Connect with us

IT News

HUAWEI มุ่งสนับสนุนวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Published

on

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมและศูนย์กลางความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในแต่ละภูมิภาครวมถึงเอเชียแปซิฟิก และการผสานกันระหว่างเทคโนโลยีขั้นสูงจาก 5G, คลาวด์, AI รวมถึงการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างโอกาสทางธุรกิจที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับภาคเทคโนโลยีไอซีที โดยรายงาน Asian Economic Integration Report ประจำปี พ.ศ. 2564 ระบุว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี และจะมากกว่า 8.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึงปี พ.ศ. 2568 การเติบโตของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้มีการสร้างงานใหม่ประมาณ 65 ล้านตำแหน่งต่อปีในภูมิภาคนี้ ไปจนถึงปี พ.ศ. 2568

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดเผยถึงบทบาทของหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีในภูมิภาค ในด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีไอซีทีว่า “โดยพื้นฐานแล้ว โลกอนาคตของเราจะขึ้นอยู่กับแรงขับเคลื่อน 3 ประการ ได้แก่ แรงขับเคลื่อนด้านธุรกิจ แรงขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี และแรงขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน”

“ประการแรก คือแรงขับเคลื่อนด้านธุรกิจจะเกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลและการยกระดับคุณภาพการบริการ แรงขับเคลื่อนประการที่สอง คือเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งรวมถึง 5G ขั้นสูง, 6G และ IPv6+ และเทคโนโลยีการประมวลผลที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับแอปพลิเคชันใหม่และสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี ประการสุดท้ายคือแรงขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีบทบาทในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งลงทุนอย่างไม่หยุดยั้งในด้านความยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงลดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ยังมุ่งมั่นพัฒนาอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงานกว่าเดิมด้วย” เขากล่าว

หัวเว่ยจัดงานเปิดตัวโซลูชัน Huawei FusionSolar Residential Smart PV ภายในงาน ‘Green for Future’ ณ ลานกิจกรรมเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อรองรับการผลิตและใช้งานพลังงานไฟฟ้าสะอาดภายในบ้าน

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเปี่ยมไปด้วยโอกาสทางดิจิทัล แต่ระดับความพร้อมในแต่ละแห่งล้วนแตกต่างกัน นายไซมอน หลิน อธิบายว่า “รายงาน Global Connectivity Index (GCI) ของหัวเว่ย เปิดเผยว่าประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 63, 58 และ 59 จากทั่วโลก ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่2 ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีความเร็วบรอดแบนด์คงที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับสิงคโปร์และประเทศไทย กล่าวโดยสรุป การเข้าถึงระบบคลาวด์ในภูมิภาคยังน้อยกว่า 20% ในขณะที่การใช้มือถือ 4G นั้นสูงกว่า 50% เล็กน้อย และมีจำนวนครัวเรือนเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่เข้าถึงเครือข่ายแบบฟิกซ์บรอดแบนด์หัวเว่ยจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตของผู้คนผ่านการใช้เทคโนโลยี”

“หัวเว่ยวางแผนเพิ่มการลงทุนในโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากการผลิตพลังงานสะอาด ระบบขนส่งพลังงานไฟฟ้าและระบบจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจหมุนเวียน” นายไซมอน หลิน กล่าว

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ขึ้นกล่าวในงานจัดแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยี ‘Powering Digital Thailand 2022 Huawei Cloud & Connect Asia-Pacific Innovation Day’

ทั้งหมดที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการนำเสนอพอร์ตโฟลิโอด้านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม

“หัวเว่ยนำเสนอเทคโนโลยีขั้นสูงในด้าน 5G, AI, คลาวด์และบล็อกเชน เรามุ่งมั่นส่งมอบประสบการณ์ที่ใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตัวอย่างหนึ่งที่เราทำคือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการปรับปรุงเครือข่าย 4G” เขากล่าวเสริม

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนับเป็นผู้นำด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตัวอย่างที่เราเห็นคือ ประเทศสิงคโปร์ได้เปิดตัวพิมพ์เขียว Smart Nation 2025 อินโดนีเซียและมาเลเซียเปิดตัวกลยุทธ์สำหรับการมุ่งสู่ดิจิทัล บังกลาเทศเปิดตัวกลยุทธ์ที่เรียกว่า Digital Bangladesh และไทยประกาศวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในอาเซียน

เมื่อกล่าวถึงบทบาทของหัวเว่ยในการสนับสนุนวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลในระดับประเทศ นายไซมอน หลิน เปิดเผยว่า “ในการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่นี้ เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักให้แก่วิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราจะเน้นที่สามด้านหลัก คือ การเชื่อมต่อและเทคโนโลยีอัจฉริยะ การพัฒนาด้านการลดการใช้คาร์บอนอย่างยั่งยืน และการเข้าถึงดิจิทัลอย่างเท่าเทียม ผมคิดว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) นั้นหมายถึงการเชื่อมต่อทางดิจิทัล ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี 4G, 5G, ไฟเบอร์ และ IoT การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้จำนวนผู้ใช้บริการระบบดิจิทัลและการให้บริการด้านดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และหัวเว่ยมีบทบาทในการเป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง”

หัวเว่ยยังมุ่งสนับสนุนการพัฒนาคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนายไซมอน หลินได้อธิบายว่า “เราลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านการวิจัยและพัฒนา ทำให้อัตราการปล่อยคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ E2E ของหัวเว่ยลดลงกว่า 80% เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเท่ากัน เราช่วยลูกค้าประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยหัวเว่ยได้ผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้แก่บริการด้านดิจิทัลพาวเวอร์  ทำให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโครงสร้างพื้นฐานไอซีที ผ่านการใช้ประโยชน์จากการผลิตพลังงานสะอาด ระบบขนส่งพลังงานไฟฟ้าและระบบจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ ซึ่งภายในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 230 ล้านตัน”

นายไซมอน หลิน ยังกล่าวเสริมว่า “เรามุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ครอบคลุมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในวิสัยทัศน์ของเรา โลกดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับผู้คนและมนุษยชาติ โดยในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ หัวเว่ยวางแผนลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิก และอีก 5 ปีจากนี้ เราจะลงทุนเป็นมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาผู้มีทักษะด้านดิจิทัลให้ได้ถึง 500,000 คน”

“สำหรับผม การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลกำลังเกิดขึ้นในหลายระดับ การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม เช่น เกษตรกรรม เหมืองแร่เหมืองเหล็กกล้า และการก่อสร้างยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น เน้นไปที่การหมุนเวียนด้านพลังงาน วัสดุอุปกรณ์ และบุคคล อุตสาหกรรมไอซีทีมีบทบาทเป็นเพียงระบบสนับสนุน ในขณะที่อุตสาหกรรมการขนส่ง การศึกษา และโครงข่ายไฟฟ้าอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยที่ไอซีทีอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบสนับสนุนไปยังระบบการผลิต สุดท้ายนี้การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่อ การธนาคาร และ Over-the-Top (OTT) ถือว่าอยู่ในขั้นสูง มุ่งเน้นการหมุนเวียนของข้อมูลและแหล่งเงินทุน ซึ่งไอซีทีก็เข้ามามีบทบาทในฐานะระบบการผลิตแล้ว” นายไซมอน หลินกล่าวปิดท้าย

Android News19 นาที ago

รอชม ! One UI 7 Beta อาจปล่อยตัวทดสอบภายในสัปดาห์หน้า

หลังจากที่รอคอยกันมา...

Apple News49 นาที ago

ยังไม่ 120Hz !! Apple กำลังพัฒนา iPad Air, Studio Display และ iMac จอ 90Hz อยู่

หลังจากที่มีข่าวลือข...

Android News1 ชั่วโมง ago

มาอีก…ภาพเคส Galaxy S25 Series ยืนยันดีไซน์มุมเครื่องโค้งทุกรุ่น พร้อมหน้าจอแบนราบทั้งหมด!

เราน่าจะได้เห็นดีไซน...

Android News1 ชั่วโมง ago

ผลทดสอบแรกชิป Tensor G5 ของ Pixel 10 Series มาแล้ว คะแนนยังตามหลังคู่แข่งอยู่เยอะ!?

Pixel 10 Series เรือ...

HarmonyOS2 ชั่วโมง ago

ลือ !! HUAWEI Mate 70 Series อาจเปิดตัววันที่ 19 พ.ย. นี้

เมื่อวานนี้ Yu Cheng...

Android News2 ชั่วโมง ago

ลือ OPPO Reno13 Series เปิดตัววันที่ 25 พ.ย.นี้ พร้อมสเปคเบื้องต้น ที่น่าสนใจไม่แพ้รุ่นเรือธง!

OPPO เปิดตัวเรือธง F...

Apple News2 ชั่วโมง ago

Apple ปิดกั้นการกาวน์เกรด (Stops Signing) ลงมาเป็น iOS 18.0.1

วันนี้ Apple ได้ปิดก...

Apple News3 ชั่วโมง ago

Apple ออกอัปเดต iOS 18.2 Developer Beta 2 เพิ่มการจำกัด Siri กับ ChatGPT พร้อมตัวเลือกหมวด Plus

ในวันนี้ Apple ได้ออ...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก