Connect with us

IT News

HUAWEI ย้ำวิสัยทัศน์ ‘ขับเคลื่อนเอเชียแปซิฟิกสู่การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’

Published

on

เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคาร์บอนต่ำจะเป็นก้าวใหม่สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การผสานระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญที่มนุษย์ต้องเผชิญ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้และกลายเป็นภารกิจระดับโลกที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศต่างๆ ปลายปีที่ผ่านมา ตลาดพลังงานระหว่างประเทศมีความผันผวนและวิกฤตการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมาก ย้ำเตือนให้เราเห็นความสำคัญด้านความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้นไปอีกขึ้น

เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว หัวเว่ยแสดงวิสัยทัศน์ในระหว่างการประชุม APAC Digital Innovation Congress ว่าหัวเว่ยจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีไอซีทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อเสริมศักยภาพการพัฒนาที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เอเชียแปซิฟิกเป็นกลุ่มตลาดที่สำคัญอย่างยิ่งของหัวเว่ย ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เกือบทุกประเทศในอาเซียนได้กำหนดเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน หัวเว่ยจึงได้มุ่งมั่นลงทุนในเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดรับกับนโยบายของภาครัฐ” โบแฮม ซัน ประธานหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวระหว่างการประชุม ‘นวัตกรรมเทคโนโลยี – การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคพลังงานเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ (Technology Innovation-Accelerating Power Digitalization for a Low-Carbon Smart Society)

โบแฮม ซัน กล่าวเสริมว่า ธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ของหัวเว่ย มีพนักงานกว่า 6,000 คน มีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) 12 แห่งทั่วโลก ถือครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีมากกว่า 1,300 ฉบับ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของหัวเว่ยในอุตสาหกรรมดิจิทัล พาวเวอร์

ด้วยการนำจุดเด่นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังและเทคโนโลยีดิจิทัลมาผสานรวมกัน หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ (Huawei Digital Power) ได้คิดค้นโซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำสำหรับใช้ในทุกสถานการณ์ (all-scenario low-carbon energy solutions) ครอบคลุมโซลูชันด้านพลังงานทั้งหมดตั้งแต่การผลิตพลังงานสะอาดไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน อาทิ โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะ (Smart PV) เพื่อผลิตพลังงานสะอาด โซลูชันศูนย์ข้อมูล (Data Center) และ Site Power Facility หรือเทคโนโลยีสำหรับไซต์พลังงานด้านโทรคมนาคมแบบครบวงจร สำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และโซลูชัน mPower สำหรับธุรกิจการขนส่ง ที่ล้วนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การเดินทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำไม่สามารถทำได้โดยลำพัง หัวเว่ยให้คำมั่นที่จะผลักดันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยอีโคซิสเต็มที่เหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหลัก, โซลูชันล้ำสมัย, และสร้างความร่วมมืออย่างเปิดกว้างกับลูกค้า, คู่ค้าในอุตสาหกรรม, ตลอดจนหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อคิดค้นโซลูชัน “ไร้คาร์บอนในทุกสิ่ง” รับอนาคต เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

ในฐานะประเทศสมาชิกของเอเชียแปซิฟิก การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำเป็นฉันทามติสองข้อที่ผู้คนทั่วโลกยอมรับ ประเทศไทยมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลสำหรับนโยบายสองด้านนี้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งก้าวสำคัญที่นำหน้าประเทศส่วนใหญ่ทั้งด้านการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ประกาศนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน และในการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 (United Nations Climate Change Conference – COP 26) ประเทศไทยประกาศแผนงานความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี พ.ศ. 2593 (Carbon Neutrality 2050) เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสหภาพยุโรป และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในการเดินทางสู่วิสัยทัศน์เป้าหมาย ‘Carbon Neutrality 2050’ ครั้งนี้

หัวเว่ยจัดตั้งส่วนธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ ให้บริการในไทยเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย โดยปัจจุบันหัวเว่ยส่งมอบโซลูชันอินเวอร์เตอร์อัจฉริยะ (Smart Inverter) จำนวนกว่า 2.4 กิกะวัตต์ ให้บริการลูกค้าและพันธมิตรมากกว่า 1,000 รายด้วยต้นทุนพลังงานระดับ (LCOE) ที่ดีที่สุด โดยรวมแล้วมีศักยภาพในการผลิตพลังงานสะอาดได้ 6.18 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 6.16 ล้านตัน ตัวอย่างเช่น โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำขนาด 10 เมกะวัตต์ ของบริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) ที่จังหวัดปราจีนบุรี; โซลาร์ รูฟท็อปบนดาดฟ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven กว่า 1,500 แห่ง; โซลาร์ รูฟท็อปขนาด 1.4 เมกะวัตต์ที่เซ็นทรัลพลาซามหาชัย; โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ที่จังหวัดกระบี่ โดยคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2564 ได้มีการติดตั้งผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนกว่า 50,000 ครัวเรือน โดย 14,000 ครัวเรือนได้ช้โซลูชันอัจฉริยะของหัวเว่ย

นายเคน หู ประธานหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย เผยระหว่างการประชุม APAC Digital Innovation Congress ว่า “ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมุ่งสนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และประเทศต่างๆ ก็มุ่งสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยประกาศแผนความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 สิงคโปร์มุ่งบรรลุจุดสูงสุดของการลดการปล่อยคาร์บอน (peak carbon emissions) ในปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่ประเทศจีนจะบรรลุจุดสูงสุดของการลดการปล่อยคาร์บอนในปี พ.ศ. 2573 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันกระบวนการนี้ให้สำเร็จ”

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับโอกาสทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเขาย้ำถึงพันธกิจ ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘In Asia-Pacific, for Asia-Pacific’ ของหัวเว่ย ในบทบาทผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผนึกกำลังร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อร่วมกันยกระดับชีวิตดิจิทัลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ นายหลินได้กล่าวว่า “หัวเว่ยหวังผลักดันการวางโครงสร้างพื้นฐานที่เหนือระดับและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่รุดหน้า และเสริมศักยภาพของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยความเท่าเทียมและยั่งยืน”


หัวเว่ยให้บริการการเชื่อมต่อสำหรับผู้คนกว่า 90 ล้านครัวเรือนและผู้ใช้มือถือกว่า 1 พันล้านคนในเอเชียแปซิฟิก ส่วนแบ่งตลาด IaaS ของหัวเว่ย อยู่ในอันดับที่ 2 ในประเทศจีน และอันดับที่ 4 ของตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาคพลังงานเพื่อโลกอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ส่วนธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ของหัวเว่ย ช่วยลูกค้าผลิตพลังงานสะอาดมาแล้วกว่า 482.9 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 14.2 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 230 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 320 ล้านต้น หัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2.7 เท่า ด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ หัวเว่ยมุ่งพัฒนาโซลูชันดิจิทัล พาวเวอร์อันล้ำสมัยที่เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และในปีพ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้ช่วยลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 230 ล้านตัน” นายโบแฮม ซัน กล่าว

Advertisement
IT News15 ชั่วโมง ago

มหาจักร ชวนคุณสัมผัสประสบการณ์เสียงคุณภาพ พร้อมรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท

บริษัท มหาจักรดีเวลอ...

IT News15 ชั่วโมง ago

70mai ขานรับมาตรการ ‘Easy E-Receipt 2.0’ ชวนช้อปกล้องติดรถยนต์ได้ลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 30,000 บาท วันที่ 16 ม.ค. –  28 ก.พ. 68

แบรนด์กล้องติดรถยนต์...

IT News15 ชั่วโมง ago

ทรู คอร์ปอเรชั่น หารือ ผบ.ตร. ผนึกกำลังตั้ง “วอร์รูม” ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ทรู คอร์ปอเรชั่น ลุย...

IT News15 ชั่วโมง ago

เสียวหมี่เปิด Xiaomi Store สาขาสยามพารากอน มอบโปรโมชันพิเศษต้อนรับการเปิดสาขาอย่างเป็นทางการ

เสียวหมี่ ประเทศไทย ...

realme explains the operation of Fineasy and loan apps realme explains the operation of Fineasy and loan apps
ข่าวประชาสัมพันธ์17 ชั่วโมง ago

realme ชี้แจง การดำเนินงานเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน Fineasy และสินเชื่อความสุข

realme ขออภัยเป...

Android News19 ชั่วโมง ago

OPPO ประเทศไทย เดินหน้ายกระดับมาตรการคุ้มครองข้อมูลผู้ใช้งาน พร้อมยุติการติดตั้งแอปพลิเคชันสินเชื่อบุคคลที่สามทั้งหมด!

OPPO ประเทศไทย ชี้แจ...

Android News21 ชั่วโมง ago

มาแล้ว! เพลง Over the Horizon 2025 ริงโทนของ Galaxy S25 Series ฟังได้เลยที่นี่ (มีคลิป)

มีรุ่นใหม่ก็ต้องมีเพ...

รวมช่องทางติดต่อ AIS, True, dtac ฉบับปี 2568 รวมช่องทางติดต่อ AIS, True, dtac ฉบับปี 2568
How To22 ชั่วโมง ago

รวมช่องทางติดต่อ AIS, True, dtac ฉบับปี 2568

ทำอย่างไรจะได้คุยกับ...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก