ข่าวประชาสัมพันธ์
HUAWEI คว้า 8 รางวัลรวดจากงาน Interop Tokyo 2020!
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนต่อหลายภาคอุตสาหกรรม ทว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวไม่อาจหยุดยั้งการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมไอซีทีได้ ดังจะเห็นได้จากการที่คณะกรรมการจัดงาน Interop Tokyo 2020 งานมหกรรมด้านไอซีทีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัล Best of Show Awards โดยผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ยคว้าชัยชนะมาทั้งสิ้น 8 รางวัล และในจำนวนนี้ยังเป็นรางวัลใหญ่ถึง 5 รางวัลด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- รางวัลใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย (Grand Prize in Network Infrastructure) สำหรับผลิตภัณฑ์ OptiXtrans OSN 9800 M12 ผลิตภัณฑ์ด้านการส่งผ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Super C-band ตัวแรกของอุตสาหกรรม
- รางวัลใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีคลาวด์ (Grand Prize in Cloud Infrastructure) สำหรับผลิตภัณฑ์สวิทช์ศูนย์ข้อมูล CloudEngine 16800 ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีจำนวน line card 400 GE มากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม
- รางวัลใหญ่ด้านเซิร์ฟเวอร์และระบบจัดเก็บข้อมูล (Grand Prize in Server and Storage) สำหรับผลิตภัณฑ์ OceanStor Dorado 8000/18000 V6 โซลูชันระบบ All Flash Storage รุ่นใหม่จากหัวเว่ย มุ่งตอบรับกับสถานการณ์การผลิตและการดำเนินงานหลักๆ รวมทั้งเดินหน้าสร้างหมุดหมายด้านประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความอัจฉริยะ
- รางวัลใหญ่ด้าน IoT (Grand Prize in IoT) สำหรับผลิตภัณฑ์ AR502H เกตเวย์การประมวลผลแบบ Edge Computing ของหัวเว่ย
- รางวัลใหญ่ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Grand Prize in Facility) สำหรับผลิตภัณฑ์ eMIMO โซลูชันอำนวยความสะดวกให้กับการประมวลผลแบบ Edge Computing
- ผลิตภัณฑ์คลัสเตอร์ Atlas 900 AI เป็นผลิตภัณฑ์เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับรางวัลในประเภทเทคโนโลยี AI
- รางวัลพิเศษด้าน Enterprise IT สำหรับผลิตภัณฑ์ Huawei 5G AR NetEngine AR6000
รางวัลพิเศษด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย (Special Prize in Network Infrastructure) สำหรับผลิตภัณฑ์ OptiXtrans DC908 โซลูชัน Data Center Interconnect (DCI) อัจฉริยะของหัวเว่ย ซึ่งสามารถรองรับอัตราการรับส่งข้อมูลได้ถึง 88 Tbit ในหนึ่งวินาทีต่อหนึ่งเส้นใยแก้ว และมีระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ที่สามารถใช้งานร่วมกับ AI ได้
รางวัลทั้งหมดที่หัวเว่ยได้รับจากงาน Interop Tokyo 2020 รวมถึงในหลายปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าหัวเว่ยเป็นที่ยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนวัตกรรมและคุณภาพ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ความยอมรับดังกล่าว ทั้งจากเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมและจากผู้บริโภค ยังคงเป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลังการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของหัวเว่ย ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในระยะยาว เพื่อมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีทีที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงยิ่งขึ้น สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น และเป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้นให้แก่ผู้บริโภค ผ่านนวัตกรรมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยี โดยปัจจุบันมีเมืองมากกว่า 700 แห่งและบริษัท 288 แห่งที่ติดอันดับ Fortune Global 500 ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีบริษัท 58 แห่งที่ติด 100 อันดับแรก ตัดสินใจเลือกใช้หัวเว่ยเป็นพาร์ทเนอร์ในด้านการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล (digital transformation)