Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเผยวิสัยทัศน์ด้าน ‘Intelligent Connectivity’ ในงานประชุม Asia-Pacific Information Superhighway (AP-IS) ของ UN-ESCAP

Published

on

งานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนทางด่วนสารสนเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Asia-Pacific Information Superhighway -AP-IS) และการประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (WSIS[1]) ระดับภูมิภาค ของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN-ESCAP) ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม ที่ผ่านมา มร. เอ็ดเวิร์ด โจว รองประธานฝ่ายกิจการสาธารณะและการสื่อสารของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด ได้รับเกียรติให้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในเรื่อง ‘การสร้างการเติบโตในเอเชียแปซิฟิคด้วยการเชื่อมโยงสื่อสารอัจฉริยะ’ แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากภาครัฐ ตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศจากกว่า 20 ประเทศที่เข้าร่วมงาน

มร. โจว ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทั้งในบ้านและที่ทำงาน เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉิรยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ และในฐานะผู้นำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีและสมาร์ทดีไวซ์ หัวเว่ยมีความเชื่อมั่นและพร้อมสนับสนุน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals: SDG) ซึ่งกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2558 นอกจากนี้ หัวเว่ยยังตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีไอซีทีในฐานะปัจจัยผลักดันและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ อาทิ คุณภาพการศึกษา นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาดที่ราคาไม่แพง รวมถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนด้วย

และเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายฯ เหล่านี้ ในปีเดียวกันนี้เอง หัวเว่ยจึงได้เริ่มจัดทำรายงานดัชนีการเชื่อมโยงสื่อสารทั่วโลก (Global Connectivity Index: GCI) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อศึกษาถึงระดับความก้าวหน้าของประเทศต่าง ๆ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล โดยวัดจากข้อมูลตัวชี้วัดจำเพาะ 40 ตัว ครอบคลุมเทคโนโลยีการขับเคลื่อนหลัก 5 ตัว อันได้แก่ บรอดแบนด์, ดาต้าเซ็นเตอร์, คลาวด์, บิ๊กดาต้า และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ และเพิ่มเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนลำดับที่ 6 ในรายงาน GCI ประจำปี 2018 อันนำไปสู่แนวความคิดเรื่อง ‘การเชื่อมโยงสื่อสารอัจฉริยะ’ พบว่า การลงทุนในเทคโนโลยีสำคัญทั้ง 6 เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถสร้างความเป็นดิจิทัลให้กับเศรษฐกิจของตนได้ ในรายงาน GCI ประจำปีของหัวเว่ยได้แสดงข้อมูลการประเมินเชิงภววิสัยที่ครอบคลุมด้านการเชื่อมโยงสื่อสารของแต่ละประเทศ ทั้งมุมมองในระดับชาติและในเชิงธุรกิจ รายงานยังวัดผลสถานะในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มในอนาคตและความท้าทายที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตลอดจนวัดค่าคะแนนด้านการเชื่อมโยงที่มีผลต่อการสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคด้วย

จากข้อค้นพบในรายงาน GCI 2017 ของหัวเว่ย มร. โจว ได้อธิบายในงานประชุมของ UN-ESCAP ว่าเทคโนโลยีไอซีทีได้กลายเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นตัวเร่งอัตราการเติบโตให้เร็วมากยิ่งขึ้น โดยพบว่าในปี 2560 มีคะแนน GCI เพิ่มขึ้นจากปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 4 ซึ่งคะแนนGCI ที่เพิ่มขึ้นหนึ่งคะแนนหมายถึงความสามารถทางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 รวมถึงด้านนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และด้านผลิตภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ด้วย อย่างไรก็ดี รายงานยังพบว่า ช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประเทศที่พัฒนาด้านดิจิทัลแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนาด้านดิจิทัลยังคงขยายตัวกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในบรรดาประเทศต่าง ๆ ทั้ง 50 ประเทศที่นำมาวิเคราะห์ในรายงาน GCI 2017 มีค่า GDP รวมคิดเป็นร้อยละ 90 ของทั้งโลก และครอบคลุมจำนวนประชากรร้อยละ 78 ของโลก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

  • กลุ่มประเทศ Starter (มี 13 ประเทศ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 3,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นประเทศที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที เน้นไปที่การเพิ่มการจัดสรรรด้านไอซีทีเพื่อให้ผู้คนเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถาน
  • กลุ่ม Adopter (มี 21 ประเทศ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 16,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นกลุ่มที่อัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศโดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที ประเทศเหล่านี้เน้นไปที่การเพิ่มความต้องการด้านไอซีทีเพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคดิจิทัล และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย และไทย
  • กลุ่ม Frontrunner (มี 16 ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 54,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นกลุ่มที่เดินหน้าพัฒนาประสบการณ์การใช้งานด้านไอซีทีของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง และมีการใช้งานบิ๊กดาต้าและ IoT ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ทั้งนี้ ในการนำเสนอ มร. โจว ยังได้บ่งชี้ถึงนโยบายเร่งด่วนและคำแนะนำด้านไอซีทีสำหรับประเทศในแต่ละกลุ่ม ดังสรุปในตารางด้านล่าง

ขอบเขตการพัฒนา
ที่มุ่งเน้น
กลุ่ม Starter กลุ่ม Adopter กลุ่ม Frontrunner
ความเร่งด่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีในปี 2018 เน้นพัฒนาการเข้าถึงเครือข่ายความเร็วสูง เช่น FTTH and4G เน้น 4G และศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์

 

เน้นการวางระบบIoT และบรอดแบนด์ความเร็วสูงพิเศษ
ความเร่งด่วนของภาคอุตสาหกรรมและองค์กร เน้นอี-คอมเมิร์ซและคลาวด์ เน้นคลาวด์และบิ๊กดาต้าเพื่อปูพื้นฐานของ AI เน้นเพิ่มการลงทุนด้าน AI และการวิเคราะห์
ความเร่งด่วนในภาคแรงงาน เน้นการศึกษาเกี่ยวกับบริการคลาวด์และบิ๊กดาต้า เน้นการศึกษาด้านบิ๊กดาต้า

 

เน้นการจัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อเตรียมบุคลากรสำหรับอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI

นอกจากนี้ มร. โจว ยังได้เน้นย้ำว่า นักวางแผนเศรษฐกิจควรตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันที่กำลังขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นอันดับแรก พร้อมระบุว่า“ความไม่เท่าเทียมกันด้านดิจิทัลได้กลายเป็นปัญหาช่องว่างทางดิจิทัลแล้ว” โดยความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นนี้เป็นเหมือน “ปรากฏการณ์แมทธิว” ซึ่งเป็นทฤษฎีสังคมมานุษยวิทยาในเวอร์ชั่นของไอซีที ที่ระบุไว้ว่า ‘คนรวยมีแต่จะรวยขึ้น แต่คนจนกลับยิ่งจนลง’ ประเทศกลุ่ม Frontrunner มีค่า GCI เพิ่มขึ้น 4.7 คะแนนตั้งแต่ปี 2558- 2560 อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ บิ๊กดาต้า และ IoT ขณะที่ประเทศกลุ่ม Adopter มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.5 คะแนน กลุ่มประเทศStarter ที่ช้ากว่านั้น รั้งท้ายด้านขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเพียง 2.4 คะแนนของคะแนนโดยรวม

ในรายงาน GCI ประจำปี 2561 ฉบับล่าสุด ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 51 จากทั้งหมด 79 ประเทศที่นำมาวิเคราะห์ โดยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ Adopter ระยะเริ่มต้นด้านการพัฒนาไอซีที มีคะแนนโดดเด่นในด้านความครอบคลุมในการให้บริการเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ สำหรับความครอบคลุมด้านการให้บริการ 4G ประเทศไทยมีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 5 คะแนนในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการลงทุนด้านศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์และโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราความเร็วในการดาวน์โหลดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็มีคะแนนดีขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้โครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์ของไทยจะมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่ประเทศไทยก็ยังตามหลังในแง่ของปัจจัยขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานบิ๊กดาต้า การพัฒนาในขั้นต่อไปจึงควรเน้นไปที่การสร้างดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์สตอเรจเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การเชื่อมโยงสื่อสารสะดวกยิ่งขึ้น รายงานดังกล่าวยังระบุถึงแผนการพัฒนาด้านดิจิทัลของรัฐบาลไทยครอบคลุมตั้งแต่ปี 2560-2564 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางด้านดิจิทัลในภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม การท่องเที่ยว การศึกษา บริการทางการแพทย์ การลงทุน การป้องกันภัยพิบัติ และการบริหารรัฐกิจ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่เศรษฐกิจและสังคม

หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมนโยบายประเทศไทย 4.0 มาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยได้จัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ ปี 2548 มีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งแรกของบริษัท ปี 2551 เปิดตัวโครงการ “Seeds for Future” ปี 2558 จัดตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นที่กรุงเทพฯ ปี 2559 เปิดศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ และเปิดศูนย์ OpenLab ในปี 2560 บนพื้นที่ 2,000 ตร.ม. นอกจากนี้ บริษัทยังได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมไปถึงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฯลฯ ปัจจุบัน หัวเว่ย ประเทศไทย มีการจ้างพนักงานกว่า 3,300 คนและฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีไอซีทีไปแล้วกว่า 35,000 คน ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Huawei Global Connectivity Index สามารถดูได้ที่ www.huawei.com/minisite/gci/en/

Advertisement
IT News19 ชั่วโมง ago

ทรู คอร์ปอเรชั่น นำดาต้าปีใหม่วิเคราะห์เทรนด์จัดเต็มสัญญาณ 5G ให้ลูกค้า “ยิ้มทั่วไทย” ฉลองเคานต์ดาวน์ส่งความสุขสู่ปีมะเส็ง

ทรู คอร์ปอเรชั่นเพิ่...

IT News19 ชั่วโมง ago

เปิดตัวแคมเปญ ‘VERTU Yacht Sailing Experience’ สุดเอ็กซ์คลูซีฟ เมื่อเป็นเจ้าของสมาร์ตโฟน VERTU และนาฬิกาอัจฉริยะ VERTU METAWATCH พร้อมกัน

‘VERTU’ (เวอร์ทู) ลั...

Best Smartphone 12000 for 2025 Best Smartphone 12000 for 2025
Buying Guides2 วัน ago

10 มือถือราคาไม่เกิน 12,000 บาท ตัวจบ ครบทุกฟีเจอร์ ใช้ยาว ปี 2025

กำลังมองหามือถือใหม่...

Android News3 วัน ago

OPPO จับมือ Maison Kitsuné สร้างสรรค์ประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ กับ OPPO Find X8 Series

OPPO แบรนด์สมาร์ตโฟน...

IT News3 วัน ago

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 – 20 ธ.ค. 67

ข่าวเด่นช่วงระหว่างว...

IT News3 วัน ago

สรุป 6 จุดเด่นที่ทำให้คุณต้องเลือก HUAWEI MatePad 12 X นวัตกรรมแท็บเล็ตใช้งานได้ดั่งกับพีซี ที่มาพร้อมโปรเด็ดลดสูงสุดถึง 2,000 บาท กับ Shopee

HUAWEI MatePad 12 X ...

ข่าวประชาสัมพันธ์3 วัน ago

กรี๊ดสนั่น! ทรู เสิร์ฟความฟินขั้นสุดส่งท้ายปี ดึง “โฟร์ท ณัฐวรรธน์” สาดรอยยิ้ม และความสุขมาแจกแบบจัดเต็ม ในงาน “Truedtac5G ยิ้มทั่วไทย ยิ้มทั่วโซเชียล กับโฟ้ดๆ”

ทรู ขอส่งต่อพลังบวกแ...

IT News3 วัน ago

AIS ยึดหัวหาดทะเลอ่าวไทยครอบคลุม ลึก สูง กว้าง ไกล ยืนหนึ่งตัวจริงภาตตะวันออก

AIS ปักหมุดผู้น...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก