Connect with us

IT News

ทรู คอร์ปอเรชั่น ชู Tech For Good นำพลังเทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิต สานความร่วมมืออุทยานแห่งชาติกุยบุรีแก้ปัญหาระดับโลกความขัดแย้งคน-ช้างป่า

Published

on

  • เตรียมนำความสำเร็จ “กุยบุรีโมเดล” ขยายสู่พื้นที่กลุ่มป่าทั่วไทย โซลูชันเตือนภัยอัจฉริยะ “TSEWS” ลดความเสียหายพืชผลถูกช้างบุกรุกเกือบ 100%

ทรู คอร์ปอเรชั่น จับมือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  พร้อมกับ WWF-ประเทศไทย ลุยเดินหน้าโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า กับโซลูชัน True Smart Early Warning System (TSEWS) ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และขยายผลไปยังพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก (ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด) เตรียมวางแผนต่อเนื่องขยายสู่กลุ่มป่าที่ได้รับผลกระทบช้างป่าบุกรุกทั่วประเทศ ทรูเผยนำ “Tech For Good” ไขรหัส Empathy-Insights-Technology สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

การลดลงของพื้นที่ป่าเพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมส่งผลให้แหล่งอาหารของช้างป่าลดน้อยลง นำไปสู่การที่ช้างป่าออกมาบุกรุกพื้นที่ชุมชนและก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง (Human-Elephant Conflict: HEC) ในหลายประเทศทั่วโลกที่มีช้างป่า

ข้อมูลจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ (IFAW) ระบุว่าแต่ละปีมีช้างป่าเสียชีวิตจากความขัดแย้งนี้ในศรีลังกา 200 ตัว อินเดีย 100 ตัว และเคนยา 120 ตัว ขณะที่มีผู้เสียชีวิตในอินเดียประมาณ 400 คนต่อปี และในเคนยาราว 200 คนระหว่างปี 2553-2560

ด้านสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานว่าภาพรวมของประเทศไทยประสบปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง (Human-Elephant Conflict: HEC) โดยพบว่าจำนวนช้างป่ามีอยู่ประมาณ 4,013-4,422 ตัว ซึ่งกระจายอยู่ใน 16 กลุ่มป่า 94 พื้นที่อนุรักษ์ทั่วประเทศ และแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่พื้นที่ป่าอนุรักษ์มีขนาดเท่าเดิม ส่งผลให้ช้างออกหากินนอกเขตป่า ทั้งนี้ สถิติ 3 ปีล่าสุด (2564-2566) พบช้างป่าออกนอกพื้นที่มากกว่า 37,000 ครั้ง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพืชผลเกษตรกรรวมกว่า 3,800 ครั้ง และที่น่าวิตกคือในช่วง 12 ปี (2555-2567) มีผู้เสียชีวิตถึง 227 ราย บาดเจ็บ 198 ราย จากการบุกรุกของช้างป่า สะท้อนให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างอย่างยั่งยืน

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง โดยในปี 2561 ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ WWF ประเทศไทย ดำเนินการนำร่องระบบในพื้นที่รอบเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G, 4G และ IOT มาเป็นโซลูชันช่วยจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง หรือ Human-Elephant Conflict (HEC) ผ่านโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า หรือ True Smart Early Warning System (TSEWS)

นายวีระ ขุนไชยรักษ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า “การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง (Human-Elephant Conflict: HEC) เป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องอาศัยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทเอกชน และชุมชนในพื้นที่ โดยกรมอุทยานฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น และ WWF ประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการระบบเตือนภัยล่วงหน้าซึ่งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยร่วมกับกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Trap) และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังช้างป่าในการผลักดันช้างให้กลับสู่ป่าอย่างรวดเร็ว ความร่วมมือนี้ยังเน้นการปกป้องพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนรอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศ เพื่อลดความสูญเสียทั้งต่อชุมชนและช้างป่า สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน”

ตลอดระยะเวลา 7 ปีของการดำเนินงาน ระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะ True Smart Early Warning System (TSEWS) ได้พิสูจน์ประสิทธิภาพในการสนับสนุนภารกิจของเจ้าหน้าที่หน่วยผลักดันช้างป่าอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติล่าสุดในปี 2566 แม้พบเหตุการณ์ช้างป่าบุกรุกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีถึง 1,104 ครั้ง แต่เกิดความเสียหายต่อพืชผลเพียง 4 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.36% เท่านั้น นับเป็นพัฒนาการที่ก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 2560 ก่อนการติดตั้งโซลูชันที่มีความเสียหายสูงถึง 74.5% สะท้อนให้เห็นว่าระบบแจ้งเตือน TSEWS นี้ ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถผลักดันช้างกลับคืนสู่ป่าและป้องกันความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพเกือบ 100%

นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีในประเทศไทย ทรูไม่เพียงมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย บนเครือข่าย 5G, 4G และบรอดแบนด์ความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลเท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน สำหรับโซลูชัน ‘True Smart Early Warning System (TSEWS)’  คือตัวอย่างความสำเร็จของแนวคิด Tech for Good ที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง (Human-Elephant Conflict: HEC) ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่หลายพื้นที่ในโลก”

“ปัญหาสำคัญของความเสียหายในพื้นที่ที่ถูกช้างป่าบุกรุก คือ การไม่สามารถระบุตำแหน่งและคาดการณ์การเคลื่อนที่ของช้างได้ทันท่วงที ส่งผลให้ช้างป่าบุกรุกเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของชุมชน เราจึงพัฒนาโซลูชัน ‘True Smart Early Warning System (TSEWS)’ เฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ โดยผสานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกับกล้องดักถ่ายสัตว์ป่า (Camera Trap) พร้อมระบบวิเคราะห์ภาพอัจฉริยะเพื่อระบุตำแหน่งช้างได้แม่นยำ สู่การลงมือแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และไม่ใช่การปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้างที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถนำเป็นต้นแบบการจัดการและแบ่งปันความรู้ไปยังพื้นที่ประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกันได้ด้วย” นายมนัสส์ กล่าวในที่สุด

การทำงานของโซลูชัน True Smart Early Warning System (TSEWS) เฝ้าระวังช้างป่ากว่า 400 ตัวในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

  • นำเครือข่ายอัจฉริยะ 4G, 5G ผสานกับเทคโนโลยี AI  และอุปกรณ์ IoT พัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า ติดตั้งกล้อง Camera Trap พร้อมซิม เชื่อต่อเครือข่าย เพื่อระบุพิกัด และแจ้งเหตุแบบเรียลไทม์ เมื่อกล้องตรวจจับพบช้างออกนอกบริเวณพื้นที่ป่า เริ่มบุกรุก ระบบส่งภาพช้างพร้อมพิกัดแจ้งเตือนไปยังระบบ Cloud ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมแจ้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพร้อมโดรนเข้าตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ดำเนินการผลักดันช้างกลับเข้าป่า ลดความสูญเสีย

โซลูชันอัจฉริยะ “True Smart Early Warning System (TSEWS): นวัตกรรมจาก Tech For Good เพื่อสังคมยั่งยืน” ด้วย 3 แนวคิดเชิงกลยุทธ์:

1. EMPATHY: เข้าใจชีวิต ใส่ใจทุกมิติ

พัฒนาเทคโนโลยีบนพื้นฐานความเข้าใจความต้องการของทุกชีวิต ทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ผ่านมุมมองที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และการรับฟังความต้องการจากทุกชุมชน

2. INSIGHTS: พลังข้อมูล นำสู่การเปลี่ยนแปลง

ตัดสินใจบนพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวม โดยบูรณาการข้อมูลจากเครือข่ายพันธมิตรและชุมชน เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ตรงจุด

3. TECHNOLOGY: นวัตกรรมเพื่อทุกชีวิต

นำความเชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม ผสาน AI และ Big Data พัฒนาเป็นโซลูชันที่เข้าถึงได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

Advertisement
DXOMARK Ranking DXOMARK Ranking
Buying Guides14 ชั่วโมง ago

มือถือกล้องเทพ 10 อันดับ จาก DXOMARK ปี 2024

มือถือกล้องเทพ 10 อั...

IT News1 วัน ago

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ระหว่างวันที่ 21 – 27 ธ.ค. 67

ข่าวเด่นช่วงสิ้นปีระ...

iPhone 1 - 17 Evolution Timeline iPhone 1 - 17 Evolution Timeline
Apple News1 วัน ago

iPhone 1 รุ่นแรก จนถึง iPhone 17 รุ่นใหม่ในปี 2025 สรุปฟีเจอร์น่าสนใจ

iPhone 1 รุ่นแรก จนถ...

IT News1 วัน ago

ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 7 จำนวน 4,072,848,000 บาท

บริษัท ทรู มูฟ เอช ย...

Android News1 วัน ago

สเปคมาไวจัด ! Xiaomi MIX Flip 2 จัดขุมพลัง SD 8 Elite l มีชาร์จไร้สาย l กันน้ำ IPX8

เมื่อเช้ามีรายงานของ...

Android News2 วัน ago

ผู้บริหาร OPPO ยืนยันจะมีงานเปิดตัวเรือธง Find Series ช่วงต้นปีและปลายปีหลังจากนี้ทุกปี !

หลังจากที่เราได้เห็น...

Android News2 วัน ago

มาอีก ! สื่อแดนโสมยืนยัน Galaxy S25 Series ไม่มีชิป Exynos 2500 แต่รอใช้ในรุ่นจอพับแทน

ก่อนหน้านี้มีกระแสมา...

Apple News2 วัน ago

รวม 5 ผลิตภัณฑ์ Apple ที่มีลุ้นเปิดตัวตั้งแต่ต้นปี 2025

กำลังจะจบปี 2024 กัน...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก