IT News
Xiaomi เผยโฉมเทคโนโลยี Xiaomi Pilot Technology และ CyberOne หุ่นยนต์ Humanoid ตัวแรกของ Xiaomi
เสียวหมี่เผยสถานะการพัฒนา Xiaomi Pilot Technology สำหรับการขับขี่อัตโนมัติ พร้อมเปิดตัว CyberOne หุ่นยนต์ Humanoid ตัวแรกของเสียวหมี่ ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา
Xiaomi Pilot Technology
เสียวหมี่ กรุ้ป ได้เปิดเผยสถานะของการพัฒนา ‘Xiaomi Pilot Technology’ อย่างเป็นทางการ โดยนับตั้งแต่การประกาศการเข้าสู่เซกเมนต์รถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะในเดือนมีนาคม 2564 เสียวหมี่วางแผนการลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 3.3 พันล้านหยวนเพื่อการพัฒนาและการวิจัยด้านเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติในเฟสแรก ทั้งยังได้จัดตั้งทีมงานในการพัฒนาและการวิจัยขนาดใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากกว่า 500 คน และยังเข้าซื้อกิจการสตาร์ทอัพด้านการขับขี่อัตโนมัติอันมีมูลค่าและการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในองค์กรทั้งต้นน้ำและปลายน้ำซึ่งจะทำให้เสียวหมี่มีความสามารถทางอุตสาหกรรมการขับขี่อัตโนมัติทั้งในระยะกลางถึงระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง
ในระหว่างงานเปิดตัว เสียวหมี่ยังได้นำเสนอวิดีโอสาธิตซึ่งเป็นการทดสอบใช้งานจริงเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัลกอริทึมขั้นสูงและความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมรอบด้าน แม่นยำ และปลอดภัย
CyberOne, หุ่นยนต์ Humanoid ตัวแรกของเสียวหมี่
นอกจากนี้ เสียวหมี่ ยังได้เปิดตัว ‘CyberOne’ ถือเป็นหุ่นยนต์ Humanoid ตัวแรกของเสียวหมี่ ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดจาก Xiaomi’s Cyber series ต่อจากหุ่นยนต์สี่ขา Cyberdog ในปีที่แล้ว
CyberOne นั้นมาพร้อมการติดตั้งแขนและขาอันล้ำหน้า รองรับการทรงตัวจากเท้าทั้งสองข้าง และมีแรงบิดสูงสุดถึง 300Nm นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การตรวจจับอารมณ์ของมนุษย์ ความสามารถในการมองเห็นขั้นสูง และฟังก์ชันการทำงานที่ช่วยให้สามารถสร้างการสร้างเสมือนจริงสามมิติขึ้นใหม่ในโลกแห่งความเป็นจริง ควบคู่ไปกับโฮสต์ของเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ
CyberOne เป็นหุ่นยนต์ Humanoid ที่มีความสูง 177 ซม. น้ำหนัก 52 กก. โดยมีช่วงแขนยาว 168 ซม. เมื่อเทียบกับหุ่นยนต์สี่ขา หุ่นยนต์ Humanoid มีความซับซ้อนทางกลไกมากกว่าหลายเท่า โดยต้องใช้มอเตอร์ที่ทรงพลังกว่า ระดับความอิสระที่มากกว่า และอัลกอริทึมการควบคุมแบบสองขาของ Humanoid ที่ซับซ้อน โดย CyberOne รองรับอิสระในการเคลื่อนไหวสูงสุดถึง 21 องศา และมีความเร็วในการตอบสนองแบบเรียลไทม์ที่ 0.5 มิลลิวินาทีสำหรับระดับความอิสระแต่ละระดับ ซึ่งช่วยให้จำลองการเคลื่อนไหวของมนุษย์ได้อย่างเต็มที่
กระบวนการวิจัยและพัฒนาของ CyberOne นั้นได้ทำการผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ การรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไบโอนิค (bionic perception and cognition), ไบโอเมคคาทรอนิกส์ (biomechatronics), ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence), บิ๊กดาต้าและคลาวด์คอมพิวติ้ง (big data & cloud computing) และการนำทางด้วยภาพ (visual navigation) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้ยังถูกคาดว่าจะทำให้เกิดการใช้งานเพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพทางกลที่ดีขึ้น หุ่นยนต์คู่หูที่มีการจดจำอารมณ์ และหุ่นยนต์บริการสาธารณะที่ขับเคลื่อนโดยบิ๊กดาต้าและคลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีของ CyberOne จะถูกนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์เสียวหมี่มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต