Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

เทคโนโลยีช่วยผู้ป่วยอัมพาตสื่อสารทางสายตาได้ ด้วย “SenzE” เทคโนโลยีระบบติดตามดวงตา

Published

on

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ประมาณ 800,000 คน ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยการพูดและเขียน เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน  ทำให้บางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หรือช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ทันการ

ดังนั้น ผู้ป่วยอัมพาตหลายรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง และไม่อาจบอกความต้องการได้ จึงทำให้มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมีคุณภาพชีวิตที่ลดต่ำลง และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองไปอย่างรวดเร็ว การช่วยเหลือเรื่องการสื่อสารจึงสำคัญ

N Health ผู้เชี่ยวชาญในการบริการด้านการสนับสนุนบริการทางการแพทย์และธุรกิจโรงพยาบาล ขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ “SenzE” เทคโนโลยีระบบติดตามดวงตา (Eye Controlled System) ที่พัฒนาเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยสื่อสารทางสายตาสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่ขยับร่างกายไม่ได้หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยพัฒนาด้วยเทคนิค Open Computer  Vision และการประมวลผลภาพ (Image Processing) อุปกรณ์ถูกออกแบบให้รองรับซอฟท์แวร์ภาษาไทย ง่ายต่อการใช้งาน มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

ระบบของ “SenzE”  รับการสั่งงานผ่านกล้องความละเอียดสูง (HD Camera) และInfrared Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยผู้ป่วยใช้การมองค้างในตำแหน่งที่ต้องการ 2 วินาที แทนการออกคำสั่งเสมือนการกด Enter เพื่อเลือกเมนูที่ต้องการจะสื่อสาร และผู้ป่วยยังสามารถพิมพ์ข้อความโดยใช้ดวงตาได้ ทำให้สามารถสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมการทำงานผ่านระบบจอสัมผัส (Touch Screen) ได้อีกด้วย

คุณสมบัติสำคัญที่จะช่วยผู้ป่วยที่ขยับร่างกายไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอีกหลายด้าน เช่น มีระบบแปลภาษาในทุกเมนูคำสั่งที่เลือกหรือข้อความที่พิมพ์ให้กลับมาเป็นภาษาไทยพร้อมเสียงอ่าน  มีระบบดูแล ผ่าน Tablet  ทำให้พยาบาลหรือผู้ดูแล สามารถติดตามผู้ป่วยได้แบบ Real Time มีระบบ Live Chat ที่ผู้ป่วยและผู้ดูสามารถสนทนาโต้ตอบได้แบบ Real Time พร้อมระบบแปลภาษาอัตโนมัติ  ผ่านชุดคำสั่ง 6 เมนูหลัก คือความรู้สึก ความต้องการ อาหารเครื่องดื่ม คีย์บอร์ดสนทนา ความบันเทิง สามารถรับชมโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ผ่านการใช้งานอินเตอร์เน็ต และกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีระบบ Emergency Alert โดยสัญญาณเตือนจะดังที่เครื่องของผู้ป่วยและเครื่องที่พยาบาลหรือผู้ดูแลใช้ Monitor อยู่ เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ “SenzE” ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย โดยได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผ่านการทดสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สถาบันประสาทวิทยา ว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วย อีกทั้งยังได้รับการันตีคุณภาพถึง 10 รางวัลจากองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

“SenzE” ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย สามารถใช้ได้ดีทั้งใน รพ. และผู้ป่วยที่พักฟื้นที่บ้าน ติดตั้งง่าย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 7624000 หรือ email:nhcslab@nhealth-asia.com

Advertisement
Android News2 ชั่วโมง ago

เปิดตัว HONOR Magic 7 RSR | PORSCHE DESIGN รุ่นท็อปสุดพิเศษ ดีไซน์พรีเมี่ยมพร้อมกล้อง Periscope 200MP ที่ดีที่สุด!

HONOR เปิดตัว HONOR ...

Android News2 ชั่วโมง ago

ไทยรอลุ้น !! OPPO อินเดียเผยตัวเลือกสี Reno13 Series มีให้เลือกรุ่นละ 2 สี แบบสวยทั้งคู่

ไม่นานนี้ OPPO ประเท...

Apple News3 ชั่วโมง ago

Mark Gurman เผย Apple กำลังพัฒนา Doorbell ของตัวเองและรองรับ Face ID

เราได้ยินข่าวลือของ ...

Android News4 ชั่วโมง ago

Apple โดนอีก…EU ต้องการให้ Apple เปิดให้ AirDrop และ AirPlay ใช้งานร่วมกับ Android และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้!?

เรามักจะได้เห็นข่าวค...

Wearable4 ชั่วโมง ago

หลุดข้อมูล Galaxy Ring ขนาดใหญ่ 2 ไซส์ใหม่ 14 และ 15 คาดเปิดตัวต้นปีหน้า

Samsung Galaxy Ring ...

Android News5 ชั่วโมง ago

โอ้โหแจ่ม! ลือสเปค Galaxy S25 Slim เพิ่มเติม ได้ชิป Snapdragon 8 Elite | กล้อง Tele 50MP | แบตฯ 5000mAh!?

Galaxy S25 Slim เป็น...

Apple News6 ชั่วโมง ago

ของใหม่ !! HomePod พร้อมหน้าจอ 7″ ชิป A18 และรันบน homeOS ลุ้นเปิดตัวปีหน้า

DigiTimes ได้เผยข้อม...

Smart Review7 ชั่วโมง ago

รีวิว HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนจอพับที่ผสมผสานความสวยงามและเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ด้วยหน้าจอ HUAWEI X-True | กล้อง Ultra Aperture | ชิป Kirin รุ่นล่าสุด!

รีวิว HUAWEI Mate X6...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก