Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

Meta เสริมคนไทยรู้เท่าทันภัยลวงออนไลน์ ผ่านซีรีส์วิดีโอ #StayingSafeOnline

Published

on

เนื่องในวัน Safer Internet Day (วันรณรงค์อินเทอร์เน็ตปลอดภัย) Meta ตอกย้ำภารกิจช่วยผู้คนสร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมายในสภาพแวดล้อมที่น่าเชื่อถือและปลอดภัยทางออนไลน์ โดยเฉพาะในขณะที่โลกยังคงต้องรับมือกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง บรรดามิจฉาชีพได้พัฒนากลโกงออนไลน์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อใช้เอาเปรียบแก่ผู้ที่หลงเชื่อ

เมื่อผู้คนหันมาพึ่งพาช่องทางดิจิทัลในการเชื่อมต่อกับชุมชน ครอบครัว และเพื่อน ๆ มากขึ้นกว่าที่เคย Meta จึงก้าวไปอีกขั้นเพื่อช่วยให้คนไทยเฝ้าระวังต่อต้านการหลอกลวงด้านความปลอดภัยและฟิชชิ่ง โดยทำให้บัญชีของผู้ใช้ปลอดภัยขึ้นด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การยืนยันตัวตนแบบสองชั้น การแจ้งเตือนการเข้าสู่ระบบ หรือการเตือนให้ผู้คนเลือกรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากขึ้น

เพื่อเสริมความรู้และปกป้องผู้คนจากภัยหลอกลวงทางออนไลน์ Facebook ประเทศไทยได้เปิดตัวแคมเปญ #StayingSafeOnline เพื่อสร้างการตระหนักรู้ผ่านโครงการ We Think Digital Thailand ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โคแฟค ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ความริเริ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงกลโกงการหลอกลวงทางออนไลน์ประเภทต่าง ๆ และแบ่งปันเคล็ดลับความปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง โดยจะให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของภัยออนไลน์ที่พบได้บ่อยและเคล็ดลับความปลอดภัยผ่านรูปแบบวิดีโอสั้น โดยสามารถติดตามเนื้อหาในสัปดาห์วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยได้ที่ Meta Thailand Official Page https://www.facebook.com/MetaTH และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ #StayingSafeOnline และโมดูลต่างๆได้ที่ https://wethinkdigital.fb.com/th/th-th/stayingsafeonline/

โครงการนี้ประกอบด้วยโมดูลและวิดีโอสั้นต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดเชิงลึกซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยกว่า 35,000 คนของ Meta จากฝ่ายความมั่นคงและความปลอดภัยที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการฉ้อโกงออนไลน์และการหลอกลวงที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ การหลอกลวงประเภทเงินกู้ การหลอกลวงประเภทรางวัลล็อตเตอรี่ การหลอกลวงประเภทโรแมนติกหรือแก๊งลวงรักออนไลน์ การหลอกลวงประเภทจัดหางาน และการหลอกลวงประเภทขายของออนไลน์

เราแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันตนเองจากการหลอกลวงทางออนไลน์และสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยทางออนไลน์ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับง่าย ๆ 5 ข้อที่คุณสามารถใช้เพื่อป้องกันตัวเองจากนักหลอกลวงทางออนไลน์ ได้แก่

อย่าส่งเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลไปให้คนที่คุณไม่รู้จัก: บ่อยครั้งที่นักต้มตุ๋นจะขอข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ที่อยู่จริงหรือรายละเอียดธนาคารเพื่อสวมรอยแอบอ้างทรัพย์สินหรือส่งพัสดุหลอกลวงไปให้ที่บ้าน หรืออ้างว่าคุณถูกลอตเตอรี ประกาศรับสมัครงานเพื่อเป็นข้ออ้างสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล คุณจึงไม่ควรให้ข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฟังดูดีเกินจริง

อย่าคลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก: จับตาดูลิงก์ที่คุณไม่คุ้นเคยโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิงก์ที่มาจากคนที่คุณไม่รู้จักหรือเชื่อถือ ระวังอย่าคลิกลิงก์ต้องสงสัย เปิดไฟล์น่าสงสัย หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย แม้ว่าจะดูเหมือนมาจากเพื่อนหรือบริษัทที่คุณรู้จักก็ตาม

อย่าบอกรหัสผ่านของคุณให้ใครรู้: อย่าเปิดเผยข้อมูลรหัสผ่านของคุณแก่ใครก็ตาม แม้แต่เพื่อนหรือครอบครัว และอย่าลืมเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้บัญชีของคุณถูกแฮ็กโดยมิจฉาชีพ   Facebook และ Instagram  จะไม่ขอรหัสผ่านจากคุณทางอีเมล หรือส่งรหัสผ่านให้คุณในรูปแบบของเอกสารแนบ ผู้ใช้สามารถยืนยันได้ว่าอีเมลที่อ้างว่ามาจาก Facebook นั้นเชื่อถือได้หรือไม่ โดยตรวจสอบอีเมลล่าสุดที่เราส่งให้คุณจากรายการในการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยและการเข้าสู่ระบบได้ที่นี่ (https://www.facebook.com/settings) หากคุณเห็นโพสต์หรือข้อความที่พยายามหลอกให้คุณแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล โปรดรายงานไปที่นี่ (https://www.facebook.com/help/reportlinks

อย่ายอมรับคำขอเป็นเพื่อนจากคนแปลกหน้า: นักต้มตุ๋นอาจสร้างบัญชีปลอมเพื่อส่งคำขอเป็นเพื่อนด้วยเจตนาที่จะหลอกลวง การยอมรับคำขอเป็นเพื่อนจากนักต้มตุ๋นอาจทำให้เกิดการโพสต์สแปมบนไทม์ไลน์และอาจเกิดการแชร์ไปให้เพื่อนๆ อีกทั้งนักต้มตุ๋นอาจแท็กคุณในโพสต์และส่งข้อความที่เป็นอันตรายถึงคุณและผู้ติดต่อของคุณ ดังนั้น Meta สนับสนุนให้ผู้คนระมัดระวังและยอมรับคำขอเป็นเพื่อนจากคนรู้จักและไว้วางใจเท่านั้น

ตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น: คุณควรตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบสองชั้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้บัญชีโดยเพิ่มการปกป้องอีกหนึ่งชั้น เมื่อคุณตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น Meta จะขอให้คุณกรอกรหัสเข้าสู่ระบบพิเศษหรือยืนยันการเข้าสู่ระบบของคุณทุกครั้งที่มีคนพยายามเข้าถึงบัญชี Facebook ของคุณจากเบราว์เซอร์หรืออุปกรณ์มือถือเครื่องใหม่ที่เราไม่รู้จัก และคุณสามารถรับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนพยายามเข้าสู่ระบบจากเบราว์เซอร์หรืออุปกรณ์มือถือที่เราไม่รู้จักได้อีกด้วย ผู้ใช้สามารถเข้าไปที่ศูนย์ช่วยเหลือเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีตั้งค่าและจัดการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น และวิธีตั้งรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเข้าสู่ระบบที่ไม่รู้จัก

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธี #StayingSafeOnline สามารถเข้าไปที่ https://wethinkdigital.fb.com/th/th-th/stayingsafeonline/

Android News6 ชั่วโมง ago

ลือ! iQOO 14 Pro เริ่มพัฒนาแล้ว ได้กล้อง Periscope และใช้หน้าจอของ Samsung ด้วย!

ย้อนกลับไปเมื่อตอน i...

Android News7 ชั่วโมง ago

ตามคาด ! Snapdragon 8 Elite 2 จะผลิตโดย TSMC เหมือนเดิม บนกระบวนการ N3P

ปีที่แล้ว Qualcomm ไ...

Android News9 ชั่วโมง ago

ลือเร็ว…Galaxy S26 Ultra อาจได้เพิ่มความเร็วการชาร์จเป็น 65W และแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้นถึง 5500mAh!?

เรียกว่าลือกันข้ามหน...

IT News10 ชั่วโมง ago

ตั้งแต่ต้นปีเลย ! Netflix บางประเทศเพิ่มราคาทุกแพ็กเกจแล้ววันนี้

วันนี้ Netflix ในปบา...

Android News11 ชั่วโมง ago

Conterpoint Research เผย vivo เป็นแบรนด์ที่ขายดีที่สุดในจีนปี 2024!

Counterpoint Researc...

Android News11 ชั่วโมง ago

รอนะเนี่ย !! เผยทีเซอร์ Nothing Phone (3) โชว์รูป Arcanine คาดจับมือกับการใช้โปเกมอน

ดูเหมือนว่าทาง Nothi...

Android News12 ชั่วโมง ago

มาแน่! ผู้บริหารยืนยัน Xiaomi 15 Ultra เตรียมเปิดตัวแบบ Global หลังช่วงตรุษจีนนี้

Xiaomi 15 Ultra อีกห...

IT News12 ชั่วโมง ago

ใช้ชั่วคราวเท่านั้น ! TikTok ในสหรัฐฯ ปลดแบน 75 วัน ก่อนต้องหาข้อยุติภายใน 5 เม.ย. นี้

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก