ข่าวประชาสัมพันธ์
HUAWEI เปิดตัวแผนคอมพิวเตอร์วิทัศน์ รองรับความท้าทายในอนาคตจากนวัตกรรมล้ำสมัย
หัวเว่ยถ่ายทอดความสำเร็จด้านการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ ภายในงานประชุมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของหัวเว่ยประจำปี พ.ศ. 2563 (Cloud) หรือ Huawei Developer Conference 2020 (HDC.Cloud) เมื่อเร็วๆ นี้ โดยหัวเว่ยได้เปิดเผยเอกสารและรหัสอัลกอริทึม (Algorithm Code) สำหรับนักพัฒนาระดับโลกเพื่อมองหาความคิดริเริ่มใหม่ๆ ด้านการวิจัย พัฒนา และการติดตั้งปัญญาประดิษฐ์ (AI) นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวแผนคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (โดยอ้างอิงจากแผนวิสัยทัศน์) และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ระดับโลกเข้าร่วมการวิจัยดังกล่าวด้วย
แพลตฟอร์มการประมวลผลคอมพิวเตอร์ Atlas AI ซึ่งใช้ชิปเซ็ตประมวลผล Ascend AI ของหัวเว่ยในการมอบขุมพลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนแผนดังกล่าว โดยผลการวิจัยเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในโครงการ MindSpore ของหัวเว่ย อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์แบบ AI สำหรับรองรับการใช้งานในทุกสถานการณ์ โครงการดังกล่าวเปิดกว้างสำหรับทุกคนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้นักพัฒนา AI ทั่วโลกสามารถฉีกกรอบขีดจำกัด สร้างสรรค์นวัตกรรมและความชาญฉลาดให้แพร่หลายได้อย่างต่อเนื่อง
เผยความสำเร็จการวิจัยพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ของหัวเว่ย
การลงทุนในการวิจัยขั้นพื้นฐานนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของกลยุทธ์ด้าน AI ของหัวเว่ย โดยหัวเว่ยได้สร้างประสิทธิภาพขั้นพื้นฐานในหลากหลายด้านอย่างต่อเนื่อง อาทิ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ รวมทั้งการตัดสินใจและการอนุมาน ประสิทธิภาพเหล่านี้ล้วนจำเป็นต่อการพัฒนา Machine Learning ให้มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ และสามารถปฏิบัติการได้อย่างอัตโนมัติ
นายเทียน ชี่ หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์แห่งห้องปฏิบัติการโนอาห์ อาร์ค (Noah’s Ark) ของหัวเว่ย และสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (The Institute of Electrical and Electronics Engineers – IEEE) ได้ร่วมเผยความคืบหน้าล่าสุดของการวิจัยในด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ กล่าวว่า “หัวเว่ยได้ทุ่มทุนจำนวนมากในการวิจัยขั้นพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์นี้ โดยมุ่งให้ความสำคัญที่ข้อมูล ความรู้ และรูปแบบ ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ตีพิมพ์วารสารกว่า 80 ฉบับ ในที่ประชุมชั้นนำด้าน AI และวารสารต่างๆ เช่น CVPR (Computer Vision and Pattern Recognition), ICCV (International Conference on Computer Vision), NeurIPS (Neural Information Processing) และ ICLR (International Conference on Learning Representations) หัวเว่ยสร้างความสำเร็จที่ถือเป็นการปฏิวัติวงการมากมาย โดยผลการวิจัยเหล่านี้เปิดกว้างในวงการอุตสาหกรรม ในรูปแบบของบทความวิชาการและรหัสต้นทาง (source code) ซึ่งเราได้เชิญนักพัฒนา AI ระดับโลกมาทำการวิจัย พัฒนา และการติดตั้ง AI โดยอ้างอิงจากผลการวิจัยที่มีอยู่แล้วของหัวเว่ย”
แผนวิสัยทัศน์สำหรับนักพัฒนา AI ทุกคน
ศาสตราจารย์เทียน ชี่ ได้เปิดเผยถึงแผนคอมพิวเตอร์วิทัศน์ของหัวเว่ยว่า “หัวเว่ยจะลงทุนอย่างครอบคลุมและต่อเนื่องในด้านการวิจัยขั้นพื้นฐาน การจัดการอุปสรรคขั้นพื้นฐานทั้งสาม ในด้านการวิเคราะห์ภาพ (Visual Recognition) เพื่อให้สามารถสืบค้นความรู้จากข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบโมเดลสำหรับการวิเคราะห์ภาพ (Visual Recognition) ที่มีประสิทธิภาพ และการเป็นตัวแทนสัญลักษณ์และการจัดเก็บของความรู้ ซึ่งการพิชิตอุปสรรคเหล่านี้ได้จะช่วยผลักดันความชาญฉลาดในภาพรวมได้”
แผนวิสัยทัศน์นี้ประกอบด้วยแผนระดับย่อย 6 แผน ได้แก่
- แผนภูเขาน้ำแข็งแห่งข้อมูล (Data Iceberg Plan): ใช้ข้อมูลจำนวนไม่มากจากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ ในการปลดปล่อยสมรรถภาพของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ไม่เคยได้รับการบันทึก และสนับสนุนรูปแบบการฝึกฝน (Model Training) ในสถานการณ์ตัวอย่างขนาดย่อมที่หลากหลาย
- แผนลูกเต๋ามหัศจรรย์แห่งข้อมูล (Data Magic Cube Plan): ใช้การแสดงปริมาณหลายหลายรูปแบบ การจัดเรียง และกลยุทธ์แบบผสมผสานในการเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ของโมเดลต่างๆ ตามสถานการณ์จริง
- แผนโมเดลไฮ-ทัชชิ่ง (Model High-touching Plan) : สร้างโมเดลขนาดใหญ่บนเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อสำรวจขีดจำกัดความสามารถต่างๆ ของปฏิบัติการที่หลากหลายในด้านวิทัศน์
- แผนลดจำนวนวิธี (Mode Slimming Plan): สร้างโมเดลระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับฝ่ายอุปกรณ์ เพื่อช่วยให้ชิปสามารถหาข้อสรุปและเติมเต็มข้อวินิจฉัยอันซับซ้อนได้
- แผนการมองเห็นทั่วไป: กำหนดภารกิจก่อนการอบรมด้านวิทัศน์ เพื่อสร้างโมเดลวิทัศน์แบบกว้าง
- แผนการผนวกวีอาร์ (V-R Integration Plan): ควบคุมคอมพิวเตอร์วิทัศน์สู่ AI ผ่านการผสมผสานการจำลองเสมือน (VR) เข้ามาใช้งาน
ในขณะเดียวกัน ศาสตราจารย์เทียน ชี่ กล่าวว่า “เรายินดีต้อนรับนักวิจัยด้าน AI ทั่วโลกในการเข้าร่วมแผนวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยในการเฟ้นหานวัตกรรมและสำรวจอนาคตไปด้วยกัน ความสามารถทางการคำนวณอันทรงพลังของผลิตภัณฑ์ Atlas แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์แบบ AI ของหัวเว่ย จะเร่งการนำแผนวิสัยทัศน์ไปปรับใช้จริงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลการวิจัยเหล่านี้จะถูกนำไปใช้อย่างเต็มที่ใน MindSpore ซึ่งเป็นกรอบด้านการคำนวณแบบ AI ของหัวเว่ย ที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์การใช้งานและเปิดเผยต่ออุตสาหกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมนักพัฒนาทุกคน”
ในงานหัวเว่ย คอนเน็กต์ประจำปี พ.ศ. 2552 (HUAWEI CONNECT 2018) หัวเว่ยได้เผยกลยุทธ์ด้าน AI เป็นครั้งแรก โดยเน้นการวิจัยขั้นพื้นฐานของ AI และการร่วมมือกับสถาบันวิจัยระดับโลกรวมถึงเหล่านักพัฒนาเพื่อการสร้างอีโคซิสเต็มของ AI นอกจากนี้ ภายในงานการประชุมนักพัฒนาหัวเว่ย (HDC. Cloud) หัวเว่ยได้จัดแสดงชุดความสำเร็จด้านการวิจัยขั้นพื้นฐานแบบองค์รวมในด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์และเปิดตัวแผนวิสัยทัศน์ ด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องในการวิจัยขั้นพื้นฐานของ AI และนวัตกรรมที่เปิดกว้าง ทำให้หัวเว่ยสามารถขยายขอบเขตแห่งความชาญฉลาดที่รอบด้านออกไปได้อย่างต่อเนื่อง