Smart Review
รีวิว Moto X Style และ Moto 360 (2nd Gen) กับการกลับมาลุยตลาดประเทศไทยอีกครั้ง
Moto X Style และ Moto 360 (2nd Gen) เป็นสมาร์ทโฟนเรือธงของปี 2015 และอุปกรณ์สวมใส่รุ่นล่าสุด ซึ่งเป็นรุ่นแรกด้วยที่กลับมาวางจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายใต้ Lenovo ประเทศไทย
สรุปข้อมูลและสเปค Moto X Style
- ราคาเปิดตัว 19,990 บาท (เมษายน 2016)
- ขนาดตัวเครื่อง 153.9 x 76.2 x 11.1 มม.
- น้ำหนัก 179 กรัม
- 3G / 4G LTE ทุกเครือข่ายในไทย
- ขนาดซิม Nano SIM
- หน้าจอแสดงผล 5.7 นิ้ว QHD IPS LCD
- รันระบบปฏิบัติการ Android 6.0 Marshmallow
- ชิปเซ็ต Qualcomm MSM8992 Snapdragon 808
- ซีพียู Hexa-core (Dual-core 1.8 GHz Cortex-A57 และ Quad-core 1.44 GHz Cortex-A53)
- จีพียู Adreno 418
- แรม 3 GB
- ความจำภายในตัวเครื่อง 32 GB เพิ่มได้ด้วย microSD card สูงสุด 128 GB
- กล้องหลังความละเอียด 21 ล้านพิกเซล, f/2.0 ระบบโฟกัส PDAF และแฟลช Dual tone
- กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล, f/2.0
- รองรับ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac, Bluetooth 4.1, NFC
- รองรับระบบ GPS/A-GPS, GLONASS
- แบตเตอรี่ 3,000 mAh ถอดเปลี่ยนเเองไม่ได้ และรองรับชาร์จเร็ว
- ตัวเครื่องป้องกันละอองน้ำได้ตามมาตรฐาน IP52
อุปกรณ์ที่มาในกล่อง
อุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่อง ได้แก่ ตัวเครื่อง Moto X Style พร้อมแบตเตอรี่ฝังมาในเครื่อง, หูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม., อุปกรณ์ชาร์จไฟระบบชาร์จเร็ว, เคสบั๊มเปอร์พลาสติกแบบใส, เข็มจิ้มถาดใส่ซิม และคู่มือการใช้งาน
ตัวเคสที่มาในกล่องจะเป็นแบบบั๊มเปอร์คือมีแต่กรอบตัวเครื่องแล้วครบมาถึงขอบด้านหน้ากับด้านหลังเล็กน้อย
ดีไซน์ตัวเครื่องและหน้าจอแสดงผล
งานดีไซน์ของ Moto นั้นมีความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัวอยู่แล้ว โดยรุ่น Moto X Style มีฝาหลังที่เป็นพลาสติก และรุ่นที่นำมารีวิวในบทความนี้เป็นรุ่นฝาหลังที่ทำมาจากไม้ไผ่ของจริง นอกจากจะได้ความสวยงามที่เป็นลวดลายธรรมชาติแล้ว ยังไม่ซ้ำลวดลายกันอีกด้วย
ด้านหลังของ Moto X Style ถูกดีไซน์ให้มีความโค้งเว้า ช่วยให้การจับใช้งานนั้นกระชับกับอุ้งมือพอดี ซึ่งเป็นการดีไซน์ตามสรีระศาสตร์ อีกทั้งยังโค้งเว้าเข้าหาขอบด้านข้างด้วย จึงทำให้บริเวณขอบนั้นมีความบางมากกว่าบริเวณกลางเครื่อง
กรอบตัวเครื่องเป็นโลหะอะลูมิเนียม มีจุดรับสัญญาณวิทยุเป็นเส้นคาดบริเวณส่วนบนและส่วนล่างของเครื่อง โดยที่มุมทั้ง 4 ของกรอบตัวเครื่องยังมีความโค้งเว้าให้บางลงกว่าส่วนอื่น ๆ ด้วย
หน้าจอของ Moto X Style มีขนาด 5.7 นิ้ว เป็นแผงหน้าจอ IPS LCD ครอบด้วยกระจกกันรอย Gorilla Glass 3 และมีความละเอียด 2560 x 1440 พิกเซล ความหนาแน่นของจุดพิกเซลประมาณ 520 พิกเซลต่อนิ้ว ถือเป็นสมาร์ทโฟนจอสวยอีกหนึ่งรุ่นเมื่อเปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 แต่เข้ามาทำตลาดในไทยในปีนี้อาจจะรู้สึกเฉย ๆ ไปแล้ว
เหนือหน้าจอมีเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ได้แก่ Proximity, Ambiant Light และ Gesture, ลำโพงสำหรับเสียงสนทนา และเลนส์กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช LED
ล่างหน้าจอมีช่องลำโพง ซึ่งช่องลำโพงสำหรับเสียงสนทนาด้านบนก็เป็นช่องลำโพงด้วย ทำให้รุ่นนี้มีลำโพงเสียงแบบสเตอริโอเมื่อเล่นไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ และจุดซ้ายกับขวาเป็นเซ็นเซอร์ Gesture ส่วนปุ่มนำทางจะอยู่บนหน้าจอแสดงผล
ขอบด้านบนมีช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม. และช่องถาดใส่ซิมขนาด Nano SIM โดยอีกด้านของถาดใส่ซิมจะเป็นช่องสำหรับใส่ microSD card ความจุสูงสุด 128GB นอกจากนี้แล้วบริเวณขอบของกรอบตัวเครื่องจะมีรูเล็ก ๆ ซึ่งเป็นไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน
ขอบด้านล่างมีพอร์ตเชื่อมต่อขนาด micro USB สำหรับชาร์จไฟ และถ่ายโอนข้อมูลผ่านสายเคเบิลหรือกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่รองรับพอร์ต micro USB
ขอบด้านซ้ายราบเรียบไม่มีปุ่มใด ๆ
ขอบด้านขวามีปุ่ม Power และปุ่มปรับระดับเสียง
ปุ่ม Power มีการใส่รายละเอียดลงไปเล็กน้อยโดยการดีไซน์ให้มีลวดลายเป็นเส้น ๆ ทำให้เมื่อแตะปุ่มนี้จะรู้สึกขรุขระนิดหน่อย
ฝาด้านหลังเป็นไม้ไผ่ผิวเรียบ ลวดลายตามธรรมชาติ ไม่สามารถแกะเปิดได้ ภายในมีแบตเตอรี่ขนาด 3,000 mAh รองรับระบบชาร์จเร็ว
เลนส์กล้องหลังความละเอียด 21 ล้านพิกเซล, มีแฟลช Dual-LED แบบ Dual tone และโลโก้ Motorala
บริเวณส่วนล่างมีไมโครโฟนหลักสำหรับเสียงสนทนา
อินเตอร์เฟซและฟังก์ชั่นการใช้งาน
Moto X Style รุ่นที่นำเข้ามาวางจำหน่ายในไทยได้รับการอัปเดทเป็นระบบปฏิบัติการ Android 6.0 Marshmallow เรียบร้อย ซึ่งหน้าตาโดยรวมของ UI มีการปรับแต่งน้อยมาก ทำให้ดูคล้ายกับ Pure Android แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ Pure Android โดยรุ่นที่เป็น Pure Android นั้นจะมีวางขายในต่างประเทศโดยใช้ชื่อรุ่นว่า Moto X Pure Edition
ในหน้าจอล็อคของ Moto X Style จะมีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Moto Display คล้ายกับฟีเจอร์ Glance screen ที่มีอยู่ในรุ่น Lumia นั่นเอง ซึ่งเป็นการแสดงการแจ้งเตือนและนาฬิกาบอกเวลาในหน้าจอดับโดยไม่ต้องกดเปิดหน้าจอ
ในหน้าโฮมสามารถเปลี่ยนภาพวอลเปเปอร์, เพิ่มวิดเจ็ต และตั้งค่าการค้นหา Google ได้ โดยการแตะค้างบริเวณพื้นที่ว่างบนหน้าจอค้างไว้สักพัก
App Drawer จะจัดเรียงแบบหน้าเดียวยาวลงไปด้านล่าง ใช้การเลื่อนขึ้น-ลงเพื่อดูรายการถัดไป โดยบริเวณแถบด้านบนจะมีช่องสำหรับค้นหา และรายการแอพพลิเคชั่นที่เปิดใช้งานล่าสุด และแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งมากับเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นของ Google App และแอพพลิเคชั่นของตัวระบบ โดยมีของ Moto อยู่ 2 แอพ ได้แก่ Moto และ Connect
แอพ Moto จะเป็นในส่วนของการใช้งานฟังก์ชั่นอัจฉริยะ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การทำงาน (Actions), Voice และ Display
ฟังก์ชั่นอัจฉริยะในส่วนของ Actions ได้แก่
- เขย่า 2 ครั้งเพื่อใช้ไฟฉาย
- เข้าใกล้เพื่อใช้ Moto Display เพื่อให้หน้าจอแสดงเวลาและการแจ้งเตือนต่าง ๆ เมื่อหยับโทรศัพท์ขึ้นมาหรือขยับมือเข้าใกล้ตัวเซ็นเซอร์ Gesture
- เปิดหน้าจอค้างไว้ขณะกำลังมองดูจออยู่
- หมุนข้อมือ 2 ครั้งอย่างรวดเร็วเพื่อเปิดใช้งานแอพกล้องถ่ายรูป
- ยกโทรศัพท์แนบหูเพื่อใช้งาน Moto Voice ซึ่งยังไม่รองรับภาษาไทย
ฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียงในส่วนของ Moto Voice ยังไม่รองรับภาษาไทย โดยสามารถเปิดใช้งานในภาษาอังกฤษได้ รองรับการสั่งงานต่าง ๆ เช่น
- สั่งให้โพสต์สถานะบน Facebook
- โทรหาบุคคลในรายชื่อติดต่อ
- ส่งข้อความผ่าน WhatsApp
- ค้นหาโทรศัพท์
- เล่นวิดีโอบน YouTube
- ตรวจสอบข้อความเสียง เป็นต้น
ฟังก์ชั่นในส่วนของจอแสดงผลหรือ Display เป็นการเลือกการแจ้งเตือนเพื่อให้ประหยัดการใช้งานแบตเตอรี่ ได้แก่ บล็อกการแจ้งเตือนจากแอพบางตัว, เลือกรายละเอียดในการแสดงการแจ้งเตือน, กำหนดช่วงเวลาในการปิดหน้าจอ และเปิด/ปิดการสั่นเมื่อแตะหน้าจอ
แอพเบราว์เซอร์ที่มากับเครื่องใช้ของ Google Chrome
หน้าตาแอพปฏิทิน, เครื่องคิดเลข และโทรศัพท์
แป้นพิมพ์ที่มากับเครื่องเป็นของ Google
Moto X Style รองรับการเชื่อมต่อเครือข่าย 4G LTE, Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac, Bluetooth 4.1, NFC และ GPS/A-GPS, GLONASS
ตรวจสอบเซ็นเซอร์ด้วย Android Sensor Box และมัลติทัช
- Accelerometer Sensor ช่วยหมุนหรือปรับเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลของหน้าจอให้แบบอัตโนมัติ ตามลักษณะการจับถือของผู้ใช้
- Light Sensor สำหรับตรวจวัดระดับความสว่างของสภาพแวดล้อม เพื่อปรับความสว่างของหน้าจอและแผงปุ่มกดให้เหมาะสม
- Orientation Sensor ระบบปรับมุมมองการแสดงผลหน้าจออัตโนมัติ
- Proximity Sensor สำหรับการปิดหน้าจอแบบอัตโนมัติขณะสนทนา เพื่อประหยัดพลังงาน
- Gyro Sensor ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบ 3 แกน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และ
ความยืดหยุ่นหลากหลายในการควบคุม - Sound Sensor ตรวจวัดระดับเสียง
- Magnetic Sensor ตรวจวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก
- รองรับมัลติทัชสูงสุด 10 จุด
ผลทดสอบคะแนน Benchmark และประสิทธิภาพการทำงาน
Moto X Style รันระบบปฏิบัติการ Android 6.0 Lollipop ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง Snapdragon 808 แบ่งการทำงานซีพียูออกเป็น 2 ระดับ Dual-core 1.8 GHz Cortex-A57 และ Quad-core 1.44 GHz Cortex-A53) และจีพียู Adreno 418 โดยมีความจำแรมขนาด 3 GB และความจำภายในตัวเครื่อง 32 GB
โดยผลการทดสอบ AnTuTu 6.0.1 ในโหมด 64-bit ซึ่งเป็นการทดสอบการเข้าถึงการทำงานของแรม และประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยประมวลผลกราฟิกหรือจีพียู ทำคะแนนรวมได้ 69,796 คะแนน ระดับคะแนนอาจเทียบไม่ได้กับเรือธงรุ่นใหม่ในปีนี้ เนื่องจากรุ่นนี้เป็นเรือธงที่เปิดตัวเมื่อปี 2015
ผลการทดสอบด้วย Geekbench 3 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและการประมวลผลและหน่วยความจำแรม การทดสอบนี้จะทำการประมวลออกมาเป็นตัวเลขแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Single-Core และ Multi-Core หากได้คะแนนยิ่งสูงประสิทธิภาพการทำงานจะยิ่งดี โดยผลทดสอบของ Moto X Style ทำคะแนน Single-Core ได้ 1,232 คะแนนถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีมาก และ Multi-Core ทำได้ 3,288 คะแนน ใกล้เคียงกับเรือธงรุ่นใหม่หลายรุ่นที่เปิดในปี 2016
กล้องถ่ายรูป
กล้องหลังของ Moto X Style มีขนาด 21 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง f/2.0, ระบบโฟกัสแบบ PDAF พร้อมแฟลช Dual-LED (Dual tone) โดยมีขนาดเซ็นเซอร์ของกล้อง 1/2.4 นิ้ว ตัวแอพกล้องรองรับการแนบตำแหน่งแผนที่ลงในภาพถ่าย (Geo-tagging), แตะหน้าจอเพื่อโฟกัส (Touch focus), ระบบตรวจจับใบหน้า (Face detection), ถ่ายภาพในโหมดพาโนรามา (Panorama) และออโต้ HDR
การตั้งค่าและเลือกใช้เมนูต่าง ๆ ของกล้องทำได้โดยการลากจากขอบด้านซ้ายของหน้าจอ ตัวกล้องรองรับการถ่ายภาพขนาดสูงสุด 21 ล้านพิกเซลในอัตราส่วน 4:3 และ 16 ล้านพิกเซลในอัตราส่วน 16:9
การเปลี่ยนจุดโฟกัสให้แตะที่ตัวโฟกัสแล้วลากไปยังจุดที่ต้องการ เพราะถ้าแตะลงบนหน้าจออย่างเดียวจะเป็นการถ่ายภาพทันที และการปรับตัววัดแสงทำได้โดยการลากที่แถบสีเหลืองรอบจุดโฟกัส
ตัวอย่างภาพถ่าย
Moto 360 (2nd Gen)
Moto 360 นาฬิกาอัจฉริยะรุ่นที่ 2 ทำงานบนแพลตฟอร์ม Android Wear มาพร้อมดีไซน์เรียบหรูด้วยการปรับดีไซน์และเพิ่มแบตเตอรี่ ซึ่งชอบจอหน้าปัดแสดงผลบางลงกว่าเดิมมาก ให้สัดส่วนหน้าจอ 71.7% ของตัวเรือน มีขนาดให้เลือก 2 ไซส์ ได้แก่ 42 มม. และขนาด 46 มม.
สรุปข้อมูลและสเปค Moto 360 (2nd Gen)
- หน้าจอแสดงผลขนาด 1.56 นิ้ว LCD ความละเอียด 360 x 330 พิกเซล สำหรับรุ่น 46 มม. ราคา 13,999 บาท (เมษายน 2016)
- หน้าจอแสดงผลขนาด 1.37 นิ้ว LCD ความละเอียด 360 x 325 พิกเซล สำหรับรุ่น 42 มม. ราคา 12,999 บาท (เมษายน 2016)
- ชิปประมวลผล Qualcomm Snapdragon 400 SoC ความเร็ว 1.2 GHz
- จีพียู Adreno 305
- แรม 512 MB
- ความจุตัวเครื่อง 4 GB
- รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 4.0 LE, Wi-Fi 802.11 b/g
- แบตเตอรี่ 400 mAh สำหรับรุ่น 46 มม. และ 300mAh สำหรับรุ่น 42 มม.
- รองรับระบบชาร์จไร้สาย
- เซ็นเซอร์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- เซ็นเซอร์ Accelerometer, Ambient light, Gyroscope และระบบสั่น
- มีไมโครโฟน
- กันน้ำมาตรฐาน IP67
อุปกรณ์ที่มาในกล่อง
Moto 360 (2nd Gen) มาในกล่องโดยมีฝากล่องเป็นพลาสติกใส มองเห็นตัวเครื่องนาฬิกาได้จากภายนอก ถูกวางอยู่ในล็อกอย่างลงตัว และมีแผ่นกระดาษระบุถึงชื่อรุ่น และแบรนด์ของผู้ผลิต ซึ่งภายในกล่องจะมีอุปกรณ์ดังนี้
- ตัวนาฬิกา Moto 360 พร้อมสายหนังขนาดมาตรฐาน
- หัวชาร์จพร้อมสายขนาดหัวต่อ micro USB
- แท่นวางชาร์จไร้สาย
- คู่มือการใช้งาน
ดีไซน์ตัวเครื่อง และหน้าจอแสดงผล
Moto 360 (2nd Gen) เป็นนาฬิกาอัจฉริยะ Android รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Moto ตัวเรือนเป็นสแตนเลสสตีลเกรด 316L เป็นเกรดที่ลดปริมาณคาร์บอน ทำให้ทนการกัดกร่อน สามารถใช้งานในภาวะการกัดกร่อนสูง และแม่เหล็กดูดไม่ติด
ตัวเรือนมีการขัดผิวจนราบเรียบสวยงาม และบริเวณกรอบรอบหน้าจอมีความมันวาว เพิ่มความเรียบหรูให้กับตัวนาฬิกาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหน้าจอแสดงผลมีขอบที่บางมากจนเรียกได้ว่าชิดกับกรอบตัวเครื่องเลย และมีคุณสมบัติกกันน้ำได้ตามมาตรฐาน IP67 คือกันน้ำได้ลึก 1 เมตรนานสูงสุด 30 นาที
รุ่นที่นำมารีวิวในบทความนี้เป็นรุ่น 46 มม. ซึ่งจะใหญ่กว่ารุ่น 42 มม. เล็กน้อยMoto 360 (2nd Gen) มีไมโครโฟนในตัวสำหรับการสั่งงานด้วยเสียง
ปุ่ม Power มีโลโก้ Moto
ด้านหลังมีเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
การถอดเปลี่ยนสายทำได้เองง่าย ๆ โดยการดึงสลักที่อยู่บริเวณด้านในของสายข้อมือ
หน้าจอของ Moto 360 (2nd Gen) มีความละเอียด 360 x 330 พิกเซล บริเวณแถบด้านล่างหน้าจอจะมีเซ็นเซอร์ Ambient light ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ที่มีไว้
อินเตอร์เฟซและฟังก์ชั่นการใช้งาน
เริ่มต้นการใช้งานง่าย ๆ โดยการจับคู่กับสมาร์ทโฟนผ่านแอพ Android Wear
หลังจากจับคู่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถใช้งานได้ทันที เลือกเปลี่ยนหน้าปัดได้ทั้งจากตัวนาฬิกาเองโดยการแตะค้างที่หน้าจอ หรือเลือกเปลี่ยนผ่านแอพพลิเคชั่น Android Wear จากสมาร์ทโฟนก็ได้
นอกจากนี้ก็มีแอพพลิเคชั่นที่จำเป็นเพื่อการใช้งานร่วมกันได้ ได้แก่
- Moto Connect สำหรับตั้งค่าและปรับแต่งการทำงานของ Moto 360 ได้
- Moto Body สำหรับติดตามและจัดเก็บข้อมูลการออกกำลังกาย พร้อมรายงานการออกกำลังกายแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บเป็นโปรไฟล์ส่วนตัวของเราด้วย Motorola ID และแชร์ข้อมูลเหล่านี้กับแอพออกกำลังกายอื่น ๆ ได้ด้วย
เมนูการตั้งค่าตัวเครื่องของ Moto 360
ภาพแสดงการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งทุกครั้งที่มีการวัด ข้อมูลจะถูกซิงค์ไปยัง Moto Body เพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้ใน Motorola ID ของเรา
สรุปจุดเด่น
Moto X Style | Moto 360 (2nd Gen) |
|
|
จุดสังเกตเพิ่มเติม
Moto X Stye | Moto 360 (2nd Gen) |
|
|
ขอบคุณ Lenovo ประเทศไทย