Connect with us

IT News

HUAWEI จับมือ สกมช. เร่งเสริมบทบาทสตรีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมปลูกฝังทักษะเพื่อสร้างแรงงานด้านไซเบอร์ที่แข็งแกร่งและมีความหลากหลาย

Published

on

ภูมิทัศน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกมิติ ในปัจจุบัน หลายองค์กรได้บูรณาการความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งหมายความว่าหลายภาคอุตสาหกรรมจะต้องการผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเติมเต็มความต้องการที่กำลังเติบโตในสายงานด้านนี้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังขาดแคลนความแตกต่างหลากหลายของผู้มีความรู้ความสามารถ ความไม่สมดุลของจำนวนเพศชายและหญิงยังคงปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในสายงานด้านนี้ โดยพบว่า ในปี 2565 มีผู้หญิงจำนวนคิดเป็นสัดส่วนแค่ 25% ที่ทำงานในด้านนี้ ทั้งนี้ ในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก ทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต่างพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้รองรับกับความท้าทายที่เกิดจากอาชญากรไซเบอร์ในปัจจุบัน  หนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย และ สกมช. ในการจัดการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมความรู้ความสามารถให้แก่แรงงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างภูมิทัศน์ดิจิทัลที่แข็งแกร่งและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงโครงการจัดการแข่งขันครั้งนี้ว่า “ในประเทศไทยมีจำนวนผู้หญิงที่ทํางานในสายไซเบอร์ซีเคียวริตี้คิดเป็น 3% ของแรงงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 10% เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับหัวเว่ยในการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์หญิงในประเทศและส่งเสริมความหลากหลายทางเพศให้กับอุตสาหกรรมไอทีด้วยการจัดการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นอกจากนี้ หัวเว่ย และ สกมช. ไม่เพียงแต่มองเห็นการเสริมศักยภาพของผู้หญิงในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ทั้งสององค์กรมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตซึ่งให้ความสำคัญกับความหลากหลายซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของนวัตกรรมและความเป็นเลิศในโลกดิจิทัลที่พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว”

การแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ประกอบไปด้วยการแข่งขันในรอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 218 ทีมจากสามระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน (Junior) ระดับนักศึกษา (Senior) และระดับประชาชนทั่วไป (Open) รวมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ระดับ กว่า 407 คน และมีการจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศแบบออนไซต์ เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศในแต่ละระดับจากทีมที่ได้รับคัดเลือกจํานวน 30 ทีม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่ผู้หญิงและผู้มีเพศสภาพหญิง ซึ่งจะปูทางไปสู่การสร้างผู้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลที่หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันยังเป็นการยกระดับความรู้ ทักษะ ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงศักยภาพด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ และยังช่วยให้ประเทศไทยมีแรงงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอกับความต้องการในปัจจุบันและในอนาคต

น.ส. พิมพ์ชนก อุตตะมี ตัวแทนผู้ชนะจากทีม ‘NR01’ ในระดับนักเรียน (Junior) กล่าวว่า “การได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นครั้งแรก ประสบการณ์ที่ได้รับค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่ซึ่งช่วยเปิดโอกาสอันมากมายให้ได้เรียนรู้และแสดงความสามารถ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ในฐานะผู้หญิงยุคใหม่ซึ่งมีความสนใจในสายงานด้านนี้ บทบาทสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การเผยแพร่ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ผู้อื่นเท่าที่จะทำได้ และเราทุกคนล้วนแล้วแต่สามารถส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของเยาวชนไทยในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติหรือการรู้เท่าทันถึงภัยคุกคามไซเบอร์”

“เทคโนโลยีจากหัวเว่ยและองค์กรเอกชนอื่น ๆ จะมีบทบาทอย่างมากในการช่วยยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับและป้องกันกิจกรรมที่ละเมิดกฎหมายไซเบอร์ เช่น การใช้ประโยชน์จาก AI ในการตรวจจับและคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจากนี้ การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันแข็งแกร่งเกี่ยวกับความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับคนไทย” น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวเสริม

ร.ท.หญิง รติรส แผ่นทอง ร.น. และ จ.ส.ต.หญิง ณัฐธยาน์ เรื่อศรีจันทร์ จากทีม ‘hacKEr4nDtHECA7-1’ ในระดับประชาชนทั่วไป (Open) กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ของกองทัพไทยโดยตรง เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ เพราะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพหน่วยงานของเราในการปกป้องความปลอดภัยระบบนิเวศทางไซเบอร์ของประเทศไทย อีกทั้งเป็นการวัดระดับขีดความสามารถของพวกเราเมื่อเทียบกับบุคคลภายนอก พร้อมเป็นการส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในกับหน่วยงานได้”

“เราอยากจะสนับสนุนให้ผู้หญิง หรือผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิง รวมไปถึงเพศสภาพอื่นๆ (LGBTIQA+) ให้ลองออกมาทำในสิ่งที่ท้าทายตัวเองมากขึ้น เช่น การเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้วยการยกระดับทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมศักยภาพแรงงานดิจิทัลของทั้งอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การสร้างสรรค์ให้เกิดความหลากหลายภายในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้วยการเพิ่มจำนวนผู้หญิงและผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิง (LGBTIQA+) จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนผู้มีความรู้ความสามารถและส่งเสริมไอเดียนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพยายามของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ภาคเอกชนก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ดังเช่นหัวเว่ยซึ่งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และบุคลากรมาโดยตลอด ความร่วมมือนี้จะมีส่วนช่วยในการสร้างภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศต่อไป” ร.ท.หญิง รติรส กล่าวเสริมในตอนท้าย

ทั้งนี้ หัวเว่ยดำเนินงานในประเทศไทยมาเป็นเวลา 24 ปี และบริษัทได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วของประเทศ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลและเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเหล่าพาร์ทเนอร์รายสำคัญ สร้างสรรค์มาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ช่วยให้ประเทศเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย’ (In Thailand, For Thailand) และ ‘ก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Leading Everyone Forward and Leaving No One Behind) ของหัวเว่ย บริษัทจะยังคงลงทุนในประเทศไทยต่อไปเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับสถานะของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาค

Advertisement
Android News6 ชั่วโมง ago

สวยเกิ้นนนน…หลุดคลิป Hands On HUAWEI Pura 70 Ultra สีแดงใหม่ คาดเปิดตัวเป็นรุ่นพิเศษต้อนรับตรุษจีน! (มีคลิป)

ใกล้ช่วงตรุษจีนแบบนี...

Smart Review7 ชั่วโมง ago

รีวิว POCO X7 Pro สมาร์ทโฟน Full Speed Ahead พร้อม Dimensity 8400-Ultra ระดับเรือธง และสเปคทรงพลังขั้นสุดทุกด้าน

รีวิวฉบับเต็ม POCO X...

Apple News8 ชั่วโมง ago

ลือ ! iPhone 17 Series จะได้ใช้แผ่น Vapor Chamber เพื่อช่วยเรื่องระบายความร้อน

ในเรื่องการระบายความ...

Android News9 ชั่วโมง ago

รุ่นนี้เอง…หลุดผลทดสอบ OPPO Find N5 ใช้ชิป Snapdragon 8 Elite แบบ 7-Core แต่คะแนนยังสูงสุด ๆ

ก่อนหน้านี้เรารายงาน...

Apple News10 ชั่วโมง ago

ลือ iOS 19 อาจปรับหน้า UI กล้องใหม่ ได้แรงบันดาลใจจาก Vision Pro ชัดเจน!?

เริ่มลือกันเลยกับ iO...

Android News11 ชั่วโมง ago

Galaxy Tab S10 FE และ Tab Active 5 Pro แท็บเล็ตรุ่นประหยัดและรุ่นแกร่งมีลุ้นเปิดตัวเร็วๆ นี้

นอกจากที่ Samsung Ga...

Android News11 ชั่วโมง ago

หลุด Infographic ว่าด้วยเรื่อง S Pen ของ Galaxy S25 Ultra แง้มหัวปากกาใหม่และไม่รองรับ Bluetooth !?

เรียกว่าหลุดมาแบบหยุ...

Android News12 ชั่วโมง ago

มาไงนิ…โผล่ข้อมูล Snapdragon 8 Elite รหัสใหม่ SM8750-3-AB มาพร้อม CPU 7-Core !?

เมื่อปลายปีที่แล้ว Q...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก