ 71 ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาอ่านบทความจนจบก่อนที่จะแชร์ต่อ

ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบเว็บไซต์

เมื่อคุณตัดสินใจกดลิ้งก์แล้ว ให้วิเคราะห์ลักษณะหน้าเพจของบทความ ตรวจสอบชื่อของผู้เขียนแล้วค้นหาข้อมูลดูว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยอาจพิจารณาจากบทความอื่นๆ ที่เขียนขึ้นโดยผู้เขียนคนเดียวกัน แนะนำให้อ่านข้อมูลในส่วน “เกี่ยวกับเรา” บนหน้าเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อทำความรู้จักเว็บไซต์หรือองค์กรนั้นให้มากขึ้น

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • บ่อยครั้งที่ข่าวปลอมส่วนใหญ่จะใส่วันที่คลาดเคลื่อน สะกดคำผิด จัดวางข้อความแปลกๆ รวมถึงใช้รูปหรือวิดีโอที่ถูกปรับแต่ง ในบางครั้งรูปภาพนั้นอาจเป็นรูปภาพจริง แต่ถูกนำมาเปลี่ยนแปลงบริบท คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพนั้นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันถึงที่มาของภาพนั้น

ขั้นตอนที่ 3: สังเกตบุคคลอ้างอิงในบทความ

หากบทความมีการกล่าวอ้างอิงหรือยกคำพูดของผู้เชี่ยวชาญมา แต่ไม่มีการกล่าวชื่ออย่างชัดเจน เช่น “ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งกล่าวว่า…” ในกรณีนี้ อาจบ่งบอกได้ว่าบทความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม แนะนำให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงนั้นเป็นความจริง โดยอาจดูเพิ่มเติมจากบทความหรืองานศึกษาอื่นๆ

  

ขั้นตอนที่ 4: เปรียบเทียบจากการพาดหัวข่าวและแหล่งข้อมูลอื่นๆ

ลองดูแหล่งข่าวอื่นว่ามีการรายงานข่าวเดียวกันหรือไม่ และตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลจากการองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ข้อมูลจะมีแนวโน้มความน่าเชื่อถือมากขึ้นหากมีแหล่งข่าวจำนวนมากรายงานถึง

 

ขั้นตอนที่ 5: รับฟังข้อมูลอย่างเป็นทางการล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 จากองค์กรด้านสุขภาพและอนามัยของท้องถิ่นและนานาชาติเท่านั้น

ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณกำลังอ่านและแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับการยืนยันแล้ว โดยสามารถติดตามการเคลื่อนไหวได้จากองค์กรดังต่อไปนี้

 

ท้ายที่สุดแล้ว ชาวไทยทุกคนต่างต้องรู้จักการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อประเมินข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และเลือกแชร์เฉพาะข่าวที่มั่นใจได้แน่นอนว่ามีความน่าเชื่อถือเท่านั้น โดยใช้หลักการทั้งหมดด้านบนที่ได้แนะนำไป

หากพบโพสต์ใดๆ ที่นำเสนอเรื่องราวและข่าวปลอม อย่าลังเลที่จะกดรายงาน โดยคลิกที่เครื่องหมายจุดเล็กๆ 3 จุด (…) ที่ด้านมุมขวาบนของโพสต์ จากนั้นกด ค้นหาการสนับสนุนหรือรายงานโพสต์ และคลิกที่ ข่าวปลอม

สามารถไปที่ศูนย์ช่วยเหลือของ Facebook เพื่อดูรายละเอียดการรายงานโพสต์ต่างๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/help/1380418588640631/

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสังเกตข่าวปลอม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/help/188118808357379

IT News11 ชั่วโมง ago

ทรู คอร์ปอเรชั่น นำดาต้าปีใหม่วิเคราะห์เทรนด์จัดเต็มสัญญาณ 5G ให้ลูกค้า “ยิ้มทั่วไทย” ฉลองเคานต์ดาวน์ส่งความสุขสู่ปีมะเส็ง

ทรู คอร์ปอเรชั่นเพิ่...

IT News11 ชั่วโมง ago

เปิดตัวแคมเปญ ‘VERTU Yacht Sailing Experience’ สุดเอ็กซ์คลูซีฟ เมื่อเป็นเจ้าของสมาร์ตโฟน VERTU และนาฬิกาอัจฉริยะ VERTU METAWATCH พร้อมกัน

‘VERTU’ (เวอร์ทู) ลั...

Best Smartphone 12000 for 2025 Best Smartphone 12000 for 2025
Buying Guides1 วัน ago

10 มือถือราคาไม่เกิน 12,000 บาท ตัวจบ ครบทุกฟีเจอร์ ใช้ยาว ปี 2025

กำลังมองหามือถือใหม่...

Android News2 วัน ago

OPPO จับมือ Maison Kitsuné สร้างสรรค์ประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ กับ OPPO Find X8 Series

OPPO แบรนด์สมาร์ตโฟน...

IT News2 วัน ago

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 – 20 ธ.ค. 67

ข่าวเด่นช่วงระหว่างว...

IT News2 วัน ago

สรุป 6 จุดเด่นที่ทำให้คุณต้องเลือก HUAWEI MatePad 12 X นวัตกรรมแท็บเล็ตใช้งานได้ดั่งกับพีซี ที่มาพร้อมโปรเด็ดลดสูงสุดถึง 2,000 บาท กับ Shopee

HUAWEI MatePad 12 X ...

ข่าวประชาสัมพันธ์2 วัน ago

กรี๊ดสนั่น! ทรู เสิร์ฟความฟินขั้นสุดส่งท้ายปี ดึง “โฟร์ท ณัฐวรรธน์” สาดรอยยิ้ม และความสุขมาแจกแบบจัดเต็ม ในงาน “Truedtac5G ยิ้มทั่วไทย ยิ้มทั่วโซเชียล กับโฟ้ดๆ”

ทรู ขอส่งต่อพลังบวกแ...

IT News2 วัน ago

AIS ยึดหัวหาดทะเลอ่าวไทยครอบคลุม ลึก สูง กว้าง ไกล ยืนหนึ่งตัวจริงภาตตะวันออก

AIS ปักหมุดผู้น...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก