Connect with us

How To

เช็คพัสดุไปรษณีย์ วิธีติดตามพัสดุ อัปเดทใหม่ปี 2023

Published

on

เช็คพัสดุไปรษณีย์ หากต้องการติดตามพัสดุของคุณกับไปรษณีย์ไทย อัปเดทใหม่ปี 2023 ทำตามขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อตรวจสอบสถานะการจัดส่งได้อย่างง่ายดาย และเช็คให้ชัวร์ว่าสินค้าจะถึงตรงเวลา วันนี้ทีมงาน iphone-droid.net นำข้อมูลน่าสนใจมาฝากกันครับ

เช็คพัสดุไปรษณีย์ วิธีติดตามพัสดุ อัปเดทใหม่ปี 2023

เชื่อว่าหากใครกำลังรอพัสดุมาถึงประเทศไทย สิ่งสำคัญคือต้องติดตามสถานะเพื่อให้แน่ใจว่าจะมาถึงตรงเวลา ซึ่งปัจจุบันการตรวจสอบสถานะของพัสดุกับไปรษณีย์ไทยเป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่สามารถทำได้ทางออนไลน์หรือผ่านแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำตามขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อติดตามพัสดุและติดตามสถานะการจัดส่ง

1. มีหมายเลขติดตาม (Tracking number)

ขั้นตอนแรกในการติดตามพัสดุของคุณกับไปรษณีย์ไทยคือการขอรับหมายเลขติดตามพัสดุ โดยปกติแล้ว ผู้ส่งพัสดุจะแจ้งหมายเลขนี้ให้คุณทราบ และดูได้จากเอกสารยืนยันการจัดส่งหรือใบเสร็จรับเงิน เมื่อมีหมายเลขติดตามแล้วก็สามารถดำเนินการขั้นตอนต่อไปได้

2. เข้าเว็บไซต์ เช็คพัสดุไปรษณีย์

เข้าเว็บไซต์ เช็คพัสดุไปรษณีย์

หากต้องการติดตามพัสดุกับไปรษณีย์ไทย สิ่งแรกที่ต้องทำคือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.thailandpost.co.th ซึ่งเป็นหน้าเว็บเพจ “ติดตามสถานะสิ่งของ” จะมีช่องให้ป้อนหมายเลขติดตามและรับการอัปเดตสถานะล่าสุดของพัสดุของคุณได้ กรอกหมายเลขสิ่งของ 13 หลัก [ตัวอย่าง : EF582568151TH]

3. สถานะพัสดุ

เมื่ออยู่ในหน้าติดตามไปรษณีย์ไทย คุณจะเห็นช่องที่คุณสามารถป้อนหมายเลขติดตามได้ โดยหลังจากคลิกที่ปุ่ม “ค้นหา” และรอจนกว่าผลลัพธ์จะโหลด ก็จะเห็นสถานะปัจจุบันของพัสดุ รวมถึงตำแหน่งและวันที่จัดส่งโดยประมาณ โปรดทราบว่าข้อมูลการติดตามอาจไม่ได้อัปเดทแบบเรียลไทม์และอาจใช้เวลาสักครู่ในการอัปเดท ดังนั้นให้อดใจรอและกลับมาตรวจสอบการอัปเดทเป็นระยะๆ

เช็คพัสดุไปรษณีย์ วิธีติดตามพัสดุ อัปเดทใหม่ปี 2023

4. เช็คพัสดุไปรษณีย์ หลายรายการ

หากต้องการเช็คพัสดุไปรษณีย์ หรือตรวจสอบสถานะพัสดุกับไปรษณีย์ไทยหลายรายการพร้อมกันในคราวเดียว ให้ใส่ , (Comma) คั่นหมายเลขสิ่งของ กรณีติดตามมากกว่า 1 รายการ (ตัวอย่าง : EF582621151TH, EA666458151TH, RG453678925TH) สามารถใส่ได้สูงสุด 10 รายการต่อครั้ง

5. เช็คพัสดุผ่าน LINE

ปัจจุบันผู้ใช้งานสามารถติดตามสิ่งของและเช็คพัสดุไปรษณีย์ไทยผ่าน LINE ได้แล้ว (เพิ่มเพื่อน) ซึ่งหน้าตาก็จะคล้ายกับหน้าเว็บไซต์ แต่สะดวกมากกว่าด้วยพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่จะใช้ LINE นั่นเอง ทำให้คลิกจากหน้าแชทได้ทันที รวมไปถึงช่องทางแอปพลิเคชั่นของไปรษณีย์ไทย

ความหมายของรูปแบบสถานะ

สถานะพัสดุ
  • สีเทา คือ สถานะที่ยังไม่เกิดขึ้น
  • สีแดง คือ สถานะที่เกิดขึ้นแล้ว
  • สีส้ม คือ สถานะนำจ่ายไม่สำเร็จ
  • สีเขียว คือ สถานะสิ้นสุดการส่งสิ่งของ (ลูกค้าได้รับสิ่งของเรียบร้อยแล้ว)

มาตรฐานการจัดส่งสิ่งของธรรมดาและ EMS แตกต่างกันอย่างไร

พื้นที่การนำจ่ายจดหมายธรรมดา  EMS ในประเทศ **
พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลภายใน 1 – 2 วันวันรุ่งขึ้นไม่เกิน 12.00 น. 
หรือ 16.30 น.
พื้นที่กรุงเทพฯ-ภาคอื่น,
ภาคอื่น-กรุงเทพฯ
ภายใน 3 – 4 วันวันรุ่งขึ้นไม่เกิน 16.30 น.
พื้นที่ปลายทางภาคเดียวกันภายใน 2 – 3 วันวันรุ่งขึ้นไม่เกิน 16.30 น.
พื้นที่ปลายทางอื่นๆภายใน 3 – 5 วันภายใน 2 – 3 วัน 
ไม่เกิน 16.30 น.
** หมายเหตุ : ระบุเงื่อนไขเวลาฝากส่งนับจากวันที่รับฝาก

EMS ในประเทศ จากต้นทางกรุงเทพฯไปต่างจังหวัดจะถึงมือผู้รับภายในกี่วัน

EMS
  1. สามารถฝากส่งสิ่งของด้วยน้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 20 กิโลกรัม
  2. มาตรฐานการนำจ่ายบริการ EMS ในประเทศ ตามวัน-เวลาทำการของไปรษณีย์ไทย เมื่อฝากส่งก่อน 16.00 น. หากฝากส่งหลังเวลาดังกล่าว เสมือนหนึ่งการรับฝากในวันรุ่งขึน ดังนี้
    • ต้นทางและปลายทางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ) ภายใน 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง
    • ต้นทางและปลายทางในพื้นที่ภูมิภาคเดียวกัน ภายใน 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง
    • ระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ/ปริมณฑล และพื้นที่ภูมิภาค ภายใน 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง
    • ระหว่างพื้นที่ภูมิภาค (ข้ามภาค) ภายใน 2 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง

ยกเว้น

  • ปลายทางพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน / อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เพิ่มวันนำจ่ายอีก 1 วันทำการ
  • ปลายทางพื้นที่ห่างไกลและตามเกาะต่างๆ เพิ่มวันนำจ่ายอีก 2 วันทำการ

*** หมายเหตุ : ***

  1. มาตรฐานการนำจ่ายไม่รวมพื้นที่นำจ่ายของที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต อาทิ พื้นที่ห่างไกลตัวเมือง หุบเขา เกาะต่างๆ ส่งผลให้การจัดส่งอาจล่าช้ากว่ามาตรฐานที่กำหนด
  2. หากเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์ภัยพิบัติ อาจมีผลกระทบกับมาตรฐานจัดส่งในบางพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความล่าช้ากว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

บริการที่รองรับการตรวจสอบสถานะ 

  •   EMS ไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ
  •   ไปรษณีย์ลงทะเบียนในประเทศ
  •   eCo-Post ส่งประหยัดในประเทศ
  •   Logispost ในประเทศ
  •   EMS World ไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
  •   Courier Post ระหว่างประเทศ
  •   ไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศ
  •   พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
  •   Logispost ระหว่างประเทศ
  •   ไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศ
  •   E-packet ระหว่างประเทศ
  •   เก็บเงินที่อยู่ผู้รับ (COD)
  •   บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ

เช็คพัสดุไปรษณีย์ ถ้า EMS ส่งถึงผู้รับปลายทางล่าช้า สูญหาย เสียหาย

  • EMS ในประเทศ มีการรับประกันเวลานำจ่ายให้แก่ผู้รับ หากตรวจสอบพบว่า EMS ดังกล่าวเกิดความล่าช้าในเส้นทางไปรษณีย์ ปณท ยินดีคืนค่าฝากส่ง EMS ในประเทศให้แก่ผู้ใช้บริการ แต่ถ้า EMS ดังกล่าวเกิดสูญหาย ปณท ยินดีชดใช้ ค่าเสียหายตามมูลค่าจริงแต่ไม่เกิน 2,000 บาท ยกเว้น EMS รับประกัน ปณท จะชดใช้ตามวงเงินที่รับประกันไว้
  • กรณีสิ่งบรรจุภายในสูญหายหรือเสียหาย เมื่อผู้รับได้รับขอให้รีบแจ้งให้ ปณ. ที่นำจ่ายทราบภายใน 24 ชม. จากนั้นขอให้ติดต่อผู้ฝากส่งเพื่อให้ผู้ฝากส่งทำเรื่อง ร้องเรียนที่ ปณ.ต้นทาง เมื่อดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วหากพบว่าเกิดการ สูญหายหรือเสียหายในเส้นทางไปรษณีย์ ปณ.ต้นทาง จะแจ้งให้ผู้ฝากมาติดต่อรับเงิน ชดใช้ค่าเสียหาย (สิทธิ์ในการรับเงินชดใช้จะเป็นของผู้ฝากส่ง หากผู้รับประสงค์ จะเป็นผู้รับเงิน ผู้ฝากส่งจะต้องทำหนังสือโอนสิทธิ์การรับเงินชดใช้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ปณ.ต้นทาง ที่ผู้ฝากส่งแจ้งเรื่องร้องเรียนในครั้งแรก)

จ่าหน้าผู้รับผิด ทำอย่างไรได้บ้าง

บริการขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า (Withdrawal from the post alteration or correction of address) คือ บริการที่ ปณท ยินยอมให้ผู้ฝากส่งขอถอนคืน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ตนได้ฝากส่งไปแล้วและยังมิได้นำจ่ายแก่ผู้รับหรือมิได้เป็นสิ่งของต้องห้ามหรือมิได้ถูกยึดหรือริบตามกฎหมาย ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้บริการดังนี้

  • บริการนี้ใช้ได้กับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในประเทศและระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดีการไปรษณีย์ต่างประเทศบางแห่งอาจมีข้อสงวนไม่ยอมรับบริการนี้ (สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง หรือ Call Center 1545) 
  • ผู้ฝากส่งที่ประสงค์จะขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า ต้องยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง (เว้นแต่มีความจำเป็นจึงยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์อื่นได้) โดยแสดงหลักฐานประจำตัว หลักฐานการรับฝาก (ถ้ามี) และตัวอย่างจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ต้องการขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า (ในประเทศ 4 บาท ระหว่างประเทศ 25 บาท)
  • ตามปกติเมื่อ ปณท ได้รับคำขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้าจะแจ้งให้ที่ทำการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำขอโดยเร็วที่สุด แต่การดำเนินการดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของที่ทำการที่เกี่ยวข้องด้วย

หากคุณพบปัญหาใดๆ ขณะติดตามพัสดุของคุณกับไปรษณีย์ไทย ให้ติดต่อทีมบริการลูกค้าเพื่อขอความช่วยเหลือ โดยสามารถติดต่อทางโทรศัพท์ อีเมล หรือผ่านแบบฟอร์มติดต่อออนไลน์ สำหรับการช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูล เช็คพัสดุไปรษณีย์ อย่าลืมกดติดตามแฟนเพจ @iPhoneDroid.net และทวิตเตอร์ @iPhone_Droid จะได้ไม่พลาดข่าวสารดีๆ ด้วยนะครับ

Android News36 นาที ago

เผยแผนการเปิดตัว One UI 7 Beta ล่าสุดของ Samsung เตรียมได้ตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค. นี้

เรีบกว่ากลับไปกลับมา...

Android News4 ชั่วโมง ago

Dave2D ทำการทดสอบ Snapdragon 8 Elite ได้การประหยัดพลังงานสูงขึ้นถึง 43%

นับว่าเป็นการอัปเกรด...

Android News5 ชั่วโมง ago

คาดหวัง ! Ice Universe เผย One UI 7.0 จะมีแอนิเมชันและการเปลี่ยนฉากต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมมาก

หลังจากที่เคยมีรายงา...

Android News6 ชั่วโมง ago

Redmi Note 14 5G Series ยืนยันเปิดตัวในอินเดียวันที่ 9 ธ.ค. มาพร้อมสโลแกน “Super Camera, Super AI”

Xiaomi ได้ประกาศวันเ...

Apple News7 ชั่วโมง ago

ลือ ! Apple กำลังสร้าง ‘LLM Siri’ ในปี 2026 บน iOS 19

ตามรายงานของ Bloombe...

Android News22 ชั่วโมง ago

เช็คกัน !! OPPO เผยตารางอัปเดต ColorOS 15 บน Android 15 ทั่วโลก

ในวันนี้ OPPO ได้เปิ...

Apple News22 ชั่วโมง ago

อย่างสวย ! YouTuber โชว์ดีไซน์ iPhone 17 Air กล้องหลัง 1 เลนส์ พร้อมจอ Dynamic Island

เราได้ยินมาแค่ข่าวลื...

HUAWEI IdeaHub HUAWEI IdeaHub
IT News22 ชั่วโมง ago

หัวเว่ยเผยโฉม IdeaHub รุ่นเรือธงพร้อมอัดโปรเด็ดหนุนผู้นำจออัจฉริยะเพื่อออฟฟิศยุคใหม่

หัวเว่ยเปิดตัว IdeaH...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก