ข่าวประชาสัมพันธ์
แกร็บ ผุดฟีเจอร์ใหม่ ชวนผู้ใช้บริการร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมเปิดตัวรายงานความยั่งยืนฉบับแรก
เนื่องในวันปลอดมลพิษโลก (Zero Emission Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี แกร็บ ประเทศไทย โดย วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการบริหาร ชวนผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อใช้บริการการเดินทางกับแกร็บ ผ่านฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถกดเลือกเพื่อบริจาคเงิน 2 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือ 1 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ เพื่อสมทบในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทย โดย แกร็บ ประเทศไทย จะร่วมมือกับ Conserve Natural Forests (CNF) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าธรรมชาติ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนในทุกครั้งที่เดินทางกับแกร็บ ด้วยการแนะนำฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถร่วมบริจาคเงินสมทบในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ พร้อมเปิดตัวรายงานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social & Governance) หรือ ESG Report ฉบับแรก ซึ่งนับเป็นการประกาศความมุ่งมั่นของบริษัทในการส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างผลประกอบการทางธุรกิจที่ดีไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ แกร็บได้เปิดตัวฟีเจอร์พิเศษสำหรับบริการการเดินทางเพื่อชดเชยคาร์บอนในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดยผู้ใช้บริการสามารถกดเลือกบริจาคเงิน 2 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือ 1 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ เพื่อสมทบเข้าโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทย ซึ่งจะดำเนินงานโดย Conserve Natural Forests (CNF) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีภารกิจหลักในการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าธรรมชาติในประเทศไทย รวมถึงการปกป้องและส่งเสริมการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
ผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมการบริจาคเพื่อชดเชยคาร์บอนครบ 50 ครั้งขึ้นไปในทุกๆ ไตรมาสจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลหรือแอปพลิเคชัน Grab ว่าคุณได้รับต้นไม้ที่จะนำไปปลูกในป่า “GrabforGood” ซึ่งดำเนินการโดย Ecomatcher ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการปลูกต้นไม้ซึ่งได้รับการรับรองในระดับสากล โดยคุณสามารถตั้งชื่อ ติดตามการเติบโตของต้นไม้ หรือแม้กระทั่งดูข้อมูลของเกษตรกรที่ปลูกต้นไม้นั้นๆ ได้ผ่านทางแพลตฟอร์ม EcoMatcher Treetracker โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง grab.com/th/blog/co2neutral/
ตัวอย่างฟีเจอร์ชดเชยคาร์บอนที่เปิดตัวในประเทศไทย
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ แกร็บยังได้เปิดตัวรายงานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social & Governance หรือ ESG) ฉบับแรก โดยนายแอนโทนี ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งแกร็บ เผยว่า “ธุรกิจของแกร็บนั้นมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์โดยตรงกับชีวิตความเป็นอยู่และสวัสดิภาพที่ดีของคนในสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แกร็บจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมและสนับสนุนพาร์ทเนอร์คนขับและพาร์ทเนอร์ร้านค้าของเราให้มีโอกาสในการเข้าถึงรายได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป รายงาน ESG ฉบับแรกของแกร็บนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินธุรกิจของเรา ที่ไม่ได้มุ่งแค่การสร้างความสำเร็จในเชิงธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและขับเคลื่อนชีวิตของผู้คนในสังคม ด้วยความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่มีต่อคนกลุ่มต่างๆ ในวงจรธุรกิจของเรา”
สำหรับ รายงาน ESG ฉบับแรกของแกร็บครอบคลุมหัวข้อสำคัญต่างๆ ตามมาตรฐาน GRI หรือ Global Reporting Initiative อาทิ ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนความหลากหลายและการยอมรับในความแตกต่าง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม โดยมีไฮไลท์สำคัญ ได้แก่
- พาร์ทเนอร์คนขับและพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 225,780 ล้านบาท ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บในปี 2563
- 46% ของพาร์ทเนอร์คนขับที่ร่วมตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ก่อนที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ
- 33% ของพาร์ทเนอร์ร้านอาหารเริ่มจำหน่ายอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เป็นครั้งแรกกับแกร็บ
- ผู้ประกอบการขนาดเล็กเกือบ 600,000 รายเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ของแกร็บเพื่อจำหน่ายอาหารและสินค้าผ่านบริการแกร็บฟู้ดและแกร็บมาร์ท ในปี 2563
- 59% ของผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากแกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ในปี 2563 เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่เข้าถึงโอกาสทางการเงิน
- พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บกว่า 1.7 ล้านคนผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมต่างๆ ของแกร็บ อาทิ ความรู้ด้านดิจิทัล การปกป้องข้อมูล ความรู้ทางการเงิน คอร์สสื่อสารภาษาอังกฤษ เป็นต้น
- ปริมาณขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวลดลงจากการงดใช้ช้อนส้อมพลาสติกรวม 380 ล้านชุด