ข่าวประชาสัมพันธ์
โนเกียจัดทำ Smart City Playbook รวบรวมแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ จาก 22 เมืองทั่วโลก และกรุงเทพฯ
โนเกียเผย ‘The Smart City Playbook’ หรือ คู่มือเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นรายงานกลยุทธ์ที่เก็บข้อมูลแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุด (best practices) สำหรับเมืองอัจฉริยะ โดยในรายงานดังกล่าวได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จของเมืองต่างๆ ในการทำให้เมืองมีความอัจฉริยะ ความปลอดภัย และความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น รายงานนี้จัดทำในนามของโนเกีย โดยมาคิน่า รีเสิร์ช ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลทางการตลาดชั้นนำเรื่อง อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (Internet of Things: IoT) ได้ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์และความก้าวหน้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะโดยตรงจากทั้ง 22 เมือง รวมถึง กรุงเทพฯ
การศึกษานี้เปิดเผยถึงความแตกต่างอย่างมากของกลยุทธ์ในการก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของเมืองต่างๆ แต่โดยรวมสรุปได้ 3 แนวทางหลักที่เมืองต่างๆเลือกใช้ แนวทางที่หนึ่ง เปรียบได้กับการทอดสมอ (anchor) โดยเมืองจัดทำแอพพลิเคชั่นหนึ่งตัวเพื่อนำมาจัดการปัญหาอย่างหนึ่งในเมือง เช่นปัญหาการจราจรติดขัด และภายหลังจึงเพิ่มแอพลิเคชั่นอื่นๆ แนวทางที่สอง เป็นการเริ่มต้นด้วยการสร้างแพลทฟอร์มหรือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นและบริการอัจฉริยะต่างๆ และแนวทางสุดท้าย หรือที่มีชื่อว่า เมืองเบต้า (Beta Cities) เป็นวิธีการที่แตกต่างจากวิธีอื่นๆ โดยมีการนำหลายแอพพลิเคชั่นมาทดลองเป็นระบบนำร่อง (Pilot) ก่อนที่จะตัดสินใจนำมาปฏิบัติใช้ในระยะยาว
แม้ว่าการศึกษาจะพบความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างเมืองต่างๆ ที่ใช้แนวทางเดียวกันในการก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ แต่มีแนวทางปฏิบัติบางประการที่เมืองอัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จปฏิบัติคล้ายกัน อันประกอบไปด้วย
- เมืองที่ประสบผลสำเร็จจะมีกฏระเบียบที่โปร่งใสในการใช้ฐานข้อมูลที่จำเป็นจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเปิดเผยสู่สาธารณชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ มีค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับกับกับค่าบริหารและการจัดการฐานข้อมูลก็ตาม
- ในหลายเมืองที่อยู่ในขั้นก้าวหน้า ผู้ใช้งานทั้งจากในและนอกภาครัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (Internet of Things : IoT) และเมืองเหล่านี้หลีกเลี่ยงการสร้างการแบ่งแยกระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐ
- รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ส่งเสริมให้ประชากรเข้ามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเมืองสู่เมืองอัจริยะมักจะประสบความสำเร็จมากกว่า โดยเฉพาะในส่วนที่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน เช่น ที่จอดรถอัจฉริยะ และ แสงสว่างอัจฉริยะ
- โครงสร้างพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะจะต้องสามารถปรับขนาดได้ เพื่อที่จะสามารถเติบโตและรองรับความต้องการในอนาคต ทั้งยังมีความปลอดภัยสำหรับข้อมูลของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- เมืองที่เลือกพันธมิตรเทคโนโลยีที่สามารถเอื้ออำนวยนวัตกรรม และลงทุนในการจำลองประสบการณ์จริง รวมทั้งมีแพลทฟอร์มเทคโนโลยีเปิด ที่ป้องกันการผูกขาด จะมีความได้เปรียบในการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
การศึกษานี้ยังได้ยกตัวอย่างประสบการณ์ ที่เมืองเหล่านี้จัดการกับความท้าทายที่ได้กล่าวถึงบางส่วนข้างต้น
ข้อค้นพบที่สำคัญจากกรุงเทพฯ
1 ) กรุงเทพฯ ใช้แนวทาง ‘beta city’ เพื่อขับเคลื่อนเป็นเมืองอัจฉริยะ
- a) กรุงเทพฯ อาจเรียกได้ว่าเป็นเมืองอัจฉริยะที่รุดหน้าที่สุดในประเทศไทย ถึงรัฐบาลแม้จะประกาศให้ภูเก็ตเป็นเมืองอัจฉริยะนำร่อง จากการนำเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเมืองอัจฉริยะมาใช้ ทางกรุงเทพฯเองนั้นได้มีสร้างเป้าหมายในการขับเคลื่อนกรุงเทพฯสู่ความเป็นอัจฉริยะเหมือนกับเมืองอื่นๆในทวีปเอเชีย
- b) กรุงเทพฯ ใช้แนวทาง ‘‘beta city’ ในการขับเคลื่อนโดยมีการการทดลองแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีและโมเดลทางธุรกิจมาปรับใช้เพื่อผลประโยชน์ที่ชัดเจนในระยะสั้นถึงระยะกลาง ถึงแม้ว่าจะมีโครงการนำร่องที่ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องและเห็นผลเร็ว แต่ยังคงมีความท้าทายในการทำงานร่วมกันของโครงการต่างๆเพื่อให้ได้ผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
- c) บางตัวอย่างของโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ได้แก่:
- Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ
- งานติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อม – ติดตั้งตัวเซนเซอร์ในการติดตามระดับเสียง อากาศ และคุณภาพน้ำเพื่อป้องกันการเกิดมลพิษ
- กล้องวงจรปิดตรวจตราความเรียบร้อยในพื้นที่สาธารณะ – CCTV
- ระบบการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ – สัญญาณไฟจราจรในแยกใหญ่ๆ เพื่อตรวจสอบการจราจรและนำมาวางแผนเพื่อการพัฒนาปรับปรุงสภาพการจราจร
- d) เมืองอื่นๆที่ใช้แนวทาง beta citiy ได้แก่ บริสตอล ฝรั่งเศส เซาเปาโล และเวียนนา
2) กรุงเทพฯมีโอกาสที่จะรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในส่วนของแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับความยั่งยืน (sustainability)
- a) การดำเนินสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพฯ ก้าวหน้าที่สุดในส่วนของความอัจฉริยะ (Smart) “ความปลอดภัย” (safe) และมีความท้าทายในส่วนของความยั่งยืน กรุงเทพฯ มีศักยภาพที่จะพัฒนาพอร์ทัลเพื่อปรับปรุงสภาพการจราจรและมลพิษทางอากาศ
- b) กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ในเอเชีย จึงเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน ความแห้งแล้ง ความปลอดภัยของอาหาร และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โดยในปัจจุบันกรุงเทพฯ ได้มีหลายวิธีในการบรรเทาผลกระทบและแผนการป้องกันต่างๆที่เตรียมไว้รองรับหรือกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการ
มีการคาดการณ์ไว้ว่า 66% ของประชากรในโลกจะอยู่ในหัวเมืองหลักภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งทำให้รัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆจำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเติบโตของประชากร ระบบสารสนเทศและการสื่อสารที่ชาญฉลาดและแพลตฟอร์ม IoT จึงมีบทบาทสำคัญในวิวัฒนาการของเมืองอัจฉริยะ การศึกษาฉบับนี้สรุปได้ว่าเมืองต่างๆ ได้มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและโครงสร้างพื้นฐาน การนำข้อมูลมาประกอบในการตัดสินใจได้ดีขึ้น การเพิ่มช่องทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมต่อกันในสังคมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชุมชนและยกระดับมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกันก็พัฒนาปรับปรุงการบริการสาธารณะต่างๆ
ฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือ บริษัทโนเกีย กล่าวว่า “กระบวนการในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้นมีความซับซ้อนอย่างยิ่ง และมีการนำเสนอกลยุทธ์ที่แตกต่างกันจำนวนมากจนทำให้การเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างเมืองอัจฉริยะกลายเป็นความท้าทายอย่างมหาศาล เป้าหมายของเราในการจัดทำรายงานฉบับนี้โดย มาคิน่า รีเสิร์ช คือการสร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นกลยุทธ์ที่ให้ผลลัพธ์สำหรับเมืองทั้งหลายอย่างชัดเจน ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อผู้คนและสิ่งต่างๆ โนเกียมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับตลาด และชึ้ให้เห็นถึงสิ่งหรือหัวข้อที่มีความสำคัญ ในประเทศไทยเรามุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อทำให้วิสัยทัศน์เมืองอัจฉริยะเป็นจริง และประชากรสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยสร้างสรรค์ชีวิตที่สมบูรณ์”
เจเรมี่ กรีน นักวิเคราะห์หลักจากมาคิน่า รีเสิร์ช และผู้เขียน The Smart City Playbook กล่าวว่า “ไม่มีใครที่กล่าวไว้ว่าการเป็นเมืองอัจฉริยะนั้นเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากมีทางเลือกที่ต้องตัดสินใจมากมายอีกทั้งเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในหลากหลายระดับ อีกทั้งการกำหนดมาตรฐานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ทำให้ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินการสู่การเป็นเมืองอัฉริยะ ถึงกระนั้นก็ยังมีหนทาง เพียงแต่เปิดกว้างและเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เมืองที่ประสบปัญหาใกล้เคียงกันถึงแม้จะต่างบริบท ซัพพลายเออร์ที่มีประสบการณ์จากอุตสาหกรรมอื่น สตาร์ทอัพ ผู้อาจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และที่สำคัญที่สุดคือผู้อาศัยในเมืองซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ที่แท้จริงในการก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ”
*หมายเหตุ: เมืองต่างๆ ที่แสดงในการศึกษา ได้แก่ โอ๊คแลนด์ กรุงเทพ บาเซโลน่า เบอร์ลิน โบโกตา บริสตอล เคปทาวน์ คลีฟแลนด์ เดลฮี ดูไบ เจดดาห์ เม็กซิโกซิตี้ นิวยอร์กซิตี้ ปารีส ปูเน่ ซานฟานซิสโก เซาเปาลู เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ โตเกียว เวียนนา และอู๋ซี
สำหรับผลการศึกษาของแต่ละเมือง แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับเมืองอัจฉริยะ รวมถึงข้อเสนอะแนะ สามารถเข้าชม Machina Research Smart City Playbookฉบับสมบูรณ์ได้ที่ nokia.ly/smartcityplaybook