Android Tips
NFC คืออะไร
Near Field Communication (หรือ NFC) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะสั้นระยะประมาณ 4 ซม. ที่ใช้ได้ดีกับโครงสร้างพื้นฐานแบบไร้สัมผัส ช่วยสนับสนุนรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้ๆ NFC ถูกพัฒนาขึ้นโดย Sony และ NXP โดยใช้คลื่นความถี่ 13.56 MHz. บนพื้นฐานมาตรฐาน ISO 14443 (Philips MIFARE and Sony’s FeliCa) ปัจจุบันบริษัททั้งสองได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ลิตและพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ จัดตั้งเป็น NFC Forum เพื่อให้เกิดการใช้งานในรูปแบบต่างๆมากขึ้น ในระยะเริ่มแรกมีบริษัทโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลกประกาศนำเทคโนโลยีนี้มา ใช้กับโทรศัพท์มือถือแล้ว เช่น Nokia,Samsung, Motorola เป็นต้น
การประยุกต์ใช้งานส่วนใหญ่มักนำ NFC มาใช้กับการชำระเงินที่ต้องการความรวดเร็วและมีมูลค่าไม่สูง ซึ่งจะทำให้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถใช้เพื่อการชำระเงิน โดยวิธีการแตะบนเครื่องอ่านหรือเครื่องชำระเงิน เช่น การให้บริการในร้านอาหารจานด่วน ร้านขายสินค้า ระบบการซื้อขายตั๋ว และระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ peer-to-peer เช่น เพลง เกม และรูปภาพ การชำระเงินค่าโดยสารในระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น การชำระเงินแบบไร้สัมผัสนี้ก่อให้เกิดการชำระเงินที่ง่ายและรวดเร็ว ลดการเข้าคิวชำระเงินในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อต่างๆ
เปรียบเทียบกับบลูทูธ
เอ็นเอฟซีและบลูทูธ (Bluetooth) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้คล้ายกันที่ปรากฏในโทรศัพท์มือถือ การทำงานของเอ็นเอฟซีนั้นจะเปิดสัญญาณได้เร็วกว่าระบบบลูทูธ และการเชื่อมต่อระหว่างสองเครื่องจะสามารถเชื่อมต่อได้เร็ว แตกต่างจากบลูทูธที่จำเป็นต้องระบุตัวเครื่องของคู่ที่ต้องการเชื่อมต่อ ในขณะเดียวกันอัตราการส่งข้อมูลของเอ็นเอฟซี (424 kbit/s) มีอัตราที่ช้ากว่าบลูทูธ (2.1 Mbit/s) ด้วยระยะทางที่สั้นกว่าคือ 20 ซม. ซึ่งมีข้อเด่นคือจะไม่มีการแทรกแซงของข้อมูล หากในบริเวณมีการใช้งานอยู่จำนวนมาก
สิ่งที่แตกต่างจากบลูทูธอีกส่วนคือ เอ็นเอฟซีสามารถเชื่อมต่อเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของอาร์เอฟไอดี (13.56 MHz ISO/IEC 18000-3) และใช้พลังงานที่ต่ำกว่าบลูทูธ ซึ่งจะใกล้เคียงกับบลูทูธชนิดพลังงานต่ำ
ที่มา : วิกีพีเดีย