ข่าวประชาสัมพันธ์
HUAWEI ทุ่มงบกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสริมแกร่งอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในเอเชีย-แปซิฟิกต่อเนื่องสามปี
หัวเว่ยประกาศแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในงาน Spark Founders Summit ซึ่งจัดขึ้นพร้อม ๆ กันทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง โดยระบุว่าเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวจะถูกนำไปใช้กับโครงการ Spark ของบริษัทฯ ที่มุ่งสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้มีความยั่งยืน โดยเป็นงบการลงทุนสำหรับระยะเวลาสามปี
หัวเว่ยได้มีส่วนช่วยสนับสนุนสิงคโปร์ในการสร้างศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพแห่งแรกของเอเชีย-แปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2563 และได้ขยายโครงการไปยังฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ตลอดปีที่ผ่านมา โดยภายในงาน Spark Founders Summit หัวเว่ยยังประกาศอีกว่าโครงการดังกล่าวจะเน้นความสำคัญไปที่การพัฒนาศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพเพิ่มเติมอีกสี่แห่งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม มีเป้าหมายในการรวบรวมสตาร์ทอัพกว่า 1,000 ราย โดยสตาร์ทอัพ 100 รายจากในจำนวนนี้จะได้รับการต่อยอดสู่โครงการ Spark Accelerator
หัวเว่ย ประเทศไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานนวัตกรรแห่งชาติ (NIA) และพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย ได้เปิดตัวการแข่งขัน “Spark Ignite 2021 – Thailand Startup Competition” ในเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อชิงรางวัลในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Huawei Spark Accelerator เป็นโครงการแข่งขันที่มุ่งเป็นหนึ่งในงานด้านสตาร์ทอัพที่ใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุดของไทยในครั้งนี้ จะตอกย้ำความสำคัญของอีโคซิสเต็มสำหรับสตาร์ทอัพในประเทศ โดยมีสตาร์ทอัพศักยภาพสูงกว่า 10 รายจากทั่วประเทศเข้าร่วม รวมทั้งเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ก่อตั้ง ธุรกิจเงินร่วมลงทุน บริษัทต่าง ๆ และภาครัฐเข้าด้วยกัน
ผู้เข้าร่วมภายในงาน Spark Founders Summit ประกอบไปด้วยตัวแทนที่มีชื่อเสียงจากสตาร์ทอัพ ภาควิชาการ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ภาครัฐ และสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชีย รวมไปถึงธุรกิจการร่วมลงทุน (Venture Capitalists) ระดับต้น ๆ ของภูมิภาคกว่า 50 ราย และผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพอื่น ๆ อีก 300 ราย โดยการปราศัยและการพูดคุยในงาน เน้นย้ำในหัวข้อเกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมของอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพ และวิธีการส่งเสริมนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและอีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโครงการเกี่ยวกับสตาร์ทอัพอีกสามโครงการภายในงานดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Spark Developer Program ที่มุ่งฟูมฟักอีโคซิสเต็มนักพัฒนาในเอเชีย-แปซิฟิกผ่าน HUAWEI CLOUD โครงการ Spark Pitstop Program ที่ออกแบบมาเพื่อดูแลและให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในระบบ HUAWEI CLOUD ให้สามารถเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ และโครงการ Spark Innovation Program (SIP) ที่เน้นด้านการอำนวยความสะดวกด้านนวัตกรรมธุรกิจองค์กรผ่านอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพภายใต้โครงการ Spark
คุณแคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ย กล่าวเปิดงาน Spark Founders Summit ด้วยการเน้นย้ำถึงความสำคัญของสตาร์ทอัพในเรื่องส่งเสริมให้สังคมพัฒนาอย่างก้าวหน้า และภารกิจของหัวเว่ยในการสนับสนุนสตาร์ทอัพต่าง ๆ
“เราต่างทราบดีถึงศักยภาพของสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี ที่เป็นทั้งนักประดิษฐ์คิดค้น นักปฏิรูป และผู้บุกเบิกของยุคสมัย โดยธุรกิจเหล่านี้สร้างการจ้างงานคิดเป็นสัดส่วนถึงสองในสามจากทั้งโลก สร้างงานใหม่ทั้งหมดกว่าสองในสามจากทั้งโลก ทั้งยังได้สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของโลกได้กว่า 50% โดยเมื่อ 34 ปีที่แล้ว หัวเว่ยเองก็เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าการจดทะเบียนเพียง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น เราจึงมีความคิดว่าเราจะสามารถใช้ประสบการณ์และทรัพยากรที่เรามีอยู่เพื่อช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพอื่น ๆ ก้าวข้ามความท้าทายได้อย่างไร โดยเราคาดว่าความช่วยเหลือนี้จะสามารถช่วยให้สตาร์ทอัพคว้าโอกาสที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุตดิจิทัล ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโลกได้มากขึ้น”
คุณจาง ผิงอัน (Zhang Ping’an) ประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ย ระบุว่า “นับตั้งแต่เปิดตัว HUAWEI CLOUD ในปี 2560 ถือได้ว่าบริการคลาวด์เติบโตเร็วที่สุดในโลก และผลักดันให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโตมาแล้วนับไม่ถ้วน เมื่อปีที่แล้ว เราได้เปิดตัวโครงการ Spark Program ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และได้ร่วมงานกับรัฐบาลหลายประเทศผ่านโครงการดังกล่าว รวมถึงร่วมงานกับผู้ให้ความรู้และให้คำแนะนำสตาร์ทอัพในระดับแนวหน้า บริษัทผู้ลงทุน (Venture Capital) ที่มีชื่อเสียง และมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกมากมาย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสนับสนุนเหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพในหลากหลายภูมิภาค และปัจจุบันมีธุรกิจสตาร์ทอัพจำนวนถึง 40 แห่งที่เข้าร่วมโครงการกับเรา”
คุณจาง ผิงอัน กล่าวต่อไปว่า “ตั้งแต่วันนี้ไป เราจะยกระดับการสนับสนุนแก่ธุรกิจสตาร์ทอัพผ่านนโยบายใหม่ 4 ประการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการทำงานผสานกันระหว่างคลาวด์กับคลาวด์ (cloud-plus-cloud collaboration) การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง บริการคลาวด์ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น และอีโคซิสเต็มที่มีคุณภาพสูงสำหรับธุรกิจ วันนี้เราได้เปิดตัวโครงการ Cloud-plus-Cloud Collaboration and Joint Innovation Program ซึ่งเราจะให้การสนับสนุนธุรกิจสตาร์อัพผ่านโครงการดังกล่าวด้วยทรัพยากรมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินลงทุนครึ่งหนึ่งมาจาก HUAWEI CLOUD และอีกครึ่งหนึ่งมาจาก Huawei Mobile Services (HMS) ในปี 2564 นี้เรามีแผนที่จะสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพให้ถึง 200 รายในด้านอีโคซิสเต็ม HMS รวมทั้งแบ่งปันช่องทางจากเครือข่าย ของเรากับนักพัฒนาทั่วโลก ซึ่งต่างทำงานเพื่อรองรับผู้ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยกว่า 1,000 ล้านคน นอกจากนี้ เรายังจะเปิดศูนย์ HMS Developer Innovation Center เพื่อสนับสนุนนักพัฒนา HMS Cloud กว่า 100,000 รายโดยเฉพาะ”
มีธุรกิจสตาร์ทอัพจำนวนมากขึ้นเรื่องๆ ที่ต้องการการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลแบบครบวงจร เมื่อพวกเขาต่างต้องการมุ่งสู่โลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ โครงสร้างพื้นฐานของ HUAWEI CLOUD จะทำงานประสานกับ Huawei Mobile Services เพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพจากทุกแวดวงอุตสาหกรรม บริการคลาวด์ของหัวเว่ยจะช่วยให้นักพัฒนาและพาร์ทเนอร์เชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้ แพลตฟอร์มการพัฒนา การเผยแพร่และบริหารจัดการแอปพลิเคชันเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ขณะนี้ HMS ถือเป็นอีโคซิสเต็มของแอปพลิเคชันมือถือที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และกำลังช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพจำนวนมากในการขยายศักยภาพของพวกเขาในระดับโลก โดยปัจจุบันมีนักพัฒนาที่ใช้ HMS อยู่กว่า 4.5 ล้านคนจาก 170 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก
หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวแผนงานต่าง ๆ ที่จะทำให้นักพัฒนาได้เข้าถึงเครือข่ายช่องทางจากพาร์ทเนอร์ทั่วโลกของหัวเว่ย ซึ่งรวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมชั้นนำของโลก 50 รายและสถาบันการเงินในท้องถิ่น และในด้านของการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ หัวเว่ยยังวางแผนจะสร้างศูนย์นวัตกรรมสำหรับนักพัฒนาของ HMS (HMS Developer Innovation Center) เพื่อพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 210 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
“จุดยืนของเราที่กล่าวว่า ‘ในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเอเชีย-แปซิฟิก’ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา” คุณเจฟฟรีย์ หลิว ประธานหัวเว่ยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว “ด้วยฐานลูกค้าทั่วโลกและเทคโนโลยี Full-Stack ของหัวเว่ย โครงการ Spark Program จะลงทุนเป็นมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐกินระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า รวมถึงให้การสนับสนุนรอบด้านเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่ยั่งยืนแก่ธุรกิจสตาร์ทอัพและสร้างมูลค่าใหม่ให้กับภูมิภาคที่เต็มไปด้วยศักยภาพ”
ในฐานะผู้จำหน่ายคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลในระดับท้องถิ่น เพื่อการให้บริการในพื้นที่อย่างแท้จริงในประเทศไทย HUAWEI CLOUD มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยประเทศไทยให้บรรลุผลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมถึงสร้างรากฐานดิจิทัลอีโคซิสเต็มในยุคดิจิทัล หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโครงการฝึกอบรมออนไลน์ที่ชื่อว่า Cloud Diary ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยจากทุกวงการ เพื่อมอบประสบการณ์คลาวด์ที่ดีที่สุดผ่านนวัตกรรมที่มีความคล่องตัวสูง โดยมียอดเข้าชมมากกว่า 700,000 ครั้งจากนักพัฒนา นักศึกษามหาวิทยาลัย อาจารย์ และพนักงานองค์กรต่าง ๆ ทั้งนี้ ในปี 2564 หัวเว่ยจะยังเดินหน้าแบ่งปันความรู้ที่จำเป็นต่อยุคดิจิทัลในรูปแบบที่นำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้มากที่สุดต่อไป
ขณะเดียวกันยังมีโครงการ HUAWEI CLOUD Warrior Workshop ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนเพื่อรองรับผู้เข้าฝึกอบรมจากองค์กรต่างๆ ในแวดวงไอที ซึ่งรวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ หัวข้อที่ใช้ในการฝึกอบรมต่างๆ ได้แก่ Security and Compliance, Server and Database Migration to Cloud, Machine Learning, Enterprise Intelligent และ Data Platform on Cloud ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยสอนเชิงปฏิบัติการและให้คำแนะนำอย่างละเอียดทุกขั้นตอน โดยปัจจุบันมีธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมหลักสูตรกต่าง ๆ แล้วราว 30 เจ้า
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้จัดงานสัมนา POWERING DIGITAL THAILAND: HUAWEI CLOUD & CONNECT โดย HUAWEI CLOUD ประเทศไทย ได้มีการจัดการแข่งขัน Cloud Developer Contest ขึ้นเป็นครั้งแรก การแข่งขันดังกล่าวได้สนับสนุนให้ผู้เข่าร่วมการแข่งขันพัฒนาและประยุกต์ใช้โซลูชันที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่คนไทยและสังคม ผ่านการใช้ประโยชน์จากบริการทั้งแบบพื้นฐานและบริการขั้นสูงจาก HUAWEI CLOUD โดยนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำว่า “ประเทศไทยนับว่าผู้เบิกทางด้านเทคโนโลยี Cloud AI และ 5G ซึ่งจะกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการรับเทคโนโลยี Cloud และการเปลี่ยนผ่านอย่างชาญฉลาดในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ความพร้อมเชิงโครงสร้างนับว่าเป็นรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นเราจึงมุ่งส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย”