Android App
ลองดู! เทคนิคฟักไข่ Pokémon GO ให้ได้ตัวดี ๆ เขาทำกันอย่างไร
เมื่อเหล่าเทรนเนอร์ค้นพบทฤษฏีว่าด้วยเรื่องเทคนิคการฟักไข่เกม Pokémon GO แล้วได้ตัวโปเกมอนที่ต้องการหรือได้ตัวในกลุ่มธาตุเดียวกัน มาดูกันว่าเทคนิคนี้เขาทำกันอย่างไร
เทคนิคนี้บอกว่า เมื่อเริ่มเอาไข่ใส่ตู้ฟักให้ทำการเดินจนระบบนับระยะได้ครึ่งทางแล้วให้หยุด เช่น ไข่ 5 กม. ให้เดินจนครบ 2.5 กม. แล้วหยุด จากนั้นให้ทำการพัฒนาร่าง (Evolve) ตัวโปเกมอนตัวใดก็ได้ 3 ตัวที่อยู่ในกลุ่มธาตุที่อยากให้ไข่ 5 กม. ฟักออกมา หลังจากนั้นขั้นตอนสุดท้ายก็เดินให้ครบ 5 กม. รอลุ้นตัวที่ฟักออกจากไข่
ตามรายงายการทดสอบ
- เทรนเนอร์และเพื่อนได้เริ่มทำการฟักไข่ 5 กม. เป้าหมายคืออยากได้ตัว Porygon (ธาตุ Normal) และเดินสะสมระยะทางจนถึง 2.5 กม. แล้วหยุดพัก
- จากนั้นได้ทำการพัฒนาร่าง (Evolve) เจ้านก Pidgey จำนวน 2 ตัว และหนู Rattata อีก 1 ตัว (ทั้ง 3 ตัวอยู่ในธาตุ Normal)
- ทำการเดินจนครบระยะฟักไข่ 5 กม. แล้วไข่ก็ฟักออกมา ปรากฎว่า
ไข่ที่ฟักออกมาได้เป็นตัว Bellsprout ซึ่งอยู่ในกลุ่มธาตุ Grass และ Poison ไม่ได้ตัว Porygon ตามที่คาดการณ์เอาไว้ แต่มีจุดน่าสนใจคือ เทรนเนอร์ทั้ง 2 คน ฟักไข่ออกมาได้ตัวเดียวกัน โดยมีค่าสถิติต่าง ๆ เหมือนกันทุกอย่าง ทำให้พวกเขาคาดว่าหากฟักไข่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือพร้อมกันก็จะมีโอกาสได้ตัวเดียวกัน
วันต่อมา พวกเขาได้ทำการทดสอบอีกครั้งโดยเป็นไข่ 10 กม. โดยคนแรกเริ่มเอาไข่ใส่ตู้ฟักไปก่อน 1 ชม. จากนั้นให้เพื่อนอีกคนเริ่มเอาไข่ 10 กม. ใส่ตู้ฟักตามทีหลัง เพื่อดูว่าหากเริ่มฟักไข่ในช่วงเวลาต่างกันราว 1 ชม. จะได้ตัวโปเมกอนต่างกันหรือไม่ โดยยังคงทำตามทฤษฏีเดิมคือ พัฒนาร่างตัวโปเกมอน 3 ตัวในธาตุที่อยากให้ไข่ฟักออกมา นั่นก็คือธาตุ Rock หรือหิน ซึ่งพวกเขาอยากได้ตัว Onix
ผลการทดสอบในครั้งนี้พวกเขาฟักไข่ได้ตัว Electabuzz ธาติ Electric ไม่ใช่ธาตุ Rock ตามที่คาดหวังเอาไว้ แต่จุดน่าสนใจคือ เทรนเนอร์ทั้งคู่ได้ตัว Electabuzz เหมือนกัน แต่ค่าสถิติต่างกัน
พวกเขายังคงทำการสอบสอบอีกครั้งโดยใช้ทฤษฎีเดิม แต่คราวนี้เป็นไข่ 2 กม. และเริ่มเอาใส่ไข่ตู้ห่างกัน 1 ชั่วโมง ผลสุดท้ายก็คือได้ตัว Bulbasaur เหมือนกันทั้งคู่ และสถิติเหมือนกันอีกด้วย
พวกเขาคาดว่าการฟักไข่ได้ตัวเดียวกันน่าจะเกิดจากช่วงเวลาที่ไข่ฟักออกมา เช่น ตัว Electabuzz ที่ฟักในช่วงเวลา 5 โมงเย็นถึง 4 ทุ่มในวันเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเอาไข่ใส่ตู้ฟักพร้อมกัน แต่จะได้ค่าสถิติที่แตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่อาจยืนยันได้ว่าทฤษฎีนี้จะเป็นจริง เพราะไม่อาจยืนยันได้ 100% แต่หากใครจะลองดูก็ไม่เสียหาย และถ้าได้ผลอย่างไรมาเล่าให้ฟังด้วยนะครับ