Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

ไมโครซอฟท์ร่วมกับไอดีซี เผยผลสำรวจชี้ทางฝ่าวิกฤตโควิด ชูคลาวด์มาตรฐานโลกเป็นกุญแจสำคัญในการพลิกธุรกิจ

Published

on

ผลสำรวจจากไมโครซอฟท์และไอดีซีเน้นย้ำความสำคัญของ “วัฒนธรรมนวัตกรรม” ในองค์กรยุคดิจิทัล โดยเผยว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ภาคธุรกิจไทยเร่งยกระดับการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กรขึ้นราว 12% พร้อมวางแผนชัดเจนสำหรับการลงทุนพัฒนาศักยภาพในปีหน้า โดยกว่า 72% ขององค์กรไทยที่เข้าร่วมการสำรวจ มองว่าการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการฟื้นฟูธุรกิจให้เปลี่ยนแปลง ปรับตัว และกลับมาเติบโตอีกครั้ง ท่ามกลางผลกระทบและแรงกดดันจากการระบาดของโรค
โควิด-19

ทั้งนี้ ทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมในภาคธุรกิจไทยยังคงตามหลังมุมมองขององค์กรระดับแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่กว่า 98% เชื่อว่านวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญในการฝ่าสถานการณ์วิกฤต

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบัน นวัตกรรมไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกของธุรกิจอีกต่อไป แต่นับเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรขาดไม่ได้ โดยสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ทั่วโลกได้กลายเป็นปัจจัยเร่งให้ภาคธุรกิจต้องหันมาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จากเดิมอาจต้องใช้เวลาหลายปี ให้เสร็จสิ้นและพร้อมขับเคลื่อนธุรกิจได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน ภาคธุรกิจไทยเองได้แสดงออกถึงความตื่นตัวในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจที่ระบุว่าธุรกิจไทยจะมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลอยู่ที่ 48% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเทียบเท่ากับสัดส่วนรายได้ในปัจจุบันขององค์กรชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก จึงเท่ากับว่าองค์กรไทยในภาพรวมยังตามหลังผู้นำของภูมิภาคนี้อยู่ 3 ปีเต็มนั่นเอง”

ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นจากงานวิจัยในหัวข้อ “วัฒนธรรมนวัตกรรม – รากฐานสู่การปรับตัวและฟื้นฟูของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” (Culture of Innovation: Foundation for business resilience and economic recovery in Asia Pacific) โดยไมโครซอฟท์และไอดีซี เอเชีย แปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมการสำรวจความคิดเห็นและมุมมองของผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจรวม 3,312 คน และพนักงาน 3,495 คนในภาคเอกชนจาก 15 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงผู้บริหาร 200 คน และพนักงานอีก 237 คนในประเทศไทย โดยจัดทำการสำรวจขึ้นในช่วง 6 เดือนก่อนและหลังการระบาดของโรคโควิด-19

วัดระดับความพร้อมธุรกิจไทย บนเส้นทางสู่วัฒนธรรมเพื่อนวัตกรรม

รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอแนวคิดด้านโครงสร้างของวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรม โดยแบ่งการประเมินศักยภาพของแต่ละองค์กรออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการทำงาน ข้อมูล และเทคโนโลยี เมื่อทำการประเมินในทั้ง 4 ด้านแล้ว จึงนำแต่ละองค์กรมาจัดอยู่ใน 4 กลุ่มตามระดับความพร้อม ได้แก่ กลุ่มองค์กรแบบเก่า (สเตจที่ 1 ในการพัฒนา) กลุ่มมือใหม่ด้านนวัตกรรม (สเตจ 2) กลุ่มผู้ปรับตัว (สเตจ 3) และกลุ่มผู้นำ (สเตจ 4)

มร. ไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ เผยว่า “ผลสำรวจพบว่าธุรกิจในประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในการทำงานไปไม่น้อยในช่วง 6 เดือนท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยองค์กรไทยราว 40% มองว่าโควิด-19 มาพร้อมกับโอกาสในการผลักดันรายได้ให้เติบโตได้เร็วกว่าคู่แข่งจนนำไปสู่ส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น องค์กรที่มีมุมมองเชิงบวก เล็งเห็นโอกาสท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ จะสามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมนวัตกรรม”

“ในช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 มีธุรกิจไทยถึง 59% ที่จัดอยู่ในกลุ่มองค์กรแบบเก่า ก่อนจะลดลงเหลือ 48% ในช่วงหลังการระบาด ขณะที่สัดส่วนขององค์กรในกลุ่มมือใหม่ เพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 47% และจากเดิมที่ไม่มีธุรกิจไทยอยู่ในกลุ่มผู้นำเลย เพิ่มขึ้นเป็น 2% ในช่วงหลังการระบาด เมื่อสรุปในภาพรวมแล้ว พบว่าธุรกิจในประเทศไทยมีการยกระดับวัฒนธรรมองค์กรด้านนวัตกรรมขึ้นราว 12%”

องค์กรในกลุ่มผู้นำด้านวัฒนธรรมเพื่อนวัตกรรมมีมุมมองเชิงธุรกิจที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นอยู่ไม่น้อย โดย 1 ใน 3 ของบริษัทระดับผู้นำในภูมิภาคนี้มั่นใจว่าจะสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดของบริษัทได้ แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายจากโควิด-19 ขณะที่ราว 45% เชื่อว่าธุรกิจจะฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาดนี้ได้ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน ส่วนแนวโน้มในอนาคตนั้น พบว่าองค์กรในไทยเริ่มมีแผนที่จะพิจารณาโมเดลการทำธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ในองค์กรระดับผู้นำทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะหลังการระบาดของโรคโควิด-19

“องค์กรในกลุ่มผู้นำกว่า 85.4% เชื่อว่าโมเดลธุรกิจของพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยในจำนวนนี้ กว่า 45.4% มองว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนธุรกิจภายในไม่เกิน 5 ปี มุมมองนี้นับว่ายังกว้างไกลกว่าองค์กรในประเทศไทยอยู่พอสมควร จากข้อมูลที่ระบุว่ามีธุรกิจไทยราว 64% ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจภายใน 10 ปี และ 27% ภายในไม่เกิน 5 ปี ขณะเดียวกัน องค์กรไทยถึง 25% ยังค่อนข้างล่าช้าในการพิจารณาถึงโมเดลธุรกิจในอนาคต เทียบกับเพียง 7.7% ในกลุ่มผู้นำของเอเชียแปซิฟิก” นายอะราเน็ตตาชี้

ชูตัวอย่างจากสองธุรกิจไทยต่างขนาด ต่างเส้นทาง บนถนนสายนวัตกรรมสู่ความสำเร็จ

หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจในการนำนวัตกรรมมารับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป คือกรณีของบริษัท เอเชีย แค็บ จำกัด ผู้ให้บริการแท็กซี่แบบครบวงจรรายแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “แค็บบ์” (Cabb) ซึ่งเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดบริการขนส่งสาธารณะที่มีนวัตกรรมเป็นรากฐานสำคัญของทั้งองค์กร และยังมีศักยภาพรอบด้าน นับตั้งแต่การผลิตรถยนต์ของตนเองไปจนถึงแอปพลิเคชันและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยทีมพัฒนาของไทย บนแพลตฟอร์มคลาวด์ของไมโครซอฟท์

ผศ.ดร. ศรายุทธ เรืองสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย แค็บ จำกัด เผยว่า “หัวใจหลักในกลยุทธ์ของเอเชีย แค็บ คือการสร้างโมเดลธุรกิจและออกแบบบริการให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากรในมือ โดยมีข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เชื่อมโยงทั้งสามส่วนให้ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว นับตั้งแต่ข้อมูลสถิติการเรียกใช้บริการของลูกค้าในแต่ละเวลา ซึ่งเรานำมากำหนดการเพิ่ม-ลดทรัพยากรคลาวด์บนแพลตฟอร์ม Microsoft Azure ให้คุ้มค่าที่สุดตามการใช้งานจริง ไปจนถึงการพัฒนาระบบจัดการบริการที่ตอบสนองกับข้อมูลในหลายทิศทางกว่า ไม่ได้เพียงเปิดให้ผู้ขับขี่เลือกรับงานจากผู้โดยสารเท่านั้น แต่ทางศูนย์ควบคุมยังสามารถช่วยจับคู่ผู้ขับขี่กับผู้โดยสารได้ด้วย เพื่อความรวดเร็วและความพึงพอใจสูงสุดของทั้งสองฝ่าย”

นอกจากแอปพลิเคชันสำหรับผู้โดยสารและผู้ขับขี่แล้ว โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของแค็บยังรวมถึงระบบศูนย์ควบคุมแบบครบวงจร พร้อมด้วยระบบพื้นฐานสำหรับรองรับหน้าเว็บไซต์และศูนย์บริการลูกค้า ขณะที่ Office 365 ถูกนำมารองรับการทำงานภายในองค์กรแบบวันต่อวันของพนักงาน ส่วนในตัวรถแท็กซี่แต่ละคัน ยังมีการติดตั้งระบบกล้องรักษาความปลอดภัยที่บันทึกเฉพาะภาพนิ่งเพื่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า การยืนยันตัวตนผู้ขับขี่ด้วยบัตรประชาชน ติดตามตำแหน่งรถแท็กซี่ทุกคันด้วย GPS และปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉินที่ส่งสัญญาณเตือนมายังทั้งห้องควบคุมของแค็บบ์เองและเจ้าหน้าที่จากกรมขนส่งทางบก ขณะที่ผู้ขับขี่ทุกคนได้รับการฝึกอบรมในระดับมืออาชีพเพื่อมาตรฐานการบริการที่ดีเยี่ยม

อีกหนึ่งองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่วิถีการทำงานแบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว คือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่เลือกนำเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์มายกระดับการทำงาน ติดต่อสื่อสาร และประสานงานภายในองค์กรอย่างทั่วถึง ตอบโจทย์ทั้งในด้านการเสริมศักยภาพขององค์กรในภาพรวมและการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19

นายวิวัฒน์ พงษ์ฤทธิ์ศักดา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานสารสนเทศ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และ Chief Operating Officer บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แผนงานของเราคือการนำคลาวด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในแต่ละวันสำหรับพนักงานมากกว่า 50,000 คน โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภายในซีพี ออลล์ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทอื่น ๆ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วย โดยนอกจากการติดต่อประสานงานและทำงานเป็นทีมที่ราบรื่น รวดเร็วขึ้นด้วย Microsoft Teams แล้ว เรายังเริ่มนำ Power Platform มาใช้พัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ยกระดับระบบงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการสนับสนุนให้ทุกแผนกและหน่วยงานคิดหาวิธีนำไปประยุกต์ใช้ในแนวทางที่ตรงกับเป้าหมายของตนเองและองค์กรในภาพรวม”

ทั้งนี้ ซีพี ออลล์ และบริษัทอื่น ๆ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรับระบบงานขึ้นสู่คลาวด์อย่างเต็มตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 โดยมีไมโครซอฟท์ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด รวมถึงการสำรวจความเป็นไปได้ที่จะนำนวัตกรรม AI เข้ามาปรับใช้ในองค์กรด้วย

สูตรสำเร็จ “4×4” ปรับวัฒนธรรม พลิกกลยุทธ์ ขับเคลื่อนนวัตกรรมให้ทั่วถึง

จากการประเมินศักยภาพของภาคธุรกิจไทยในด้านวัฒนธรรมเพื่อนวัตกรรม พบว่าองค์กรไทยมีความพร้อมน้อยที่สุดในด้านบุคลากร ด้วยคะแนนเฉลี่ย 1.56 และเทคโนโลยี ที่คะแนนเฉลี่ย 1.60 จากคะแนนเต็ม 4.0 โดยเมื่อพิจารณาจากแผนงานตลอด 12 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าองค์กรไทยมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีเป็นอันดับแรกสูงสุดที่ 35.0% ตามมาด้วยด้านข้อมูล (26.0%) บุคลากร (25.0%) และกระบวนการทำงาน (14.0%)

“ผลสำรวจในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายังมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยที่เพิ่งจะเริ่มต้นคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร” นายธนวัฒน์กล่าวเสริม “แต่ขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นสัญญาณที่ดีในภาพรวมว่าองค์กรไทยเข้าใจในจุดแข็ง-จุดอ่อนของตนเองในกรอบของ 4 มิตินี้เป็นอย่างดี และมีแผนที่จะลงทุนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพต่อไป แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและศักยภาพขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องอาศัยแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดผลอย่างชัดเจน”

ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์จึงได้นำเสนอสูตรสำเร็จ “4×4” เพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร ทั้งในด้านบุคลากร กระบวนการทำงาน ข้อมูล และเทคโนโลยี ดังนี้:

“ทุกองค์กรควรมีแนวทางที่ชัดเจนให้บุคลากรสามารถร่วมกันคิด ค้นคว้า และทำงานให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เป้าหมายสูงสุดของไมโครซอฟท์คือการช่วยให้ทุกองค์กรในประเทศไทยมีความคล่องตัว สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ฟื้นฟูและเติบโตได้แม้ในสภาวะวิกฤต โดยเราพร้อมที่จะร่วมงานกับทุกภาคส่วนเพื่อก้าวสู่เป้าหมายนี้ไปด้วยกัน” นายธนวัฒน์กล่าวปิดท้าย

Android News2 ชั่วโมง ago

ลือ! iQOO 14 Pro เริ่มพัฒนาแล้ว ได้กล้อง Periscope และใช้หน้าจอของ Samsung ด้วย!

ย้อนกลับไปเมื่อตอน i...

Android News3 ชั่วโมง ago

ตามคาด ! Snapdragon 8 Elite 2 จะผลิตโดย TSMC เหมือนเดิม บนกระบวนการ N3P

ปีที่แล้ว Qualcomm ไ...

Android News5 ชั่วโมง ago

ลือเร็ว…Galaxy S26 Ultra อาจได้เพิ่มความเร็วการชาร์จเป็น 65W และแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้นถึง 5500mAh!?

เรียกว่าลือกันข้ามหน...

IT News6 ชั่วโมง ago

ตั้งแต่ต้นปีเลย ! Netflix บางประเทศเพิ่มราคาทุกแพ็กเกจแล้ววันนี้

วันนี้ Netflix ในปบา...

Android News7 ชั่วโมง ago

Conterpoint Research เผย vivo เป็นแบรนด์ที่ขายดีที่สุดในจีนปี 2024!

Counterpoint Researc...

Android News7 ชั่วโมง ago

รอนะเนี่ย !! เผยทีเซอร์ Nothing Phone (3) โชว์รูป Arcanine คาดจับมือกับการใช้โปเกมอน

ดูเหมือนว่าทาง Nothi...

Android News8 ชั่วโมง ago

มาแน่! ผู้บริหารยืนยัน Xiaomi 15 Ultra เตรียมเปิดตัวแบบ Global หลังช่วงตรุษจีนนี้

Xiaomi 15 Ultra อีกห...

IT News8 ชั่วโมง ago

ใช้ชั่วคราวเท่านั้น ! TikTok ในสหรัฐฯ ปลดแบน 75 วัน ก่อนต้องหาข้อยุติภายใน 5 เม.ย. นี้

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก